บทความตัวเรือดภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม + เมื่อเจอปัญหา

Picture

ตัวเรือดภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

มติชน ฉบับวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557
          สมัยนี้ น้อยคนนักที่จะรู้จัก "ตัวเรือด" (bed bug) แมลงตัวจิ๋วสีน้ำตาลแดง ขนาดตัวประมาณเดียวกับเห็บเหา ที่ชอบซุกอาศัยอยู่ซอกหลืบของเบาะ ฟูก ที่นอน เพื่อรอคอยกัดกินเลือดมนุษย์ในยามค่ำคืน และคงไม่มีใครรู้ว่าแมลงชนิดนี้กำลังจะเป็นตัวก่อปัญหาด้านสุขภาพ
          ดังนั้นการรู้จักตัวเรือดและวิธีการจัดการที่ถูกต้อง ปลอดภัย และได้ผล อย่างยั่งยืน จึงมีความสำคัญอย่างมาก
          ดร.อุษาวดี ถาวระ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกีฏวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลในวงสัมมนาเกี่ยวกับตัวเรือด ที่บริษัท คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ตัวเรือดเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เพราะตัวเรือดสามารถแพร่ขยายพันธุ์และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว และมักซ่อนตัวอยู่ตามที่นอน ซอกเตียง เก้าอี้ พื้นกระดาน และรอยแตกของอาคาร โดยเฉพาะตามที่สาธารณะ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ ค่ายทหาร โรงเรียน ในรถไฟและรถยนต์ หรือแม้แต่บนเครื่องบิน ฯลฯ
          ดร.อุษาวดีบอกว่า ในต่างประเทศมีรายงานการพบตัวเรือดมากขึ้นในหลายทวีป เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ส่วนในประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาตัวเรือดในโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ ในแหล่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พบว่าในระยะ 2-3 ปี ยังคงตรวจพบตัวเรือดอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่ตัวเรือดมักจะติดมากับเสื้อผ้าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้าพักในโรงแรม จึงอาจมีการขยายพันธุ์ อาศัย และซ่อนตัววางไข่อยู่ตามร่องไม้หัวเตียง ใต้ที่นอน ตามขอบหรือตะเข็บที่นอน
          "ตัวเรือดเป็นแมลงที่ดูดกินเลือดของสัตว์เลือดอุ่น โดยใช้ปากเจาะทะลุชั้นผิวหนัง มักอาศัยอยู่ตามเตียงนอนและตามเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ ดูดกินเลือดมนุษย์ในเวลากลางคืน โดยเฉพาะช่วงนอนหลับ (Nocturnal Feeding Insect) อาศัยอยู่คู่กับอารยธรรมมนุษย์มาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่ยุคมนุษย์หินในถ้ำ ถือได้ว่าตัวเรือดเป็นคู่นอนที่มีวิวัฒนาการมาคู่กับมนุษย์และมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ สูง อยู่ได้ทั้งที่ร้อนหรือเย็น สามารถอดอาหารได้นานกว่า 3 เดือน โดยไม่ต้องอาศัยเลือดจากมนุษย์เลย" ดร.อุษาวดีกล่าว และว่า แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าตัวเรือดสามารถส่งต่อหรือแพร่กระจายเชื้อโรคได้ แต่ในตัวเรือดสามารถเป็นแหล่งอาศัยของไวรัสที่เป็นอันตรายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) หรือเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เป็นต้น และการถูกตัวเรือดกัดดูดเลือดยังสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้
          ทางด้าน ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการกำจัดตัวเรือดในประเทศไทย ให้ข้อมูลเสริมว่า ตัวเรือดจะมีขนาดใกล้เคียงกับเห็บสุนัข ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มี 2 ชนิด คือ 1.ตัวเรือดเขตร้อน "ไซเม็ก เฮมิพเทอรัส" พบในประเทศไทยและประเทศในเขตร้อน 2.ตัวเรือดเขตอบอุ่นและเขตหนาว "ไซเม็ก เลคทูลาเรียส" พบในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อเมริกา อีกหลายประเทศในยุโรป ทั้งนี้ ตัวเรือดไซเม็ก เลคทูลาเรียส จะสามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลก ไม่ได้จำกัดเฉพาะเขตหนาวเท่านั้น ส่วนตัวเรือดเขตร้อนจะพบได้เฉพาะเขตร้อนเท่านั้น
          "เดิมประเทศไทยมีเฉพาะตัวเรือดเขตร้อนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีทั้ง 2 ชนิด เนื่องจากตัวเรือดเขตร้อนที่กลับมาแพร่ระบาดอีก หลังจากหายสาบสูญไปเพราะมีความต้านทานต่อสารเคมี ส่วนตัวเรือดเขตอบอุ่นและเขตหนาวที่เข้ามาประเทศไทยจะติดมากับเสื้อผ้าและกระเป๋านักท่องเที่ยว ที่ปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมใช้กระเป๋าผ้า ตัวเรือดก็เกาะติดเข้ามา หรือนักท่องเที่ยวบางคนไม่ชอบอาบน้ำ ตัวเรือดก็จะติดเสื้อผ้าเข้ามา โดยตัวเรือดที่ระบาดในประเทศไทยจะจำกัดอยู่เฉพาะโรงแรม แต่บางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ระบาดไปตามบ้านเรือนแล้ว" ดร.อภิวัฏกล่าว และว่า แม้จะมีตัวเรือดเพียง 1 ตัว ถ้ามันผสมพันธุ์มาแล้วจะออกลูกได้หลายร้อยตัว ที่สำคัญไม่ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะสะอาดแค่ไหนก็สามารถอยู่ได้ และการนำที่นอนไปผึ่งแดดก็ไม่ได้ทำให้ตัวเรือดตาย
          ดร.อภิวัฏกล่าวอีกว่า ขณะนี้ตัวเรือดได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะจากการไปสุ่มตรวจโรงแรมในพื้นที่ท่องเที่ยวทั้งกรุงเทพมหานคร จ.เชียงใหม่ จ.ภูเก็ต ล่าสุดก็ยังพบตัวเรือดอยู่ แต่คณะผู้วิจัยได้ช่วยกันกำจัดให้ จนถึงขณะนี้ยังมีโรงแรมหลายแห่งติดต่อขอคำปรึกษาให้ช่วยกำจัดตัวเรือดอยู่เรื่อยๆ
          ดังนั้นนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางที่ใช้บริการโรงแรม ที่พักเป็นประจำ ควรฝึกสังเกตห้องพักหรือเตียงนอนในโรงแรม ทั้งเกสต์เฮาส์ จนถึงโรงแรมระดับห้าดาว หลังจากเช็ก อินเข้าห้องควรเปิดดูใต้ที่นอนทันที ถ้าตะเข็บที่นอนข้างล่างมีจุดแดงๆ หรือดำๆ เหมือนกับเลือด แสดงว่าห้องนั้นมีตัวเรือด เพราะจุดดังกล่าวคือมูลของตัวเรือด หรือหากพบเม็ดลักษณะรีๆ สีขาว ตามตะเข็บที่นอน แสดงว่าเป็นไข่ของตัวเรือด ควรแจ้งพนักงานขอเปลี่ยนห้องใหม่

ตัวอย่างรอยกัด Bedbug

Picture
Picture

ขอบฟูกที่มักอาศัย

Picture
Picture
Picture

เมื่อเจอปัญหาตัวเรือดควรทำอย่างไร

ตัวเรือดเป็นแมลงที่สามารถกำจัดได้ยาก จึงต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยและประสิทธิภาพของการกำจัด และผู้เชี่ยวชาญในการทำดูแล  โดยจะใช้ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นเพื่อกวาดล้างตัวเรือดจากพื้นที่ โดยจุดที่ต้องการความสำคัญได้แก่

1. ฟูกหากไม่สามารถนำไปเผาทำลาย  ต้องทำการฉีดผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะตามขอบตะเข็บที่นอนที่ตัวรวดชอบอาศัย
2. หัวเตียง หากเป็น Build-in อาจจะต้องทำการรื้อออกเพื่อฉีดเพราะเป็นแหล่งหลบซ่อน
3. ผ้าม่าน พรมและวัสดุที่ตัวรวดสามารถหลบซ่อน
4. พื้นที่โดยรอบ

โดยควรปิดการใช้ห้องเป็นเวลา 2-3 วัน  หลังจากนั้นควรมีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเดือนเว้นเดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แน่ใจว่าปัญหาได้หมดไป



"
ในประเทศไทย เทมพริด เอสซี เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการกำจัดตัวเรือด จาก อ.ย. และในปัจจุบันฉลากของเทมพริด เอสซี ได้ครอบคลุมการกำจัดแมลงถึง 7 ชนิดแล้ว ได้แก่ เรือด แมลงสาบ มด แมลงวัน ยุง และ แน่นอน เห็บ และ หมัด ยิ่งไปกว่านั้นคือ เทมพริด เอสซี เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก HACCP International ให้ใช้ในการจัดการแมลงศัตรูรบกวนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารและเครื่องดื่มตาม HACCP based Food Safety Programme
คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณมากไปกว่านี้ นอกจากลองใช้ด้วยตัวท่านเอง
“ให้บริการอย่างมืออาชีพ ด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพจากไบเออร์”   "



http://www.environmentalscience.bayer.co.th/Pest-Management/Tips-and-Tools/Click-Click-News/Temprid-SC

http://www.environmentalscience.bayer.co.th/Pest-Management/Products/Temprid
Picture

แสดงความคิดเห็นตรงนี้

email ของคุณจะไม่แสดง กรุณากรอกข้อมูลใน ช่อง* ให้ครบถ้วนก่อนโพส