ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ยุง

ยุง (Mosquitoes)             แมลงเป็นสัตว์ที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก มีทั้งแมลงที่สวยงามมีประโยชน์ เช่น ผีเสื้อ แมลงปอ และแมลงที่เป็นอาหาร เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงดานา แต่แมลงที่ทุกคนรู้จักกันดีและเป็นสัตว์ปีกที่พบได้ทุกหนทุกแห่ง คือยุง             ในโลกมียุงกว่า 4,000 ชนิด จัดอยู่ในอันดับ Diptera วงศ์ Culicidac ยุงบา

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ยุง

0.00 ฿

ยุง (Mosquitoes)

            แมลงเป็นสัตว์ที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก มีทั้งแมลงที่สวยงามมีประโยชน์ เช่น ผีเสื้อ แมลงปอ และแมลงที่เป็นอาหาร เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงดานา แต่แมลงที่ทุกคนรู้จักกันดีและเป็นสัตว์ปีกที่พบได้ทุกหนทุกแห่ง คือยุง

            ในโลกมียุงกว่า 4,000 ชนิด จัดอยู่ในอันดับ Diptera วงศ์ Culicidac ยุงบางชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ยุงลายสวน (Aedes. Albopictus) นำโรคไข้เลือดออก(Dengue haemorrhagic fever) ยุง Culex tritaeniorhynchus นำโรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis) ยุงก้นปล่องนำโรคมาลาเรีย (Malaria) และยุงเสือนำโรคฟิลาเรีย (Filariasis) หรือโรคเท้าช้าง โรคที่กล่าวมานี้เกิดในคน ส่วนในสัตว์นั้นยุงก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เนื่องจากเป็นตัวนำโรคต่างๆ หลายชนิดในสัตว์ เช่น ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) นำโรคพยาธิหัวใจสุนัขและโรคมาลาเรียในนก ยุงบางชนิดชอบกัดวัวทำให้น้ำหนักลดผลิตนมได้น้อยลง ยุงนอกจากเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นแล้วยังเป็นอันตรายต่อสัตว์เลือดเย็นอีกด้วย 

ตารางที่ 1 โรคที่นำโดยยุงและแมลงปากกัดอื่นๆ ในประเทศไทย 

พาหะ

โรค

ยุงก้นปล่อง (Anopheles)

มาเลเรีย โรคเท้าช้าง

ยุงรำคาญ (Culex)

ไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง

ยุงลาย (Aedes)

เดงกี  ไข้เลือดออก  โรคเท้าช้าง

ยุงเสือ (Mansonia)

โรคเท้าช้าง

ริ้นฝอยทราย (Phlebotomus,Lutzomyia)

Leishmaniasis

ริ้น (Ceratopogonidac)

Mansonellosis

 

  1. 1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

1.1  วงจรชีวิต

ยุงมีการเจริญแบบสมบูรณ์(Complete metamorphosis หรือ holometabola) หมายถึง การเจริญเติบโตทีมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในแต่ละระยะแตกต่างกันมาก แบ่งเป็น 4 ระยะ คือระยะไข่(egg) ระยะลูกน้ำ(larva) ระยะตัวโม่ง(pupa) และระยะตัวเต็มวัย(adult) ระหว่างการเจริญเติบโตในแต่ละระยะต้องมีการลอกคราบ(molting) ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ brain hormone, ecdysone และ juvenile hormone

ระยะไข่

ไข่ยุงแต่ละชนิดมีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกัน จากลักษณะการวางไข่อาจบอกชนิดของกลุ่มยุงได้ ยุงชอบวางไข่บนผิวน้ำหรือบริเวณชื้น เช่น บริเวณขอบภาชนะเหนือระดับน้ำ การวางไข่ของยุงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

-          วางไข่ใบเดี่ยวๆ บนผิวน้ำ เช่น ยุงก้นปล่อง

-          วางไข่เป็นแพ (raft) บนผิวน้ำ เช่น ยุงรำคาญ

-          วางไข่เดี่ยวๆ ตามขอบเหนือระดับน้ำ เช่น ยุงลาย

-          วางไข่ติดกับใบพืชน้ำเป็นกลุ่ม เช่น ยุงเสือหรือยุงฟิลาเรีย 

ระยะไข่ใช้เวลา 2-3 วัน จึงฟักตัวออกเป็นลูกน้ำ ในยุงบางชนิดไข่สามารถอยู่ในสภาพแห้งได้หลายเดือนจนกระทั่งเป็นปี เมื่อมีน้ำก็จะฟักออกเป็นลูกน้ำ แหล่งวางไข่ของยุงแต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนยุงรำคาญชอบวางไข่ในแหล่งน้ำสกปรกต่างๆ น้ำเสียจากท่อระบายน้ำ แต่หากไม่พบสภาพน้ำที่ชอบยุงก็อาจวางไข่ในสภาพน้ำที่ผิดไป นักวิทยาศาสตร์หลายคนรายงานว่าปัจจัยที่ช่วยให้ยุงตัวเมียรู้ว่าควรจะวางไข่ที่ใดก็คือ สารเคมีบางอย่างในน้ำ สารเคมีอาจเป็น diglycerides ซึ่งผลิตโดยลูกน้ำยุงที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้น หรือเป็นกรดไขมัน(fatty acid) จากแบคทีเรีย หรือเป็นสารพวก phenolic compounds จากพืชน้ำ

ระยะลูกน้ำ

ลูกน้ำยุงแต่ละชนิดอาศัยอยู่ในน้ำต่างชนิดกัน เช่น ภาชนะขังน้ำต่างๆ ตามบ่อน้ำ หนอง ลำธาร โพรงไม้หรือกาบใบไม้ที่อุ้มน้ำ เป็นต้น ลูกน้ำยุงส่วนใหญ่ลอยตัวขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ โดยมีท่อสำหรับหายใจ เรียกว่า siphon ยกเว้นยุงก้นปล่องไม่มีท่อหายใจ แต่จะวางตัวขนานกับผิวน้ำ โดยมีขนลักษณะคล้ายใบพัด(palmate hair) ช่วยให้ลอยตัวและหายใจทางรูหายใจ(spiracle) ซึ่งอยู่ด้านข้างอกและลำตัว ส่วนยุงเสือจะใช้ท่อหายใจซึ่งสั้นและปลายแหลมเจาะพืชน้ำและหายใจเอาออกซิเจนผ่านรากของพืชน้ำ อาหารของลูกน้ำยุง ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในน้ำ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ สาหร่าย ลูกน้ำจะลอกคราบ 4 ครั้ง เมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่ง การเจริญเติบโตในระยะลูกน้ำใช้เวลาประมาณ 7-10 ขึ้นอยู่กับชนิดของลูกน้ำ อาหาร อุณหภูมิ และความหนาแน่นของลูกน้ำด้วย 

ระยะตัวโม่ง

ตัวโม่งรูปร่างผิดไปจากลูกน้ำ ส่วนหัวเชื่อมต่อกับส่วนอก รูปร่างลักษณะคล้ายเครื่องหมายจุลภาค(,) ระยะนี้ไม่กินอาหาร เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีท่อหายใจคู่หนึ่งที่ส่วนหัวเรียก trumpets ระยะนี้ใช้เวลาในการเจริญเติบโตเพียง 1-3 วัน 

ระยะตัวเต็มวัย

ตัวยุงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนหัว (head) มีลักษณะกลมเชื่อมติดกับส่วนอก ประกอบด้วยตา 1 คู่ ตาของยุงเป็นแบบตาประกอบ (compound eyes) มีหนวด (antenna) 1 คู่ มีรยางค์ปาก (labial palpi) 1 คู่และมีอวัยวะเจาะดูด (proboscis) 1 อัน มีลักษณะเป็นแท่งเรียวยาวคล้ายเข็มสำหรับแทงดูดอาหาร หนวดของยุงแบ่งเป็น 15 ปล้อง สามารถใช้จำแนกเพศของยุงได้ แต่ละปล้องจะมีขนรอบๆ ในยุงตัวเมีย ขนนี้จะสั้นและไม่หนาแน่น (sparse) เรียกว่า pilose antenna ส่วนตัวผู้ ขนจะยาวและเป็นพุ่ม (bushy) เรียกว่า plumose antenna หนวดยุงเป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับคลื่นเสียง ตัวผู้จะใช้รับเสียงการกระพือปีกของตัวเมีย ความชื้นของอากาศและรับกลิ่น

Labial palpi แบ่งเป็น 5 ปล้อง อยู่ติดกับ proboscis ในยุงก้นปล่องตัวเมีย palpi จะตรงและยาวเท่ากับ proboscis ส่วนยุงตัวผู้ตรงปลาย palpi จะโป่งออกคล้ายกระบอง ในยุงตัวอื่นที่ไม่ใช่ยุงก้นปล่อง palpi ของตัวเมียจะสั้นประมาณ ¼ ของ proboscis ส่วนตัวผู้ palpi จะยาวแต่ตรงปลายไม่โป่งและมีขนมากที่สองปล้องสุดท้ายซึ่งจะงอขึ้น 

ส่วนอก (thorax) มีปีก 1 คู่ ด้านบนของอก ปล้องกลาง (mesonotum) ปกคลุมด้วยขนหยาบๆ และเกล็ด ซึ่งมีสีและลวดลายต่างๆ กัน เราใช้ลวดลายนี้สำหรับแยกชนิดของยุงได้ ด้านข้างของอกมีเกล็ดและกลุ่มขนซึ่งใช้แยกชนิดของยุงได้เช่นกัน ด้านล่างของอกมีขา โดยขาแต่ละข้างจะประกอบด้วย coxa ซึ่งมีขนาดสั้นอยู่ที่โคนสุด ต่อไปเป็น trochanter คล้ายๆ บานพับ femur, tibia และ tarsus ซึ่งมีอยู่ 5 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีหนามงอๆ 1 คู่ เรียกว่า claws ขาก็มีเกล็ดสีต่างๆ ใช้แยกชนิดของยุงได้ ปีกมีลักษณะแคบและยาว มีลายเส้นปีก (Veins) ซึ่งมีชื่อเฉพาะของแต่ละเส้นปีกและจะมีเกล็ดสีต่างๆ กัน ตรงขอบปีกด้านหลังจะมีขนเรียงเป็นแถวเรียก เกล็ด (fringe) และขนบนปีกนี้ก็ใช้ในการแยกชนิดของยุงได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี halteres 1 คู่ อยู่ที่อกปล้องสุดท้ายมีลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆ อยู่ต่อจากปีก เมื่อยุงบิน halteres จะสั่นอย่างเร็วใช้ประโยชน์ในการทรงตัวของยุง

ส่วนท้อง (abdomen) มีลักษณะกลม ยาว ประกอบด้วย 10 ปล้อง แต่จะเห็นชัดเพียง 8 ปล้อง ปล้องที่ 9 -10 จะดัดแปลงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ในยุงตัวผู้จะใช้ส่วนนี้แยกชนิดของยุงได้

  1.2        ชีวิตประจำวัน (Daily life)

อาหาร

ยุงตัวเต็มวัยทั้ง 2 เพศ กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ส่วนใหญ่ยุงตัวเมียยังต้องการโปรตีนจากเลือดมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของไข่และใช้สร้างพลังงาน ยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดคนและสัตว์ ยุงแต่ละชนิดชอบกินเลือดต่างกัน พวกที่ชอบกินเลือดเรียกว่า zoophilic ส่วนพวกที่ชอบกินเลือดคนเรียกว่า anthropophilic เลือดจะเข้าไปช่วยในการเจริญเติบโตของไข่ การเจริญเติบโตของไข่แบบที่ต้องการโปรตีนจากเลือดเรียกว่า anautogeny มียุงไม่กี่ชนิดที่ไข่สุกได้โดยใช้อาหารที่สะสมไว้โดยไม่ต้องกินเลือด เรียก autogeny เช่นยุง Aedes togoi,Culex molestus เวลาที่ยุงหากินก็ไม่เหมือนกัน เช่น ยุงลายชอบหากินในเวลากลางวัน ส่วนยุงรำคาญชอบหากินในเวลากลางคืน ยุงแม่ไก่ชอบหากินตอนพลบค่ำและย่ำรุ่ง เป็นต้น

การบิน

มีลักษณะเฉพาะสำหรับยุงแต่ละชนิด เช่น ยุงบ้านจะบินไปไม่ไกล บินได้ประมาณ 30 - 300 เมตร ยุงลายสวนบินได้ประมาณ 400 - 600  เมตร ยุงก้นปล่องบินได้ประมาณ 0.5 – 2.5 กิโลเมตร ส่วนยุงรำคาญบินได้ตั้งแต่ 200 เมตรถึงหลายกิโลเมตร ยุงพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบบินได้ไกลถึง 50 กิโลเมตร ยุงตัวเมียสามารถบินได้ไกลกว่ายุงตัวผู้

การผสมพันธุ์

ยุงตัวผู้ลอกคราบโผล่ออกจากตัวโม่งก่อนยุงตัวเมีย และอยู่ใกล้ๆ แหล่งเพาะพันธุ์เมื่อตัวเมียออกมา 1-2 วัน จะผสมพันธุ์กัน หลังจากผสมพันธุ์แล้วยุงตัวเมียจะออกหาแหล่งเลือด แต่ยุงบางชนิดต้องการเลือดก่อนการผสมพันธุ์ เช่น Anopheles culicfacies นอกจากนี้ยุงก้นปล่องมีพฤติกรรมการบินว่อนเป็นกลุ่มเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ เรียก swarming มักเกิดขึ้นตอนพระอาทิตย์กำลังตก โดยแสงที่อ่อนลงอย่างรวดเร็วมีผลในการกระตุ้นกิจกรรมนี้ ส่วนยุงลายจับคู่ผสมพันธุ์โดยไม่ต้อง swarm ตัวผู้จะตอบสนองต่อเสียงกระพือปีกของยุงตัวเมีย ยุงลายตัวผู้สามารถค้นหาตัวเมียได้ภายในระยะทาง 25 เซนติเมตร

อายุของยุง

ยุงตัวผู้มักมีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยยุงตัวผู้มีอายุประมาณ 1 สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีที่เลี้ยงดูด้วยอาหารสมบูรณ์และมีความชื้นเหมาะสมจะมีอายุอยู่ได้เป็เดือน ส่วนยุงตัวเมียมีอายุ 1 - 5 เดือน อายุของยุงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ในฤดูร้อน ยุงมีกิจกรรมมากทำให้อายุสั้นเฉลี่ยประมาณ 2 สัปดาห์ ในฤดูหนาวยุงมีกิจกรรมน้อยจึงมีอายุยืน  ในบางพื้นที่ยุงสามารถจำศีลตลอดฤดูหนาว 

1.3        ชนิดยุงที่สำคัญ

ชนิดของยุงที่สำคัญในทางการแพทย์ มี 4 ตระกูล ดังนี้ 

1.3.1        ตระกูลยุงลาย (Genus Aedes)

1.3.1.1        ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)

เป็นตัวการสำคัญในการนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย (ในประเทศอเมริกาใต้นำโรคไข้เหลือง (Yellow fever) มีถิ่นกำเนิดจากอัฟริกา ชอบอาศัยอยู่บ้านหรือบริเวณรอบๆ บ้าน แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ได้แก่ ภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ตุ่มน้ำ ถังซีเมนต์ใส่บ่อ บ่อคอนกรีตในห้องน้ำ จานรองขาตู้กันมด ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง รางน้ำฝนที่มีน้ำขัง กะลามะพร้าว เป็นต้น

ยุงลายบ้านมีวงจรชีวิตเป็นแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) เช่นเดียวกับยุงชนิดอื่น การเจริญเติบโตแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะไข่  ยุงลายจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ติดไว้ด้านในบริเวณที่ขึ้นเหนือระดับน้ำ ไข่ใหม่มีสีขาวต่อมาประมาณ 12 - 24 ชั่วโมง จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ไข่ยุงลายสามรถอยู่ในที่แห้งได้นานเป็นปี (ความชื้นสูงและอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส)  เมื่อระดับน้ำท่วมไข่จึงฟักตัวออกมาเป็นลูกน้ำ ระยะฟักตัวในไข่ประมาณ 2.5 – 3.5 วัน

ระยะลูกน้ำ หลังจากออกจากไข่แล้วลูกน้ำเริ่มกินอาหาร การเจริญเติบโตและลอกคราบ 4 ครั้ง ตัวอ่อนที่ได้จากการลอกคราบแต่ละครั้งรียกว่า instar เช่น ลูกน้ำที่ฟักออกจากไข่เรียกว่า first instar เมื่อลอกคราบต่อไปกลายเป็น second instar เป็นต้น ลูกน้ำใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 7 - 10 วัน ลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่งหรือดักแด้

ระยะตัวโม่ง ระยะนี้ตัวจะโค้งงอ ไม่กินอาหาร ชอบลอยติดกับผิวน้ำใช้เวลา 1 - 2 วันจึงลอกคราบออกเป็นตัวเต็มวัย

ระยะตัวเต็มวัย เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 24 ชั่วโมง ตัวเมียผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวแต่วางไข่ได้หลายครั้ง ส่วนตัวผู้ผสมพันธุ์ได้หลายสิบครั้งในหนึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นยุงตัวเมียจะออกกินเลือด ยุงลายชอบกินเลือดคนและหากินในเวลากลางวัน บางครั้งยุงลายอาจกัดคนในเวลากลางคืนแต่เป็นภาวะจำเป็น เช่น ไม่มีเหยื่อในเวลากลางวัน หลังจากกินเลือดอิ่มแล้วยุงตัวเมียจะไปเกาะพักรอให้ไข่เจริญเติบโต เรียกช่วงนี้ว่า gonotrophic cycle ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2.5  –  3.5 วัน แหล่งเกาะพักของยุงลาย ได้แก่ บริเวณที่มืดอับลม ในห้องน้ำในบ้าน โดยเฉพาะตามสิ่งห้อยแขวนภายในบ้าน เช่น เสื้อผ้า มุ้ง ม่าน เป็นต้น หลังจากไข่เจริญเต็มที่แล้วจะบินไปหาที่วางไข่ ชอบที่ร่ม น้ำที่มีใบร่วงลงไปและมีสีน้ำตาลอ่อน จะกระตุ้นการวางไข่ได้ดีแต่ยุงลายไม่ชอบน้ำที่มีกลิ่นเหม็น

ลักษณะที่สำคัญของยุงลายบ้านเต็มวัย ตรงบริเวณด้านหลังของอกมีเกล็ดสีขาวเป็นรูปเคียว 2 อันคู่กัน 

1.3.1.2        ยุงลายสวน (Aedes albopictus)

ยุงลายชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ลักษณะคล้ายคลึงกับยุงลายบ้านมาก แต่สังเกตได้จากเกล็ดสีขาวบนด้านหลังของอกไม่เป็นรูปเคียว แต่เป็นเส้นตรงเส้นเดียวพาดตามยาวตรงกลาง อุปนิสัยความเป็นอยู่คล้ายยุงลายแต่มักจะพบอยู่ในชนบท ในสวนผลไม้ สวนยาง อุทยานต่างๆ แหล่งน้ำที่ใช้เพาะพันธุ์มักจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ กระบอกไม้ไผ่ ลูกมะพร้าว กะลา กระป๋อง ขวดพลาสติกที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ เป็นต้น ยุงลายสวนจะบินได้ไกลกว่ายุงลายบ้าน ยุงชนิดนี้เป็นตัวการนำเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกได้เช่นเดียวกัน

1.3.2        ตระกูลยุงคิวเล็กซ์หรือยุงรำคาญ (Genus Culex) ยุงในตระกูลนี้ที่สำคัญทางแพทย์มี 4 ชนิด คือ

1.3.2.1        ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus)

พบมากในแอฟริกาและเอเชีย วางไข่เป็นแพในน้ำเน่าเสีย แหล่งเพาะพันธุ์มักอยู่ใกล้บ้าน ไข่แพหนึ่งมีประมาณ 200- 250 ฟอง ไข่ฟักภายใน 30 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 24 - 30 องศาเซลเซียส ออกหากินกลางคืน ชอบกินเลือดคน ในประเทศพม่า อินเดีย อินโดนีเซีย ยุงชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญในการนำโรคฟิลาเรีย สำหรับประเทศไทยพบว่ายุงชนิดนี้สามารถนำเชื้อฟิลาเรียได้เช่นกันแต่ยังมีข้อมูลน้อย นอกจากนี้อาจทำให้มีอาการคันแพ้และเกิดแผลพุพองได้

 1.3.2.2        Culex tritaeniorhynchus

                        ชนิดนี้เป็นตัวนำเชื้อไวรัส Japanese encephalitis ซึ่งทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบทั่วไปในระเทศไทย แต่พบมากในจังหวัดภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ น่าน แหล่งเพาะพันธุ์อยู่ตามท้องนา แหล่งน้ำที่เกิดจากรอยเท้าสัตว์ บ่อน้ำเล็กๆ ที่มีพืชน้ำ ลำธาร ชอบกินเลือดวัว ควาย หมูมากกว่าเลือดคนและนก ออกหากินตั้งแต่พลบค่ำจนตลอดคืน ส่วนมากหากินนอกบ้าน

1.3.2.3        Culex gelidus

เป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ เช่นเดียวกับ Cx.tritaeniorhynchus แหล่งเพาะพันธุ์ได้แก่ สระน้ำ บ่อ หนองน้ำ น้ำล้างคอกสัตว์ ลำธารเล็กๆ ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำ หากินกลางคืน ชอบกินเนื้อสัตว์

1.3.2.4        Culex fuscocephala

เป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ พบตามหนองน้ำ บึงนาข้าว หากินกลางคืน ชอบกินเนื้อสัตว์ เช่น วัว ความ สุกร นก และคน

1.3.3        ตระกูลยุงก้นปล่อง (Genus Anopheles)

ยุงตระกูลนี้เป็นตัวการนำโรคมาลาเรีย  ซึ่งเกิดจากเชื้อโปรโตชัว Plasmodium ยุงก้นปล่องทีเป็นพาหะสำคัญในประเทศไทยมี 4 ชนิด คือ

1.3.3.1        Anopheles minimus เพาะพันธุ์ตามลำธารที่มีน้ำใสสะอาดไหล ไหลช้าๆ มีหญ้า

1.3.3.2        ขึ้นตามขอบและมีร่มเงาเล็กน้อย พบในท้องที่แถบเขาหรือใกล้เขา เกาะพักในบ้านที่ค่อนข้างมืดตอนกลางวัน แต่ในบางท้องที่ไม่เกาะพักในบ้าน ชอบกินเลือดคนมากว่าสัตว์

1.3.3.3        Anopheles dirus (A. balabacensis) เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่ง มีร่มเงา เช่น ตามปลักโคลน รอยเท้าสัตว์และแหล่งน้ำชั่วคราวอื่นๆ ที่มีน้ำใส มีใบไม้แห้ง ถังซีเมนต์รดน้ำต้นไม้ในสวน ชอบอยู่ตามเขาและป่าเชิงเขา กัดคนตอนกลางคืนตั้งแต่เวลา 22:00 น. และมากที่สุดหลังเที่ยงคืน มีนิสัยชอบเกาะพักนอกบ้าน ชอบกินเลือดคน

1.3.3.4        Anopheles sundaicus เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำกร่อยที่มีแสงแดดส่องถึง พบทางชายทะเล หากินนอกบ้าน ไม่มีรายงานเกาะพักนอกบ้าน

1.3.3.5        Anopheles maculates เพาะพันธุ์ตามท้องที่ป่าเขา ป่าบุกเบิกทั่วไป แหล่งเพาะพันธุ์ได้แก่ ลำธารเล็กๆ ที่มีแสงแดดส่องถึง คล้ายแหล่งเพาะพันธุ์ของ A.minimus ตัวเต็มวัยชอบเกาะพักตามพุ่มไม้เตี้ยๆ กินเลือดทั้งคนสัตว์ หากินนอกบ้าน มากกว่านอกบ้าน วงจรชีวิตของยุงก้นปล่อง มีอยู่ 4 ระยะเช่นกัน

ระยะไข่ ยุงก้นปล่องจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว บนผิวน้ำในตอนกลางคืนครั้งละประมาณ 150 ฟอง ไข่รูปร่างคล้ายเรือ บริเวณสองข้างตอนกลางฟองไข่มีเยื่ออากาศเป็นทุ่น เรียกว่า float เป็นส่วนที่ทำให้ไข่ลอยน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไข่ยุงในตระกูลยุงก้นปล่อง ไข่ใช้เวลา 2-3 วันจึงฟักตัวเป็นลูกน้ำ

ระยะลูกน้ำ มีการลอกคราบ 4 ครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่งใช้เวลาประมาณ 13-15 วันหรือมากกว่านั้น ที่อุณหภูมิต่ำลูกน้ำวางตัวขนานกับผิวน้ำ มีขนรูปพัดเรียกว่า palmate hairs ปรากฏอยู่บนปล้องท้องเกือบทุกปล้อง ทำหน้าที่พยุงลูกน้ำให้ลอยตัวเป็นลักษณะเฉพาะของลูกน้ำยุงก้นปล่อง

ระยะตัวโม่ง ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวยุงพร้อมที่จะบิน รวมระยะเวลาจากไข่จนกลายเป็นตัวเต็มวันประมาณ 17 - 21 วัย

ระยะตัวเต็มวัย ยุงตัวเมียผสมพันธุ์ได้ทันที การผสมพันธุ์เพียงครึ่งหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 5 - 6 ชุด แต่จะต้องได้รับเลือดก่อนทุกครั้ง เมื่อได้กินเลือดแล้วยุงตัวเมียจะไปเลือกที่สงบเกาะพักรอให้ไข่สุก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง แล้วมักจะบินไปหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมเพื่อวางไข่ ยุงที่วางไข่แล้ว เรียกว่า parous ส่วนยุงที่ยังไม่เคยวางไข่เรียก nulliparous

1.3.4        ตระกูลยุงเสือหรือยุงฟิลาเรีย (Genus Mansonia)

ยุงในตระกูลนี้สำคัญและเป็นตัวการนำโรคฟิลาเรีย (filariasis) ซึ่งเกิดมาจากเชื้อ Brugia Malayi ทางภาคใต้ของประเทศไทย ชนิดที่พบแพร่หลายได้แก่

1.3.4.1        Mansonia uniformis

1.3.4.2        Mansonia  dives

1.3.4.3        Mansonia bonneae

1.3.4.4        Mansonia annulifera

วงจรชีวิตของยุง Mansonia เป็นแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) เช่นเดียวกับยุงชนิดอื่นๆ ระยะเวลาการเจริญเติบโตค่อนข้างยาว จากไข่จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 23 - 30 วัน มี 4 ระยะ คือ

ระยะไข่ ไข่จะถูกวางติดกับด้านใต้ของพืชน้ำ มีสีคล้ำเกาะกันอยู่เป็นกระจุกรูปร่างคล้ายกลีบดอกไม้ กลุ่มหนึ่งประกอบด้วยไข่ประมาณ 75 - 200 ฟอง ไข่ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 วัน จึงฟักเป็นตัวลูกน้ำ

ระยะลูกน้ำ  มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ท่อหายใจ (siphon) มีลักษณะรูปกรวยสั้นปลายแหลมหยักคล้ายใบเลื่อยใช้เจาะติดับต้นรากพืชน้ำ มีลิ้นปิดเปิดแข็งแรงมาก หายใจโดยได้รับออกซิเจนจากเซลล์ของพืชน้ำ ใช้เวลาเจริญเติบโต 16 - 20 วัน

ระตัวโม่ง  ท่อหายใจดัดแปลงรูปร่างเพื่อแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อพืชน้ำใช้เวลา 5 - 7 วัน

ระยะตัวเต็มวัย ยุงชนิดนี้แตกต่างจากยุงชนิดอื่นๆ ตรงที่เกล็ด (Scale) บนปีกมีสีสันลวดลายแปลกตาโดยมากเป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะที่เกล็ดมีลักษณะกลมและใหญ่กว่ายุงชนิดอื่น ยุงชนิดนี้หากินกลางคืน เมื่อผสมพันธุ์และกินเลือดแล้วมักจะเกาะพักบริเวณยอดหญ้ารอจนไข่สุกจึงไปวางไข่ในแหล่งเพาะพันธุ์ตามบึง หรือหนองน้ำที่มีพืชน้ำ เช่น พวกจอกและผักตบชวา ยุงตัวเมียหากินนอกบ้าน ชอบกินเลือดวัว สุนัข แพะ สัตว์ปีกและคน  เวลาที่ออกหากินมากที่สุดเป็นช่วง พลบค่ำและก่อนพระอาทิตย์ขึ้น อาจพบออกหากินเวลากลางวันในบริเวณที่ความชื้นสูงมีร่มเงา ยุงตัวเมียกินเลือดเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอต่อการเจริญของไข่ ระยะเวลาในการสร้างไข่ประมาณ 4 - 5 วัน 

ตารางที่ 2 สรุปข้อแตกต่างระหว่างยุง 4 ชนิด 

ลักษณะทั่วไป

ตระกูลยุงลาย

Aedes

ตระกูลยุงรำคาญ

Culex

ตระกูล

ยุงก้นปล่อง

Anopheled

ตระกูลยุงเสือ

/ยุงฟิลาเรีย

Mansonia

แหล่งเพาะพันธุ์

แหล่งน้ำสะอาดบริเวณบ้าน เช่น ตุ่มน้ำ อ่างน้ำ บ่อซีเมนต์ ไห กระป๋อง กะลา ยาง รถยนต์ จานรองขาตู้ แจกัน กาบเปลือกผลไม้

แหล่งน้ำขังบนดิน แอ่งหิน ท่อระบายน้ำ น้ำครำใต้ถุนบ้าน น้ำในทุ่งนา รอยเท้าสัตว์ ภาชนะขังน้ำที่สกปรก

 

แหล่งน้ำไหลเอื่อยๆ ค่อนข้างสะอาด แอ่งหิน โพรงไม้ รวมทั้งในนาข้าว โดยมากอยู่ไกลตัวเมือง ในป่าชายเขา

บึงน้ำที่มีพืชน้ำ เช่น จอก แหน ผักตบชวา ป่าพรุที่มีพืชน้ำ เป็นต้น

การเกาะพัก

ลำตัวขนานกับพื้น

ลำตัวขนานกับพื้น

ลำตัวและส่วนท้องทำมุมกับผนังที่เกาะประมาณ 45°

ลำตัวขนานกับพื้น

รูปล่างลักษณะ

ลำตัวมีเกล็ดสีขาวบนด้านหลังส่วนอก

ปีกค่อนข้างใส

 

ปากตัวเมีย palpi

สองข้างปากสั้น

 

ลำตัวสีน้ำตาล

 

ปีกค่อนข้างใส

 

ปากตัวเมีย palpi

สองข้างปากสั้น

ยาวไม่ถึง ? ของปาก

ลำตัวสีน้ำตาล

ค่อนข้างสีดำ

ปีกมีเกล็ดสีซีด

สลับเข้ม

ปากตัวเมีย palpi

สองข้างปากยาวเท่ากับความยาว ของปาก

ลำตัวเกล็ดหยาบ

สีน้ำตาลอ่อน

ปีกมีเกล็ดหยาบ

ใหญ่เห็นได้ชัดเจน

ปากตัวเมีย palpi

สองข้างของปากยาวกว่า  Culex เล็กน้อย

ลูกน้ำ

ท่อหายอ้วนสั้น

ลอยทำมุมกับผิวน้ำ เคลื่อนไหวแบบตวัดตัว

ท่อหายใจเรียงยาว ลอยทำมุมกับผิวน้ำ เคลื่อนไหวเป็นรูปตัวเอส (S)

ไม่มีท่อหายใจ ลอยขนานบนผิวน้ำ    เคลื่อนไหวตรงๆ สลับไปมาดูแข็งๆ

ท่อหายใจสั้นเป็นฟันเลื่อยเจาะแทงในรากพืชน้ำ เคลื่อนไหวเป็นรูปตัวเอส (S)

ไข่

เป็นใบเดี่ยวๆ ติดตามขอบภาชนะเหนือระดับน้ำเล็กน้อย

เป็นแพลอยอยู่บนผิวน้ำ

เป็นใบเดี่ยวๆ ลอยบนผิวน้ำ โดยมีทุ่นช่วย

เป็นกลุ่มติดอยู่ใต้ใบพืชน้ำ

การออกหากิน

เวลากลางวันในบ้านและใกล้บ้าน

เวลาพลบค่ำถึงเช้ามืด โดยมากหากินนอกบ้าน

เวลากลางคืนนอกบ้าน

เวลากลางคืนนอกบ้าน

นำโรคสำคัญ

ไข้เลือดออกและ

ฟิลาเรีย  ชนิดที่มีพยาธิ W.bancroftl

ไข้สมองอักเสบและโรคฟิลาเรียชนิดที่มีพยาธิ W.bancroftl

โรคมาลาเรีย หรือไข้ป่าหรือไข้จับสั่น

โรคเท้าช้างชนิดที่มีพยาธิ Brugla malayi  และ W.bancroftl

 

  1. 2. วิธีการควบคุมยุง

2.1        การควบคุมโดยวิธีชีววิทยา (Biological control)

การนำสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติมาควบคุมยุงพาหะให้ได้ผลนั้น ต้องมีปริมาณมากพอที่จะควบคุมประชากรยุงพาหะได้ เช่น การให้ปลากินลูกน้ำ ตัวห้ำ เชื้อรา แบคทีเรีย และโปรโตซัว เป็นต้น

2.2        การควบคุมโดยใช้สารเคมี (Chemical control)

การใช้มาตรการควบคุมโดยใช้วัตถุอันตราย เช่น การใช้สารไพรีทรอยด์สังเคราะห์สารสกัดธรรมชาติ สารออร์กาโนคลอรีน สารออร์กาโนฟอสเฟตและสารคาร์บาเมต เป็นต้น

2.3        การควบคุมโดยวิธีกล (Mechanical control) เช่น การใช้มุ้ง การสวมเสื้อมิดชิด ใช้ยาจุดกันยุง ใช้มุ้งลวด เป็นต้น

2.4        การควบคุมโดยวิธีพันธุกรรม (Genetic control) เช่น ทำให้โครโมโซมของยุงพาหะเปลี่ยนไปไม่สามารถนำเชื้อได้ ทำให้ยุงเป็นหมันโดยใช้สารกัมมันตรังสีหรือใช้วัตถุอันตราย เป็นต้น

2.5        การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง (Insect growth regulators: IRG) เช่น การใช้สารคล้ายจูวิไนล์ฮอร์โมนและสารยับยั้งการสร้างผนังลำตัว เป็นต้น

 3. การจัดการยุง

3.1        การจัดการแหล่งเพาะพันธุ์

ในการดำเนินการจำเป็นต้องมีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ ความชุกชุมของลูกน้ำและตัวยุงเพื่อวางแผนจัดการควบคุม ภายหลังการปฏิบัติงานต้องมีการประเมินผลโดยสำรวจแบบดียวกับก่อนการควบคุม เพื่อตรวจสอบว่ายุงลดลงหรือไม่

แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงแต่ละชนิดแตดต่างกัน ดังนั้นต้องมีความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาและนิเวศวิทยาของยุงที่ต้องการกำจัด ดังนี้

3.1.1        ยุงลาย   เพาะพันธุ์ในภาชนะขังน้ำ   เช่น   โอ่งใส่น้ำดื่ม  น้ำใช้  บ่อคอนกรีตขัง น้ำในห้องน้ำ แจกันภาชนะใส่ต้นไม้น้ำ   การจัดการต้องเป็นการหาวิธีป้องกันไม่ให้ภาชนะดังกล่าวเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น ปิดฝาภาชนะให้มิดชิดด้วยผ้า ตาข่าย หรืออลูมิเนียมหรือแผ่นโลหะ ทำความสะอาดขัดล้างโอ่ง ระบายน้ำทิ้งเปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 4 - 5 วัน ในกรณีของภาชนะที่ไม่ได้ประโยชน์ เช่น ยางรถยนต์เก่า โอ่ง อ่างแตก แนะนำให้กำจัดทิ้งไปหรือนำไปดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์อื่น เช่น นำไปใส่ดินปลูกพืชสวนครัว เป็นต้น สำหรับแหล่งเพาะพันธุ์ในธรรมชาติ เช่น โพรงไม้ กาบใบเรือ กระบอกไม้ไผ่ สามารถป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์โดยใส่ดินหรือทรายหรืออุดด้วยซีเมนต์หรือฉีดพ่นสารกำจัดลูกน้ำซึ่งอาจใช้สารเคมีหรือสารชีวภาพ

วิธีการจัดการกับวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ขวด กระป๋อง โอ่งแตก ถังพลาสติกชำรุด ยางรถยนต์ กะลามะพร้าว เปลือกทุเรียน ถ้วยยางพาราเก่าๆ เป็นต้น ดังนี้

3.1.1.1        ฝัง เผาทำลายหรือเก็บรวบรวมในถุงหรือนำไปทำรองเท้ายาง ถังน้ำ ถังขยะหรือนำไปหลอมกลับมาใช้ใหม่

3.1.1.2        ยางรถยนต์เก่า อาจนำไปปลูกต้นไม้หรือนำไปทำแนวกั้นดินป้องกันการถูกคลื่นเซาะทำลาย

3.1.1.3        กะลามะพร้าว เปลือกทุเรียนนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง

3.1.1.4        เรือบดเล็กหรือเรือชำรุดให้คว่ำเมื่อไม่ใช้งาน

3.1.2        ยุงรำคาญ เพาะพันธุ์อยู่ในท่อระบายน้ำ แหล่งน้ำขังที่มีมลภาวะสูง การจัดการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ทำได้หลายวิธี เช่น

3.1.2.1        การเก็บขยะในแหล่งน้ำขัง เพื่อจะได้ไม่เป็นอาหารของลูกน้ำและเป็นที่หลบซ่อนของลูกน้ำ จากการสังเกตพบว่าแอ่งน้ำขังหรือคลองที่ไม่มีขยะลอยอยู่ในน้ำจะไม่ค่อยมีลูกน้ำยุงรำคาญเพราะไม่มีแหล่งเกาะพักของลูกน้ำ ไม่มีร่มเงา

3.1.2.2         การกำจัดต้นหญ้าที่อยู่ริมขอบบ่อ

3.1.2.3         การทำให้ทางระบายน้ำไหลได้สะดวก เพราะยุงรำคาญชอบอาศัยในแหล่งน้ำขัง หรือ น้ำนิ่ง ซึ่งมีเศษขยะลอยอยู่บนผิวน้ำ

3.1.2.4         การถมหรือระบายน้ำออกของแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็น เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ให้น้อยลง

3.1.3        ยุงก้นปล่อง  พาหะนำโรคมาลาเรีย มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามลำธาร บ่อพลอยแอ่งหิน แอ่งดิน คลองชลประทาน สามรถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ไม่เหมาะสมโดยการกลบถมปรับปรุงความเร็วของกระแสน้ำเพื่อรบกวนการวางไข่ของยุงและทำให้ไข่ยุงกระทบกระเทือน จัดการถางวัชพืชริมลำธาร ลดร่มเงาและแหล่งเกาะพัก

3.1.4        ยุงพาหะโรคเท้าช้าง มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามป่าพรุ แหล่งน้ำที่มีพืชน้ำ ฉะนั้นการจัดการกับแหล่งเพาะพันธุ์ทำได้ยากโดยกลบถมหรือทำลายวัชพืช

3.2        การควบคุมโดยวิธีชีววิทยา

การนำสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติมาควบคุมยุงพาหะให้ได้ผลนั้น ต้องมีปริมาณมากพอที่จะควบคุมประชากรยุงพาหะได้ สามารถหาได้ในท้องถิ่นและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชิวิตอื่นตลอดจนสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ปลากินลูกน้ำ ตัวห้ำ เชื้อรา แบคทีเรีย และโปรโตซัว เป็นต้น

3.3        การควบคุมโดยวิธีพันธุกรรม

เช่น ทำให้โครโมโซมของยุงพาหะเปลี่ยนไปไม่สามารถนำเชื้อได้ ทำให้ยุงเป็นหมันโดยใช้สารกัมมันตรังสีหรือใช้วัตถุอันตราย

3.4        การควบคุมโดยวิธีกล

การลดการสัมผัสระหว่างคนและยุงพาหะ เช่น การใช้มุ้ง การสวมเสื้อมิดชิด การใช้สารทาป้องกันยุง การใช้ยาจุดกันยุง การใช้มุ้งลวด

3.5        การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง ใช้ชื่อย่อว่า IGRs แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

3.5.1        สารคล้ายจูวิไนล์ฮอร์โมน (Juvenile analogues) เช่น สารเม็ทโทปรีน(methoprene)

3.5.2        สารยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (Chitin synthesis inhbitors) เช่น สารไดฟลูเบนซูรอน  (diflubenzuron) ไทรทูมูรอน (triumuron)  เป็นต้น

3.6        การควบคุมโดยใช้สารเคมี

 การใช้มาตรการควบคุมโดยใช้วัตถุอันตรายนี้ จะต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมโดยอาศัยความรู้ทางชีวนิสัยของยุงพาหะ ระบาดวิทยาของโลก ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่นำใช้อย่างปลอดภัย ในทางสาธารณสุขนั้นจำนวนไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นำมาใช้พ่นชนิดมีฤทธิ์ตกค้างหรือนำมาใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานทางการเกษตรซึ่งอาจทำให้ยุงพาหะเกิดความต้านทานต่อสารนั้นได้ ดังนั้นการควบคุมยุงพาหะโดยการใช้วัตถุอันตรายจึงควรใช้ร่วมกับมาตรการอื่น

3.6.1        สารจากธรรมชาติ (Natural Products)  เช่น สารไพรีทรีนซึ่งสกัดจากดอกเบญจมาศ สารนิโคตินจากใบยาสูบ สารสกัดจากสะเดา (Neem)  โล่ติ๊น  (Rotenone)  เป็นต้น

3.6.2        การใช้วัตถุอันตรายกำจัดลูกน้ำ (Larvicides)  ได้แก่ เทมีฟอส  (temephos) เฟนไธออน (fenthion) คลอไพรีฟอส (chlorpyriphos) เป็นต้น สารเทมีฟอส 1 % เคลือบทราย (Sandgranules) หรือเคลือบซีโอไลท์ (zeolite granules) ความเข้มข้นที่แนะนำให้ใช้ 1 พีพีเอ็มในน้ำ  (10 กรัมในน้ำ 100 ลิตร) มีฤทธิ์กำจัดลูกน้ำยุงได้ 8 - 20 สัปดาห์ ขึ้นกับพฤติกรรมการใช้น้ำ

3.6.3        การใช้วัตถุอันตรายกำจัดยุง  ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีดังนี้

3.6.3.1        กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (Synthetic pyrethroid compounds) เช่น  เพอเมทรีน  (permethrin)  เดลต้าเมทรีน  (deltamethrin)  แลมด้าไซฮาโลทรีน (lambdacyhalothrin) เป็นต้น

3.6.3.2        กลุ่มออร์ก้าโนคลอรีน  (Organochlorine compounds) เช่น ดีดีที แต่ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือ ห้ามผลิต นำเข้าส่งออกและมีไว้ในครอบครอง

3.6.3.3        กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส  (Organophosphate compounds) เช่น เฟนนิโทรไธออน (fenitothion)  มาลาไธออน (malathion)  ไดคลอวอส (dichlorvos) เป็นต้น

3.6.3.4        กลุ่มคาร์บาเมต (Cabamate compounds)  เช่น โปรพ็อกเซอร์ (Propoxur) เบนดิโอคาร์บ (bendiocarb) เมทโทมิล (methomyl) เป็นต้น

 

  1. วัตถุอันตรายที่ใช้ควบคุมป้องกันและกำจัดสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข

แมลงและสัตว์ฟันแทะหลายชนิดเป็นต้นเหตุนำโรค นำความรำคาญและความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมาสู่มนุษย์ในอดีตมนุษย์พยายามหาวิธีควบคม ป้องกันและกำจัดมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นต้นมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 ได้การนาสารดีดีที (dichlorodiphenyl trichloroethane) มาใช้กำจัดแมลงเป็นครั้งแรก ต่อมาได้มีการใช้สารอินทรีย์สังเคราะห์อื่นๆในการกำจัดแมลงและศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ปัจจุบันในประเทศไทย สารดีดีที จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือห้ามมีการผลิต นำเข้าส่งออกและมีไว้ในครอบครอง ด้วยมีข้อมูลความเป็นพิษต่อมนุษย์และการตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม

วัตถุอันตรายที่นำมาใช้เพื่อกำจัดสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข เช่น ยุง แมลงวัน ปลวก มด แมลงสาบ ไรฝุ่นและหนู เป็นต้น มีหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ชนิดฉีดพ่นแบบพ่นอัดก๊าซและฉีดพ่นธรรมดา ชนิดขด ชนิดแผ่นใช้ไฟฟ้า ชนิดผงหรือชนิดเหยื่อ เป็นต้น

  1. 1. วัตถุอันตรายที่ใช้ในควบคม ป้องกันและกำจัดสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข แบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.1                   สารประกอบอนินทรีย์

เป็นสายประกอบของแร่ธาตุที่พบตามธรรมชาติ ไม่มีธาตุคาร์บอนในโมเลกุล มีความเสถียรมาก ไม่ระเหย ละลายน้ำได้ดี บางชนิดคงอยู่ได้นาน มีพิษสะสมต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สารประกอบของสารหนู ไซยาไนด์ ปรอท และแทลเลียม เป็นต้น

1.2                   สารสกัดจากธรรมชาติ (Botanical insecticides)

ได้แก่ สารสกัดจากพืชตะไคร้หอม (cymbopogon nardus (L) Rendli) สารสกัดจากพืชหนอนตายหยาก (Stemona spp.) สารสกัดจากพืชโล่ติ๊น (Derris elliptica) เป็นต้น

1.3                   สารประกอบอินทรีย์

เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมีส่วนผสมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและธาตุอื่นๆ เช่น คลอรีน ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัสและไนโตรเจน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1.3.1                   สารประกอบออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine compounds) เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคลอรีน ไฮโดรเจน คาร์บอน บางชนิดอาจมีออกซิเจนรวมอยู่ด้วยเรียกว่า คลอริเนเต็ดไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon) เป็นสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ตกค้างนาน มีความคงตัว ไม่สลายตัว ไม่ละลายน้ำ ละลายได้ดีในน้ำมัน ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น เป็นสารกลุ่มแรกที่นำมาใช้ควบคุมแมลงในบ้านเรือน ปัจจุบันสารในกลุ่มนี้หลายชนิดจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือ ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครอง เพราะมีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก่อให้เกิดมะเร็ง ตกค้างในสิ่งแวดล้อมแพร่กระจายและสะสมเพิ่มขึ้นในสัตว์ต่างๆ ตามลำดับในชั้นห่วงโซ่อาหาร สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดีดีที (DDT) คลอร์เดน (chlordane) อัลดริน (aldrin) บีเอชุ (BHC) ดีลดริน (diedrin) และเฮ็บตาคลอร์ (heptachlor) เป็นต้น

1.3.2                   สารประกอบออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate compounds) เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญ ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลายอินทรีย์ ออกฤทธิ์ทำให้แมลงตายโดยการสัมผัสและดูดซึมเข้าสู่ตัวแมลง มีฤทธิ์อยู่ได้นานกว่าสารกล่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นและเหยื่อ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาทของมนุษย์และสัตว์ ดังนั้นจึงมีข้อควรระวังสำหรับผู้สัมผัสกับสารกลุ่มนี้ คือ จะต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาระดับซีรั่มโคลีนเอสเตอเรส สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไดคลอร์วอสหรือดีดีวีพี (dichlorvos or DDVP) ไดอะซีนอน (diazinon) มาลาไธออน (malathion) คลอรพรีฟอส (chlorpyriphos) เทมีฟอส (temephos) เป็นต้น

1.3.3                   สารประกอบคาร์บาเมต (Carbamate compounds) เป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีพิษคล้ายสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คือ ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ดังนั้นผู้ที่สัมผัสสารดังกล่าวต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจหาระดับซีรั่มโคลีนเอสเตอเรส นิยมใช้ในรูปฉีดพ่นโดยผสมกับสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ สารในกลุ่มนี้ได้แก่ โพรพ็อกซัวร์ (propoxur) คาร์บาริล (carbaryl' เบนดิโอคาร์บ (bendiocarb) เป็นต้น

1.3.4                   สารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (Synthetic pyrethroids) เป็นสารเคมีสังเคราะหที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายสารไพรีทรินที่สกัดมาจากพืช จากดอกเบญจมาศ ตระกูล chrysanthemum เป็นสารกำจัดแมลงที่ปลอดภัยในการใช้ มีพิษต่อแต่มีประสิทธิภาพสูง แต่ด้วยคุณสมบัติของสารนี้ที่ไม่ทนต่อแสง จึงมีการผลิตสารไพรีทรอยด์สังเคระห์ขึ้นแทนเพราะทนต่อแสงได้นานกว่า สารกล่มนี้ออกฤทธิ์ในการกำจัดแมลงโดยเกิดพิธีที่ระบบประสาทของแมลง แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์พบว่าเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนแปลงและถูกขับถ่ายออกโดยไม่สะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ส่วนในสิ่งแวดล้อม ดินและพืชจะเสื่อมสลายอย่างรวดเร็ว สารในกลุ่มนี้ ได้แก่ อัล-เลทริน (allethrin) ไบโออัลเลทริน (bioallethrin) ไบโอเรสเมทริน (bioresmethrin) ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin) ไพนามิน (pynamin) เพอร์เมทริน (permethrin) ไซฟลูทริน (cyfluthrin) เป็นต้น

1.3.5                   สารออกฤทธิ์กลุ่มอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นมาเนื่องจากการใช้สารเดิมๆ เป็นเวลานานแมลงอาจเกิดความต้านทานได้ ดังนี้

1.3.5.1                    กลุ่มคลอโรนิโคตีนิล (chloronicotinyl) ได้แก่ สาร imidacloprid

1.3.5.2                    กลุ่มเฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazole) ได้แก่ สาร fipronil

1.3.5.3                    กลุ่มสารกำจัดหนู (Rodenticides) เช่น สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า ได้แก่ วอรฟาริน (warfarin) คูมาเตทราลิล (coumatetralyl) โบรไดฟาคุม (brodifacoum) โบรมาดิโอโลน (bromadiolone) โฟลคูมาเฟน (flocoumafen) ไดเฟไทอะโลน (difethialone) เป็นต้น

1.3.5.4                    สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulators) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน (hormone mimics) เช่น สาร hexaflumuron เป็นสารยับยั้งการสร้างผนังลำตัวแมลง (chitin synthesis inhibitors) ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว รวมทั้งผ่านการทดสอบจากกรมป่าไม้ว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกได้ ภายในเวลา 1 - 2 เดือน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เหยื่อกำจัดปลวก ชนิดที่ติดตั้งภายในอาคารและชนิดฝังดินบริเวณรอบนอกอาคารซึ่งในการนำเหยื่อกำจัดปลวกนี้ไปใช้ จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม มีความรู้ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี รวมทั้งควรมีความชำนาญในการที่จะแก้ไขระหว่างการวางและเปลี่ยนเหยื่อด้วยเนื่องจากเหยื่อที่นำเข้ามาใช้แก้ปัญหาในปัจจุบันยังมีประสิทธิภาพในการดึงดูดให้ปลวกเข้ามากินได้ไม่ดีนัก

 

  1. 2. รูปแบบของสูตรผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในการควบคุม ป้องกันและกำจัดสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุขดังกล่าวข้างต้นที่วางจำหน่ายโดยทั่วไปนั้น นอกจากจะประกอบด้วยสารสำคัญแล้วยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อลดความเข้มข้นของสารสำคัญ ลดความเป็นอันตราย เพิ่มประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อความสะดวกต่อการนำไปใช้และการขนย้าย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้มีทั้งชนิดพร้อมใช้และชนิดเข้มข้นที่ต้องนำไปเจือจางด้วยน้ำหรือตัวทำละลายก่อนใช้ชนิดของสูตรตำรับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย มีดังนี้

2.1                   ชนิดของสูตรผสมวัตถุอันตรายแบบเข้มข้นต้องผสมน้ำก่อนนำไปใช้

2.1.1                   EC (Emulsifiable Concentrate) ลักษณะเป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำ จะได้สารอิมัลชั่นมีลักษณะขุ่นขาว

2.1.2                   SC (Suspension Concentrate) ลักษณะเป็นสารผสมแขวนลอยของสารออกฤทธิ์ในของเหลว ไม่ตกตะกอน ก่อนใช้ต้องนำไปเจือจาง

2.1.3                   SL (Soluble Concentrate) ลักษณะเป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้องนำไปเจือจางด้วยน้ำ

2.1.4                   SP (Soluble Powder) ลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องนำไปผสมน้ำ สารออกฤทธิ์ละลายน้ำได้ แต่สารไม่ออกฤทธิ์บางส่วนในสูตรไม่ละลายน้ำ

2.1.5                   WP (Wettable Wowder) ลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำจะได้สารละลายในรูปของสารแขวนลอย สูตรนี้เหมาะนำไปใช้ในการอัดวัตถุอันตรายลงดินหรือฉีดพ่นบนพื้นดินบริเวณรอบๆ อาคารบ้านเรือน

การพิจารณาเลือกใช้สูตรตำรับใด จึงขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้หรือราคาของวัตถุอันตรายนั้นๆ

2.2                   ชนิดของสูตรผสมวัตถุอันตรายทีเข้มข้น ต้องผสมสารอินทรีย์ก่อนนำไปใช้ เช่น OL (Oil miscible liquid) ลักษณะเป็นของเหลวผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ สูตรนี้เหมาะที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์ชนิดเต็มหรือหลอดฉีดยา เพื่ออัดหรือฉีดพ่นวัตถุอันตรายเข้าไปในโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายในแต่ละจุดเป็นระยะๆ เพื่อช่วยในการแทรกซึมของสารเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดีกว่าการใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ

2.3                   ชนิดของสูตรผสมวัตถุอันตรายทีนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำให้เจือจาง เช่น DP (dustable powder) ลักษณะเป็นผงละเอียด เหมาะจะนำไปใช้ในการฉีดพ่นโดยใช้กับอุปกรณ์ชนิดลูกยางบีบพ่น วัตถุอันตรายจะเข้าไปในเส้นทางเดินของแมลงหรือในโครงสร้างส่วนที่ถูกทำลายโดยไม่มีการเลือดเปรอะเปื้อน ต่างจากการใช้วัตถุอันตรายที่ต้องผสมกับตัวทำละลายที่เป็นน้ำ หรือ สารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างของอาคารหรือวัสดุสิ่งของนั้นๆ

2.4                   ชนิดของสูตรผสมวัตถุอันตรายที่ใช้เฉพาะอย่าง

2.4.1                   AE (aerosol general) บรรจุในภาชนะปิดมิดชิด ภายในมีแรงดันสูง มีลิ้นบังคับการเปิด - ปิด เมื่อลิ้นเปิดสารละลายจะถูกปล่อยออกมาเป็นละอองฝอย

2.4.2                   BA (bait ready for use) เป็นเหยื่อล่อหรือดึงดูดแมลงและสัตว์ฟันแทะให้เข้ามากัดกินได้เลยโดยไม่ต้องนำไปผสมอีก

2.4.3                   Foam เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้ในการอัดฉีดวัตถุอันตรายลงใต้พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำพาวัตถุอันตรายให้แทรกซึมและกระจายได้เร็ว

และทั่วถึง รวมทั้งสามารถแทรกซึมไปตามช่องว่างต่างๆ ภายใต้พื้นคอนกรีตได้

 

  1. 3. ความเป็นพิษของวัตถุอันตราย

3.1                   ความเป็นพิษ หมายถึง ความสามารถเฉพาะตัวของสารใดสารหนึ่งในการทำให้เกิดพิษต่อสิ่งมีชีวิต มี 2 ลักษณะ ดังนี้

3.1.1                   ความเป็นพิษเฉียบพลัน หมายถึง ความเป็นพิษจากวัตถุอันตรายทันทีหลังจากดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบประสาท ทำให้มีอาการน้ำลายไหล เหงื่อออก ม่านตาหรี่ เป็นต้น

3.1.2                   ความเป็นพิษเรื้อรัง หมายถึง ความเป็นพิษที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งหลังจากได้รับหรือสัมผัสกับสารนั้นเป็นเวลานาน เช่น การเกิดพิษต่อเม็ดเลือด การเกิดพิษต่อระบบสืบพันธุ์การเกิดเนื้องอกและมะเร็ง เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง ความเป็นพิษ” (toxicity) และ อันตราย” (hazard)

ความเป็นพิษ (toxicity) หมายถึง คุณสมบัติที่มีอยู่ในสารที่จะทำให้เกิดความเสียหาย หรืออันตราย ส่วนอันตราย (hazard) หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดพิษจากการใช้สารนั้น

ดังนั้น วัตถุอันตรายกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะที่มีพิษมาก อาจจะมีอันตรายต่ำก็ได้ หากผู้ที่นำไปใช้ได้ปฏิบัติตามวิธีการใช้อย่างถูกต้องและเลือกใช้วัตถุอันตรายที่เหมาะสม

3.2                   วัตถุอันตราย4สามารถเข้าสู่ร่างกาย ได้ 3 ทาง ดังนี้

3.2.1                   ทางปากโดยการกลืนกิน เช่นสูบบุหรี่ขณะฉีดพ่นละอองหรือฝุ่นวัตถุอันตรายปลิวเข้าปาก ดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนวัตถุอันตราย ใช้ภาชนะบรรจุที่ปนเปื้อนวัตถุอันตราย ใช้ปากดูดวัตถุอันตรายขณะเตรียมเครื่องมือฉีดพ่น ไม่ล้างมือหลังจากทำงาน ใช้มือจับของกิน หรือ การหกรดของวัตถุอันตรายบนอาหาร อีกทั้งมักเกิดจากการจงใจฆ่าตัวตายหรืออุบัติเหตุ

3.2.2                   ทางจมูก โดยการสูดหายใจฝุ่นละอองไอของวัตถุอันตรายผ่านระบบทางเดินหายใจเข้าสู่ร่างกายขณะฉีดพ่น

3.2.3                   ทางผิวหนัง วัตถุอันตรายสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังของคนและสัตว์ได้ อาจเกิดจากการหกรดหัวและเสื้อผ้าผู้ปฏิบัติงานระหว่างเตรียม ขณะฉีดพ่นหรือฝุ่นละอองไอของวัตถุอันตรายแล้วมาถูกตัวระหว่างฉีดพ่นหรืออาจจะเกิดจากการสัมผัสพืช วัสดุสิ่งของหลังจากทำงานขณะซ่อมเครื่องบินที่มีสารดังกล่าวปนเปื้อน เป็นต้น

3.3                   ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย

องค์การอนามัยโลกได้จัดแบ่งระดับความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายโดยพิจารณาจากสูตร (The WHO Recommended classification of pesticides by Hazard and Guidelines to classification) จำแนกระดับความเป็นพิษเฉียบพลัน เป็นค่า LD50 ซึ่งหมายถึงค่าตัวเลขที่แสดงเป็นจำนวนมิลลิกรัม ของสารต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวที่ใช้ที่ทำให้สัตว์ทดลองตายร้อยละ 50 ถ้าค่า LD50 สูง ความเป็นพิษของวัตถุอันตรายจะน้อยลง การจำแนกความเป็นพิษเฉียบพลันของของวัตถุอันตราย ออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้

 

ชั้น

LD50 สำหรับหนูทดลอง (มิลลิกรัม / กิโลกรัม ของน้ำหนักตัว)

ทางปาก

ทางผิวหนัง

ของแข็ง

ของเหลว

ของแข็ง

ของเหลว

I เอ มีพิษ

ร้ายแรง มาก

5 หรือน้อยกว่า

20 หรือน้อยกว่า

10 หรือน้อยกว่า

40 หรือน้อยกว่า

I บี มีพิษร้ายแรง

มากกว่า 5 - 50

มากกว่า 20 - 200

มากกว่า 10 - 100

มากกว่า 40 - 400

II มีพิษปานกลาง

มากกว่า 50 - 500

มากกว่า 200 - 2000

มากกว่า 100 - 1000

มากกว่า 400 - 4000

III มีพิษน้อย

มากกว่า 500

มากกว่า 2000

มากกว่า 1000

มากกว่า 4000

 

หมายเหตุ “ของแข็ง” และ “ของเหลว” หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์หรือสูตรตำรับ

 

การแบ่งกลุ่มค่าความเป็นพิษเฉียบพลันในตารางนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการแบ่งกลุ่มของผลิตภัณฑ์แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์นั้น ไม่มีข้อมูลของค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน มีวิธีการคำนวณ ดังนี้

 

กรณีประกอบด้วยสารสำคัญ 1 ตัว

 

LD50 ของผลิตภัณฑ์ = LD50 ของสารสำคัญ x 100 ÷ % ของสารสำคัญในผลิตภัณฑ์

 

กรณีประกอบด้วยสาระสำคัญ มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป

 

C1/T1 + C2/T2 + ……Cn/Tn = 100/Tm

 

โดย

C             =             ค่าความเข้มข้นของสาระสำคัญตัวที่ 1, 2......ถึง n

T             =             ค่า LD 50 ของสารสำคัญตัวที่ 1, 2.....ถึง n

Tm         =             ค่า LD 50 ของผลิตภัณฑ์

 

ในการประเมินความเป็นพิษเฉียบพลันของวัตถุอันตรายต่อมนุษย์ อาจประเมินจากการให้สารนั้นแก่สัตว์ทดลอง เช่น หนู แล้วพิจารณาความเป็นพิษเฉียบพลัน จากค่า LD50 ที่ได้จากผลการทดลอง

3.4                   อาการเกิดพิษ

พิษของวัตถุอันตรายเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะปรากฏอาการดังนี้

3.4.1                   อาการเริ่มแรก อ่อนเพลีย มึนงง ใจสั่น มีเหงื่อวิงเวียนและตาพร่า

3.4.2                   อาการรุนแรง ใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งที่ท้อง กล้ามเนื้อกระตุกที่บริเวณหน้า เหนื่อยหอบ กล้ามเนื้อหน้าท้อง แขนและขา กระตก ตามัว ม่านตาหดเล็ก หมดสติ หายใจขัด และหายใจช้าลง

 

อาการเกิดพิธีของวัตถุอันตรายแต่ละกลุ่ม

กลุ่ม

อาการเกิดพิษ

กลุ่มออร์กาโนคลอรีน

1.         ลินเดน  (lindane)

2.         อัลดริน (aldrin)

3.         คลอร์เดน (chlordane)

4.         ดีลดริน (dieldrin)

5.         บีเอชซี (BHC)

6.         เฮ็บตาคลอร์ (heptachlor)

 

1.         เมื่อได้รับสารกลุ่มนี้เข้าไปจะกระตุ้นระบบประสาทอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง กล้ามเนื้อขาดการประสานงาน ทำให้มีอาการสั่น ถ้าอาการรุนแรงอาจชักได้

2.         ในรายที่มีอาการรุนแรงจะหมดสติ

กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต

1.         ไดคลอร์วอส หรือ ดีดีวีพี (dichlorvos or DDVP)

2.         มาลาไธออน (malathion)

3.         เทมีฟอส (temephos)

4.         คลอร์ไพรีฟอส (chlorpyriphos)

5.         ไดอะซีนอน (diazinon)

 

1.         เมื่อได้รับทั้งทางปาก ผิวหนัง และสูดดม จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย กระวนกระวาย อาการสั่นที่ปลายลิ้น และเปลือกตา ม่านตาหรี่ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำตา และน้ำลายไหล เหงื่อออกมาก ปวดท้องเกร็ง ชีพจรเต้นช้า กล้ามเนื้อเกร็ง

2.         ในรายที่มีอาการรุนแรงจะท้องเสีย ตาหรี่ หายใจลำบาก ปอดบวม ขาดออกซิเจน ตัวเขียวคล้ำ (cyanosis) กล้ามเนื้อหูรูดไม่ทำงาน ชักและตายเพราะหัวใจไม่ทำงาน

3.         ในรายที่มีพิษสะสม ระบบประสาทถูกทำลาย และกล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย

กลุ่มคาร์บาเมต

1.         โปรพ็อกซัวร์ (propoxur)

2.         คาร์บารีล (carbaryl)

3.         เบนดิโอคาร์บ (bendiocarb)

 

1.         ผู้ได้รับพิษจะมีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งช่องท้อง ท้องร่วง ม่านตาหรี่ หายใจหอบ เหงื่อออกมาก

กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์

1.         อัลเลทริน (allethrin)

2.         ไบโออัลเลทริน (bioallethrin)

3.         ไบโอเรสเมทริน (bioresmethrin)

4.         ไซเพอร์เมทริน (cypermethrin)

5.         เพอร์เมทรีน (permethrin)

6.         ไซฟลูทริน (cyflumethrin)

7.         ไพนามิน (pynamin)

 

1.         ผู้ได้รับจะมีอาการคัน ผื่นแดง บางรายก็มีอาการจามคัดจมูก โดยเฉพาะในรายที่เคยเป็นโรคหอบ เมื่อสูดหายใจเอาวัตถุอันตรายพวกนี้เข้าไปจะมีอาการหอบปรากฏขึ้นมาอีก

2.         ในรายที่ได้รับเข้าไปจำนวนมาก จะทำให้มีอาการชักกระตุก กล้ามเนื้อกระตุก และชั้นสุดท้ายจะเป็นอัมพาต

สารกลุ่มอื่นๆ เช่น

1.         กลุ่มเฟนนีลไพราโซล (phenylpyrazole) เช่น fipronil

 

1.         เนื่องจาก fipronil เป็น reversible GABA receptor inhibitor อาการพิษเกิดขึ้น จึงมีผลต่อการกระตุ้นประสาท และอาการชักเกิดขึ้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ระบบ central nervous system ทำให้เกิด hyperexcitability

2.         กลุ่มคลอโรนิโคตินิล (chloronicuetinyl) เช่น imidacloprid

2.         ซึม หายใจขัด และมีอาการสั่นกระตุก ถ้ามีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งให้หยุดทำงาน ทำการปฐมพยาบาลแล้วรีบไปพบแพทย์

3.         สารควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulators) เช่น hexaflumuron

3.         สารกลุ่มนี้มีพิษต่ำต่อสัตว์เลือดอุ่น ไม่พบอาการเกิดพิษ

4.         กลุ่มสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า

4.1         วอร์ฟาริน (warfarin)

4.2         คูมาเตดตระลิล (coumatettralyl)

4.3         โบรไดฟาคูม (brodifacoum)

4.4         โบรมาดิโอโลน (bromadiolone)

4.5         โฟลคูมาเฟน (flocoumafen)

4.6         ไดเฟไทโอโลน (difethialone)

4.         หากได้รับประทานวัตถุอันตรายนี้ในปริมาณมากๆ หรือ ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการตกเลือดโดยอาจมีเลือดออกมากับอุจจาระ เลือดกำเดาไหล มีเลือดออดตามเหงือก อาจมีอาการปวดท้องและหลัง เนื่องจากมีการตกเลือดภายในช่องท้อง อ่อนเพลีย ตัวซีด อาจตายได้เนื่องจากเสียเลือดมาก

 

3.5                   ผลกระทบจากการใช้วัตถุอันตราย

ผลกระทบจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เพื่อประโยชน์ต่อการกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะ นอกจากจะเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์แล้วยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ดังนี้

3.5.1                   ทำให้แมลงและสัตว์ฟันแทะพัฒนาความต้านทานต่อวัตถุอันตราย

การใช้วัตถุอันตรายบ่อยๆ อาจทำให้แมลงและสัตว์ฟันแทะสามารถสร้างความต้านทานต่อวัตถุอันตรายที่ใช้ โดยแมลงจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระและอุปนิสัย เช่น ความสามารถในการพัฒนาให้มีผนังลำตัวหนาขึ้นจนวัตถุอันตรายซึ่งผ่านไม่ได้ หรือสร้างเอนไซม์ขึ้นมาย่อยสลายสารพิษ ทำให้แมลงและสัตว์ที่รอดชีวิตมา จะให้กำเนิดลูกหลานที่แข็งแรงขึ้น ทำให้ปริมาณของวัตถุอันตรายที่เคยใช้ได้ผลกับรุ่นก่อน จึงใช้ไม่ได้กับรุ่นหลังที่มีความทนทานมากขึ้น สำหรับการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยนั้นเนื่องจากแมลงและสัตว์ฟันแทะมีความสามารถในการปรับตัว เช่น ไม่ไปหากินในที่ที่เคยได้รับวัตถุอันตรายแต่จะไปที่อื่นแทน เป็นต้น

3.5.2                   ทำให้แมลงและสัตว์ฟันแทะกลับมาระบาดรุนแรงกว่าเดิม

ในธรรมชาติมีแมลงหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ เช่น ผึ้ง ผีเสื้อ เป็นต้น ดังนั้นการใช้วัตถุอันตรายจะทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ช่วยในการผสมพันธุ์พืช หรือพวกที่ควบคุมแมลงและพืชด้วยกัน เช่น ตัวห้ำและตัวเบียน จะถูกกำจัดไปด้วย ดังนั้นถ้าระบบนิเวศมีปริมาณตัวห้ำและตัวเบียนน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูพืชอยู่แล้ว ผลที่ตามมาคือแมลงที่แข็งแรงที่ต้องการกำจัดกลับมีปริมาณสูงขึ้น เพราะขาดตัวควบคุมปริมาณตามธรรมชาติและในบางครั้งวัตถุอันตรายที่ใช้อาจไปกระตุ้นการเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนของแมลงอีกชนิดหนึ่งได้

3.5.3                   ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุอันตรายกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะบางชนิด สามารถตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ ทำให้ไปสะสมในสิ่งมีชีวิตสูงขึ้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างทศวรรษ 1950s และ 1960s พบว่าชนิดและจำนวนนกลดลงมาก เมื่อศึกษาพบว่านกได้รับสารดีดีที จากปลาที่กินและสะสมไว้ในร่างกาย สารดังกล่าวมีผลรบกวนต่อการนำแคลเซียมไปใช้ประโยชน์ทำให้เปลือกไข่นกบางลง และแตกง่าย ลูกนกจึงมีอัตราการตายสูงหรือออกไข่น้อยลงหรือช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ดังนี้

3.5.3.1                    การแพร่กระจายในดิน

วัตถุอันตรายที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะ ทั้งในอาคารบ้านเรือนหรือที่ใช้ในทางการเกษตร มีโอกาสสะสมในดินสูงมากเพราะดินเป็นแหล่งรองรับโดยตรง สารที่ตกค้างในดินมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายลักษณะ เช่น เกิดการสลายตัว ระเหยเข้าสู่บรรยากาศ ดังนั้นวัตถุอันตรายที่มีความคงทนสลายตัวยากเป็นอันตรายมาก

3.5.3.2                    การแพร่กระจายในน้ำ

วัตถุอันตรายแพร่กระจายเข้าสู่แหล่งน้ำได้ทั้งจากการฉีดพ่นโดยตรงหรือจากการชะล้างของน้ำที่ไหลผ่านผิวดินหรือจากน้ำทิ้งจากบ้านเรือนและอุตสาหกรรม หรือการทิ้งหรือการล้างภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย หรือการใช้วัตถุอันตรายในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำและเมื่อเข้าสู่แหล่งน้ำส่วนใหญ่จะถูกดูดซับด้วยอนุภาคดิน สารอินทรีย์และสารตะกอนแขวนลอยที่อยู่ในน้ำแล้วจมลงสู่ท้องน้ำ อาจมีบ้างที่ระเหยสู่บรรยากาศและซึมผ่านลงในแหล่งน้ำใต้ดิน

3.5.3.3                    การตกค้างในพืช

การตกค้างในพืชที่เป็นอาหารจากการฉีดพ่นวัตถุอันตรายหรือจากการดูดซึมจากน้ำใต้ดินหรือจากสารที่ปลิวในอากาศ

3.5.3.4                    การตกค้างในสัตว์

สัตว์ได้รับวัตถุอันตรายโดยตรงจากการฉีดพ่น หายใจและซึมผ่านผิวหนังหรือได้รับจากอาหารตามลำดับชั้นในห่วงโซ่อาหาร เช่น การตรวจพบดีดีที สะสมอยู่ในชั้นไขมันในนกเพ็นกวินที่ขั้วโลก เป็นต้น

3.5.3.5                    การตกค้างในมนุษย์

การได้รับวัตถุอันตรายของมนุษย์คล้ายกับสัตว์ คือ กลุ่มผู้ใช้วัตถุอันตรายจะได้รับโดยตรงจากการฉีดพ่น จากการกินอาหารหรือจากการดื่มน้ำที่มีวัตถุอันตรายเจือปน อาการพิษที่เกิดขึ้นมีทั้งแบบฉับพลันหลังจากได้รับวัตถุอันตรายในปริมาณมากและระยะเวลาสั้นๆ เช่น วิงเวียน อาเจียน หมดสติ เสียชีวิต ส่วนอาการพิษเรื้อรังหลังจากการได้รับพิษสะสมทีละน้อยเข้าสู่ร่างกายหลังจากที่บางส่วนถูกขับออกจากร่างกายไปแล้ว ที่เหลือจะสะสมในเนื้อเยื่อจนเมื่อถึงจุดที่ร่างกายทนไม่ได้จึงแสดงอาการออกมา เช่น ทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติ เกิดมะเร็ง (carcinogenicity) หรือเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม (mutagenicity) เป็นต้น

3.6                   เมื่อมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายเกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้

3.6.1                   สอบถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ชื่อผู้ป่วย ปริมาณที่ได้รับ วิธีที่ได้รับ ระยะเวลาที่ได้รับ อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นและข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น การดื่มสุราหรือรับประทานยาใดมาบ้าง

3.6.2                   ค้นหาภาชนะบรรจุ ฉลาดและอุปกรณ์ที่ใช้ฉีดพ่นวัตถุอันตราย ร่องรอยที่หกรดบนพื้นหรือเสื้อผ้าและการชำรุดของเครื่องมือที่ใช้

3.6.3                   ดมกลิ่น สังเกตดูว่ามีกลิ่นผิดปกติหรือไม่

3.7                   การปฐมพยาบาล

เมื่อมีผู้ได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะ ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันทีก่อนนำส่งแพทย์ ดังนี้

3.7.1                   จับชีพจรของผู้ป่วย ถ้าจับชีพจรไม่ได้ หรือไม่ได้ยินเสียงหัวใจเต้นให้ทำการนวดหัวใจเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้ แต่ถ้าหยุดหายใจให้ทำการผายปอดโดยต้องเอาฟันปลอมหรือวัสดุที่ติดค้างในปากและลำคอออกก่อน (ถ้ามี) แล้วให้ผู้ป่วยนอนคว่ำหน้าและเอียงศีรษะไปทางใดทางหนึ่ง ให้หัวต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย หากใช้วิธีปากต่อปากหรือปากต่อจมูก ให้ใช้ผ้าบางๆ กั้น ถ้าผู้ป่วยชักให้คลายเสื้อผ้าให้หลวม สอดผ้าหนาๆ ระหว่างฉันเพื่อป้องกันผู้ป่วยกัดลิ้นตัวเอง

3.7.2                   หากผู้ป่วยกลืนกินวัตถุอันตรายเข้าไป ให้ปฏิบัติดังนี้

3.7.2.1                    ต้องทำให้อาเจียน โดย

-          ให้ดื่มน้ำสะอาด 2 แก้ว แล้วใช้นิ้วมือล้วงคอหากยังไม่อาเจียนให้ทำตามข้อต่อไป

-          ให้รับประทานน้ำเชื่อมไอปีแคค (syrup of Ipecac) 2 - 3 ช้อนชาสำหรับเด็กและ 1 - 2 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ ดื่มน้ำตามอีก 1 แก้ว (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) รับประทานซ้ำหลังจากให้ยาครั้งแรก 15 - 30 นาที ถ้ายังไม่อาเจียน

3.7.2.2                    ทำการลดการดูดซึมของวัตถุอันตรายในระบบทางเดินอาหาร โดยให้รับประทานผงถ่านแอคติเวเต็ดชาร์โคล 2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ ¼ แก้ว หรือไข่ขาวดิบ จำนวน 4 ฟอง สำหรับเด็กและ 8 สองสำหรับผู้ใหญ่ ห้าม ให้กินนมหรือไขมันจากพืชและสัตว์ ถ้ากินวัตถุอันตรายกลุ่มออร์กาโนคลอรรีน เช่น ดีลดริน อัลดริน ลินเดน และกลุ่มคาร์บาเมต ห้ามทำให้อาเจียน ถ้าผู้ป่วยหมดสติหรือสงสัยว่าได้รับประทานกรดหรือด่างเข้มข้น (ให้สังเกตที่ปากและลำคอจะมีรอยไหม้) น้ำมันก๊าด และผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือตั้งครรภ์ จากนั้นให้รบนำส่งแพทย์เพื่อทำกาล้างท้อง

หมายเหตุ การใช้น้ำเชื่อมไอปีแคคกับผงถ่านแอคติเวเต็ดชาร์โคลร่วมกันนั้น ต้องให้น้ำเชื่อมไอปีแคคก่อนจนอาเจียนออกหมดแล้วจึงให้ผงถ่าน เพื่อดูดซึมพิษที่ยังหลงเหลืออยู่ ห้ามให้พร้อมกันเนื่องจากผงถ่านจะไปดูดซับน้ำเชื่อมไอปีแคค

3.7.3                   ถ้าผู้ป่วยได้รับพิษจากวัตถุอันตรายทางการสูดดม ให้ปฏิบัติดังนี้

3.7.3.1                    ถ้าผู้ป่วยอยู่ในที่ที่ไม่มีอากาศถ่ายเท ผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือต้องมีเครื่องป้องกันตนเอง เช่น เครื่องช่วยหายใจหรือหน้ากากป้องกันสารพิษ

3.7.3.2                    รีบนำผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ทันที

3.7.3.3                    คลายเสื้อผ้าให้หลวม

3.7.3.4                    ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยรู้สึกร้อนให้เช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกหนาวให้ห่มผ้า

3.7.3.5                    อย่าให้ผู้ป่วยดื่มสุรา

3.7.4                   ถ้าผู้ป่วยได้รับพิษจากวัตถุอันตรายทางผิวหนัง ให้ปฏิบัติดังนี้

3.7.4.1                    รีบถอดเสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อนวัตถุอันตรายออก

3.7.4.2                    รีบล้างทำความสะอาดผิวหนัง ผมและเจ็บด้วยน้ำและสบู่ อย่าขัดถูผิวหนังเพราะอาจทำให้สารพิษดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย

3.7.4.3                    เช็ดตัวผู้ป่วยให้แห้งและทำร่างกายให้อบอุ่น

3.7.4.4                    ถ้าผิวหนังไหม้เนื่องจากวัตถุอันตราย ให้ใช้ผ้าบางๆ นุ่มๆ และสะอาดคลุมผิวไว้อย่าใช้ยาใดๆ ทาแผล

3.7.5                   ถ้าวัตถุอันตรายเข้าตา ให้รบล้างตาทันทีโดยเปิดเปลือกตาแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจนอาการระคายเคืองทุเลา (อย่าใช้น้ำยาล้างตา) แล้วรีบนำส่งแพทย์

3.8                   ข้อควรระวังและการป้องกันการเกิดพิษจากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

3.8.1                   เลือกใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายให้ถูกต้องกับอุปกรณ์หรือเครื่องมือ

3.8.2                   ผู้ใช้จะต้องสวมชุดปฏิบัติการที่เหมาะสม

3.8.3                   หลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุอันตรายนั้น หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรทำงานไม่เกินเวลาที่กำหนด ล้างผิวหนังที่สัมผัสกับวัตถุอันตรายบ่อยๆ ระหว่างการทำงานและให้ซักเสื้อผ้า และอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยๆ

3.8.4                   ต้องเรียนรู้เทคนิคของเครื่องมือที่ใช้

3.8.5                   ต้องเปิดภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายด้วยความระมัดระวัง อย่าใช้ปากเปิด

3.8.6                   เทวัตถุอันตรายที่เข้มข้นออกจากภาชนะด้วยความระมัดระวัง

3.8.7                   ผสมวัตถุอันตรายภายนอกอาคารหรือบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก

3.8.8                   ขณะฉีดพ่นวัตถุอันตรายต้องอยู่เหนือลม

3.8.9                   ระวังอย่าให้วัตถุอันตรายสัมผัสผิวหนัง กรณีที่สัมผัสให้ล้างออกทันที

3.8.10            อย่าให้เด็กและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่เก็บ และสถานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ วัตถุอันตราย

3.8.11            อย่าเก็บวัตถุอันตรายร่วมกับอาหารและเครื่องดื่มเพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้

หลักสูตรการอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพี่อใช้รับจ้าง 143

3.8.12            อย่ารับประทานอาหาร ดื่มน้ำหรือสูบบุหรี่ขณะปฏิบัติงาน

3.8.13            อย่านำภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่เหลือทิ้งมาบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม

3.8.14            ต้องเก็บภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายในที่ที่เหมาะสม

3.8.15            อย่าถ่ายเทวัตถุอันตรายใส่ภาชนะบรรจุอื่นๆ ที่ไม่มีฉลาก

3.8.16            อ่านฉลากก่อนใช้เพราะฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้สามารถศึกษารายละเอียดต่างๆ ได้

บัญญัติ 10 ประการในการใช้วัตถุอันตรายให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด

  1. 1. สำรวจสถานที่ก่อนและภายหลังการทำบริการ
  2. 2. เลือกใช้วัตถุอันตรายให้เหมาะสมกับปัญหาและระดับการระบาด
  3. 3. เลือกใช้ชนิดและรูปแบบของวัตถุอันตรายให้เหมาะสมกับสถานที่รับบริการ
  4. 4. ผสมวัตถุอันตรายในอัตราส่วนความเข้มข้นที่เหมาะสมหรือตามที่แนะนำบนฉลากข้างบรรจุผลิตภัณฑ์
  5. 5. ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับรูปแบบของวัตถุอันตรายและใช้ให้ถูกวิธี
  6. 6. ประสานงานกับฝ่ายผู้รับบริการ ให้ทราบถึงแผนการปฏิบัติงานและแนะนำวิธีการเก็บการเตรียมสถานที่ เช่น แผ่นปลิวที่มีข้อความดังนี้ “ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการรับบริการกำจัด.....” เป็นต้น ให้กับฝ่ายผู้รับบริการเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า
  7. 7. ระวังการปนเปื้อนของวัตถุอันตรายในภาชนะอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้ฉีดพ่นวัตถุอันตรายลงบนพื้นที่เป้าหมายเท่านั้น
  8. 8. ประเมินผลหลังการทำบริการว่าปริมาณแมลงและสัตว์ฟันแทะที่ต้องการกำจัด ลดลงหรือไม่ เพียงใด พร้อมทำรายงานให้กับผู้รับบริการทราบ กรณีที่ได้มีการตกลงกันไว้
  9. 9. ไม่ควรใช้วัตถุอันตรายเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือตัวใดตัวหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาการสร้างความต้านทานต่อวัตถุอันตรายนั้น
  10. 10. ทบทวน ปรับปรุง แก้ไขขั้นตอน วิธีการและแนวทางการจัดการให้ดียิ่งขึ้น

 

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง