1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแมลงสาบ
แมลงสาบมีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิต (life cycle) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg) , ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) ซึ่งตัวอ่อนนี้จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย โดยตัวอ่อนระยะแรกที่ออกจากไข่จะยังไม่มีปีก เมื่อผ่านการลอกคราบ 2-3 ครั้งจะเริ่มมีปีกและอวัยวะสืบพันธุ์ค่อย ๆ เจริฐเติบโตขึ้นจนเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกเจริญเต็มที่และอวัยวะสืบพันธุ์สมบูรณ์
ไข่ของแมลงสาบมีปลอกหุ้มเรียกว่า ฝักไข่ (ootheca) มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแดง จำนวนของไข่ในแต่ละฝักจะแตกต่างกันในแต่ละชนิดของแมลงสาบ โดยทั่วไปจะมีประมาณฝักละ 16-30 ฟอง แมลงสาบสามารถวางไข่ได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-8 ชุด แต่บางชนิดอาจวางไข่ได้มากถึง 90 ชุด แมลงสาบบางชนิดจะนำฝักไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงจะปล่อยออกจากลำตัว ลักษณะในการวางไข่ของแมลงสาบแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แมลงสาบชอบวางไข่ในตู้ทึบ ลิ้นชักหรือกล่องกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจวางไข่อยู่ตามซอกหรือมุมห้อง ซึ่งบางครั้งอาจจะวางไข่ติดกับฝาผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้ด้วย ไข่ของแมลงสาบจะฟักภายในระยะเวลา 1-3 เดือน
ตัวอ่อนของแมลงสาบที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวและไม่มีปีก เมื่ออายุได้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น ซึ่งการลอกคราบนี้จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยนั้นแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของแมลงสาบ
แมลงสาบตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนรีเป็นรูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1-8 เซนติเมตร มีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้มหรือสีเขียวก็ได้ โดยทั่วไปแมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวของแมลงสาบมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้านสวนด้านล่างเรียวลง และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็ก ๆ เชื่อมอยู่ แมลงสาบอาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ โดยปกติพวกที่มีปีกเจริญดีจะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งกว่าปีกคู่หลัง ทั้งนี้ปีกคู่หลังซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ จะซ้อนทับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ปีกของแมลงสาบจะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตามแมลงสาบบางชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้นก็ได้ ถึงแม้ว่าแมลงสาบจะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่าทั้งนี้จะบินในกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น
แมลงสาบมีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขาของแมลงสาบนั้นมีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้แมลงสาบวิ่งได้เร็วมาก แมลงสาบมีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ ซึ่งมีขนเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่รอบ ๆ หนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบกัดเคี้ยว แมลงสาบสามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษ หรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบมีนิสัยชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ก็มีแมลงสาบบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน
แมลงสาบมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น แต่ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะติดไปกับสินค้าจำพวกหีบห่อหรือลังไม้ที่ขนส่งไปทางเรือหรือรถบรรทุก อย่างไรก็ตามยังคงพบแมลงสาบในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนมากกว่าพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น โดยทั่วไปแมลงสาบชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ท่อระบายน้ำ ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ห้องครัวในโรงพยาบาลหรือโรงแรม โกดังเก็บสินค้าทางการเกษตรหรือกระดาษ เป็นต้น แมลงสาบชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มืด อบอุ่น และมีความชื้นสูง ถ้าเราพบเห็นแมลงสาบแม้เพียงเล็กน้อยในเวลากลางวันแสดงว่าพื้นที่นั้นแมลงสาบชุกชุม นอกจากนั้นการที่จะดูว่าแมลงสาบมีความชุกชุมหรือไม่ ยังสังเกตได้จากการพบซากของแมลงสาบที่ตายแล้ว คราบที่ลอกเมื่อแมลงสาบมีการเปลี่ยนวัย ฝักไข่ที่ฟักแล้วรวมทั้งมูลของแมลงสาบ
2. แมลงสาบที่พบได้ในบ้านเรือนในประเทศไทย
จากผลการสำรวจของ Asahina and Hasegawa (1981) , Asahina (1983) , สุวัฒนา
จึงวิวัฒนาภรณ์ (2527) และ Towatsin et al. (2001) สรุปได้ว่าแมลงสาบที่พบได้ในบ้านเรือนในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันนี้ มีทั้งสิ้น 12 ชนิด คือ
2.1 Periplaneta Americana หรือแมลงสาบอเมริกัน (American cockroach)
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในบ้านเรือน ลำตัวสีน้ำตาลแดงมันวาวบน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลืองซึ่งอาจเต็มวงหรือมีเพียงครึ่งวงก็ได้ ส่วนรอบ ๆ นอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 33-40 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 30-35 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งปีกและไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก
แมลงสาบอเมริกันเป็นแมลงสาบที่พบมากตามท่อระบายน้ำ ซึ่งทำให้แมลงสาบชนิดนี้แพร่กระจายไปยังที่พักอาศัยอื่น ๆ ได้ดี รวมทั้งสามารถพบได้ตามบริเวณ ห้องน้ำ ในครัว ตู้กับข้าว ห้องเก็บของ กล่องกระดาษที่ใช้เก็บวัสดุสิ่งของ ตู้หนังสือ ลิ้นชัก และใต้ฝ้าเพดาน เป็นต้น การควบคุมแมลงสาบชนิดนี้ในท่อระบายน้ำจะสามารถลดความชุกชุมของแมลงสาบชนิดนี้ลงได้
2.2 Periplaneta brunnea หรือ Large brown cockroach
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาบอเมริกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับแมลงสาบอเมริกันแต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงคล้ำ บน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลือง แต่วงเส้นสีเหลืองนี้ค่อนข้างพร่ามัวไม่ค่อยชัดเจนเหมือนของแมลงสาบอเมริกัน อาจเห็นเป็นเพียงรูปส้อมอยู่บนขอบหลังของ pronotum ส่วนรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 30-37 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 28-35 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยางถึงปลายของส่วนท้อง
ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งปีกและไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก โดยมากมักพบแมลงสาบชนิดนี้ได้ทั่วไปในบ้านเรือนเช่นเดียวกับแมลงสาบอเมริกัน บางครั้งอาจพบแมลงสาบชนิดนี้กัดกระดาษ ผ้า สิ่งปรักหักพังที่ทับถมอยู่เพื่อนำมาปกคลุมหรือซ่อนฝักไข่ไว้
2.3 Periplaneta australasiae หรือแมลงสาบออสเตรเลีย (Australian cockroach)
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาบอเมริกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปก็คล้ายกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มกว่าและปีกมีแถบสีเหลืองอ่อนบริเวณขอบปีกข้างละ 1 แถบ ซึ่งแถบนี้จะยาวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปีก ลักษณะคล้ายสายสะพายเป้ บน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลืองเด่นชัดและรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง ตัวผู้ยาว 30-33 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 28-31 มิลลิเมตร แมลงสาบออสเตรเลียชอบสภาพแวดล้อมคล้าย ๆ กับแมลงสาบอมเริกัน แต่ก็อาจพบแมลงสาบชนิดนี้บริเวณนอกบ้านได้บ้าง เช่น ตามโรงเรือนเพาะชำต้นไม้ โดยเข้ามากัดกินต้นไม้ในโรงเรือน
2.4 Periplaneta fuliginosa หรือ Smokybrown cockroach
เป็นแมลงสาบที่มีลักษณะใกล้เคียงกับแมลงอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลเข้มมันวาวทั้งตัวผู้และตัวเมีย ยาวประมาณ 30-34 มิลลิเมตร หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวคลุมถึงปลายของส่วนท้อง แมลงสาบชนิดนี้พบมากในสหรัฐอมเริกา หลายประเทศในทวีปยุโรป ญี่ปุ่น และจีน โดยมีนิสัยชอบบินตอมแสงไฟในเวลากลางคืน อาจพบได้ทั่วไปในโรงเก็บรถ กองไม้ และอาจเป็นแมลงศัตรูในโรงเรือนเพาะชำได้ด้วย เพิ่งจะมีรายงานการสำรวจพบแมลงสาบชนิดนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2544 (Tawatsin et al., 2001) โดยสำรวจพบที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งพบได้ทั้งในและนอกบ้าน บริเวณในบ้านที่สำรวจพบคือ ห้องนอนและห้องครัว
2.5 Blattella germanica หรือแมลงสาบเยอรมัน (German cockroach)
เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 11-13 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 11-15 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีปีกอาจยาวหรือสั้นกว่าส่วนท้องเล็กน้อย มีแถบสีดำอยู่ระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวสีน้ำตาลซีดแต่เป็นประกาย ขามีสีอ่อนกว่าลำตัว pronotum มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีดำ 2 แถบ พาดขนานตามแนวยาวของลำตัวในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบเยอรมันได้ในห้องครัว ชั้นวางของ ลิ้นชัก ซอกโต๊ะ หรือกล่องเก็บของ เป็นต้น ในช่วงเวลากลางวันจะพบหลบซ่อนตามพื้นที่ที่เข้าไม่ถึง เช่น พื้นที่ระหว่างอ่างน้ำและผนัง ถ้ามีความชุกชุมมากจะพบได้บนเพดานและช่องว่างระหว่างผนังห้อง นอกจากนั้นยังพบได้ตามรอยแตกของทางเดินสนามหญ้าพุ้มไม้ และในถังขยะ
2.6 Neostylopyga rhombifolia หรือ Harlequin cockroach
ชาวบ้านบางพื้นที่เรียกแมลงสาบผี เป็นแมลงสาบที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 18-26 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 22-31 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศปีกเห็นเป็นเพียงเกล็ดปีกและมีเฉพาะปีกหน้า pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด รอบ ๆ สองจุดนี้เป็นสีเหลือง ส่วนรอบนอกสุดของ pronotum เป็นสีดำ ลำตัวเป็นลวดลายสวยงามสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำสลับสีเหลือง ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบชนิดนี้มาก ในกล่องกระดาษหรือภาชนะที่ใช้เก็บวัสดุสิ่งของต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบได้ในห้องครัว ตู้กับข้าว หรือตู้เก็บของ ในต่างประเทศมีรายงานการพบแมลงสาบชนิดนี้ตามไร่ของพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ไร่มะเขือเทศ
2.7 Nauphoeta cinerea หรือ Lobster cockroach
เป็นแมลงสาบขนาดปานกลาง ลักษณะอ้วนเตี้ย ส่วนท้องค่อนข้างอ้วนกลม ขาสั้น หนวดสั้นกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 22-28 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 22-33 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีสีน้ำตาลหม่น โดยปีกจะสั้นกว่าส่วนท้องแต่ยาวกว่าครึ่งหนึ่งของส่วนท้อง ลำตัวสีน้ำตาลหม่นออกเทา pronotum มีลวดลายขยุกขยิกสีน้ำตาล ขอบทั้งสองข้างของ pronotum มีแถบสีขาวอยู่นอกสุดและถัดเข้ามาเป็นแถบสีดำ ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบชนิดนี้มากบริเวณพื้นครัว ในตู้เก็บของในห้องครัว กล่องเก็บวัสดุหรืออาหารแห้ง
2.8 Supella longipalpa หรือ Brown-banded cockroach
เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก มีหนวดเรียวยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 12-14 มิลลิเตร ตัวเมียยาว 9-13 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดี ปีกของตัวผู้จะเรียวยาว ปกคลุมส่วนท้องทั้งหมด ปีกของตัวเมียจะสั้นและกลมกว่าของตัวผู้ ขอบปีกหน้ามีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดตามแนวขวางสองแถบ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม pronotum มีสีดำเป็นรูปคล้ายระฆังอยู่ตรงกลาง ขอบด้านข้างทั้งสองของ pronotum เป็นสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากจะพบแมลงสาบชนิดนี้ในบ้านได้ตามกล่องเก็บของ ตู้เก็บเอกสาร ตู้เสื้อผ้า หลังกรอบรูป ลิ้นชัก ใต้หรือหลังเฟอร์นิเจอร์ โดยไม่ค่อยพบในครัว ชอบวางไข่ตามขอบหรือภายในตู้เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ บางคนจึงเรียกแมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ (furniture cockroach)
2.9 Pycnoscelus Indicus หรือ Burrowing cockroach หรือแมลงแกลบ
เป็นแมลงสาบที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับแมลงสาบสุรินัม ตัวผู้ยาว 17-23 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 16-24 มิลลิเมตร หนวดสั้นกว่าลำตัว ปีกเจริญดีมีสีน้ำตาลอ่อนตัดกับสีดำของลำตัว pronotum มีสีดำและขอบด้านหน้าถึงด้านข้างมีแถบสีขาวหรือสีครีม หรืออาจจะมีแถบสีนี้เฉพาะที่ด้านหน้าเท่านั้นก็ได้ ขอบหลังของ pronotum เป็นมุมแหลมมน แมลงสาบชนิดนี้มีรายงานการสำรวจพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพียงครั้งเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2527 (สุวัฒน์ จึงวิวัฒนาภรณ์. 2527) มักพบแมลงสาบชนิดนี้ในบริเวณที่ค่อนข้างชื้นหรือมีดิน เช่น ใต้กระถางต้นไม้ ถังขยะ หรือใต้แผ่นไม้ เป็นต้น
2.10 แมลงสายมาดากัสการ์ เป็นแมลงสาบที่ไม่พบในประเทศไทย แต่เริ่มเป็น ที่สนใจเนื่องจากมีผู้ลักลอบนำเข้มาเพื่อเลี้ยงขายเป็นสัตว์เลี้ยงแปลก ๆ หรือเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ เช่น ปลา ไก่
แมลงสาบมาดากัสการ์ (Madagascan giant hissing cockroach) เป็นแมลงสาบที่อยู่ในวงศ์ Blattidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gromphadorhina portentosa มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะมาดากัสการ์ แถบชายฝั่งของทวีปอัฟริกา เป็นแมลงสาบตัวโต มีขนาดความยาว 2-3 นิ้ว กว้าง 1.5 นิ้ว ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีปีก ตัวผู้มีเขาข้างละ 1 อันที่ด้านข้างของอกปล้องแรกและจะมีความว่องไวกว่าเพศเมีย วงจรชีวิตเหมือนกับแมลงสาบทั่วไปคือประกอบด้วยระยะไข่ ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 6-7 เดือน ออกลูกเป็นตัวจากฝักไข่ที่อยู่ในตัวแม่ โดยตัวอ่อนใช้เวลาเจริญเติบโตอยู่ในตัวแม่ 60-70 วัน ตัวเมียสามารถออกลูกได้ 3-4 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งจะออกลูกประมาณ 20-40 ตัว ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ตัวเล็กกว่า และจะลอกคราบ 6 ครั้ง ใช้เวลา 6-7 เดือน จึงเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวัยมีอายุอยู่ได้ 2-5 ปี ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ปกติโดยทั่วไปแมลงสาบมาดากัสการ์อาศัยอยู่ในป่าตามพื้นดินและพืชรก ๆ เวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามใต้ขอนไม้หรือท่อนซุงผุ ๆ และออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินเศษใบไม้ และผลไม้ที่หล่นตามพื้นดิน
จากการศึกษาของศูนย์ WHO Salmonella and Shigella Center กรมวิทยา
ศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิด คือ Salmonella albany, Vibrio parahaemolyticus, และ Bacillus cereus นอกจากนั้นยังพบตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด และไข่ของพยาธิตัวจี๊ดในแมลงสาบมาดากัสการ์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้าในประเทศไทย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงไม่นำสัตว์แปลก ๆ เข้ามาในประเทศ
แมลงสาบมีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิต (life cycle) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg) , ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) ซึ่งตัวอ่อนนี้จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย โดยตัวอ่อนระยะแรกที่ออกจากไข่จะยังไม่มีปีก เมื่อผ่านการลอกคราบ 2-3 ครั้งจะเริ่มมีปีกและอวัยวะสืบพันธุ์ค่อย ๆ เจริฐเติบโตขึ้นจนเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกเจริญเต็มที่และอวัยวะสืบพันธุ์สมบูรณ์
ไข่ของแมลงสาบมีปลอกหุ้มเรียกว่า ฝักไข่ (ootheca) มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ส่วนมากมีสีน้ำตาลแดง จำนวนของไข่ในแต่ละฝักจะแตกต่างกันในแต่ละชนิดของแมลงสาบ โดยทั่วไปจะมีประมาณฝักละ 16-30 ฟอง แมลงสาบสามารถวางไข่ได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-8 ชุด แต่บางชนิดอาจวางไข่ได้มากถึง 90 ชุด แมลงสาบบางชนิดจะนำฝักไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงจะปล่อยออกจากลำตัว ลักษณะในการวางไข่ของแมลงสาบแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แมลงสาบชอบวางไข่ในตู้ทึบ ลิ้นชักหรือกล่องกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจวางไข่อยู่ตามซอกหรือมุมห้อง ซึ่งบางครั้งอาจจะวางไข่ติดกับฝาผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้ด้วย ไข่ของแมลงสาบจะฟักภายในระยะเวลา 1-3 เดือน
ตัวอ่อนของแมลงสาบที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีขาวและไม่มีปีก เมื่ออายุได้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น ซึ่งการลอกคราบนี้จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยนั้นแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของแมลงสาบ
แมลงสาบตัวเต็มวัยมีลำตัวแบนรีเป็นรูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1-8 เซนติเมตร มีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้มหรือสีเขียวก็ได้ โดยทั่วไปแมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวของแมลงสาบมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้านสวนด้านล่างเรียวลง และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็ก ๆ เชื่อมอยู่ แมลงสาบอาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ โดยปกติพวกที่มีปีกเจริญดีจะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งกว่าปีกคู่หลัง ทั้งนี้ปีกคู่หลังซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ จะซ้อนทับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ปีกของแมลงสาบจะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตามแมลงสาบบางชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้นก็ได้ ถึงแม้ว่าแมลงสาบจะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่าทั้งนี้จะบินในกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น
แมลงสาบมีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขาของแมลงสาบนั้นมีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้แมลงสาบวิ่งได้เร็วมาก แมลงสาบมีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ ซึ่งมีขนเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่รอบ ๆ หนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบกัดเคี้ยว แมลงสาบสามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษ หรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบมีนิสัยชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ก็มีแมลงสาบบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน
แมลงสาบมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น แต่ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะติดไปกับสินค้าจำพวกหีบห่อหรือลังไม้ที่ขนส่งไปทางเรือหรือรถบรรทุก อย่างไรก็ตามยังคงพบแมลงสาบในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนมากกว่าพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น โดยทั่วไปแมลงสาบชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ท่อระบายน้ำ ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ห้องครัวในโรงพยาบาลหรือโรงแรม โกดังเก็บสินค้าทางการเกษตรหรือกระดาษ เป็นต้น แมลงสาบชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มืด อบอุ่น และมีความชื้นสูง ถ้าเราพบเห็นแมลงสาบแม้เพียงเล็กน้อยในเวลากลางวันแสดงว่าพื้นที่นั้นแมลงสาบชุกชุม นอกจากนั้นการที่จะดูว่าแมลงสาบมีความชุกชุมหรือไม่ ยังสังเกตได้จากการพบซากของแมลงสาบที่ตายแล้ว คราบที่ลอกเมื่อแมลงสาบมีการเปลี่ยนวัย ฝักไข่ที่ฟักแล้วรวมทั้งมูลของแมลงสาบ
2. แมลงสาบที่พบได้ในบ้านเรือนในประเทศไทย
จากผลการสำรวจของ Asahina and Hasegawa (1981) , Asahina (1983) , สุวัฒนา
จึงวิวัฒนาภรณ์ (2527) และ Towatsin et al. (2001) สรุปได้ว่าแมลงสาบที่พบได้ในบ้านเรือนในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันนี้ มีทั้งสิ้น 12 ชนิด คือ
2.1 Periplaneta Americana หรือแมลงสาบอเมริกัน (American cockroach)
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในบ้านเรือน ลำตัวสีน้ำตาลแดงมันวาวบน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลืองซึ่งอาจเต็มวงหรือมีเพียงครึ่งวงก็ได้ ส่วนรอบ ๆ นอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 33-40 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 30-35 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งปีกและไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก
แมลงสาบอเมริกันเป็นแมลงสาบที่พบมากตามท่อระบายน้ำ ซึ่งทำให้แมลงสาบชนิดนี้แพร่กระจายไปยังที่พักอาศัยอื่น ๆ ได้ดี รวมทั้งสามารถพบได้ตามบริเวณ ห้องน้ำ ในครัว ตู้กับข้าว ห้องเก็บของ กล่องกระดาษที่ใช้เก็บวัสดุสิ่งของ ตู้หนังสือ ลิ้นชัก และใต้ฝ้าเพดาน เป็นต้น การควบคุมแมลงสาบชนิดนี้ในท่อระบายน้ำจะสามารถลดความชุกชุมของแมลงสาบชนิดนี้ลงได้
2.2 Periplaneta brunnea หรือ Large brown cockroach
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาบอเมริกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับแมลงสาบอเมริกันแต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงคล้ำ บน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลือง แต่วงเส้นสีเหลืองนี้ค่อนข้างพร่ามัวไม่ค่อยชัดเจนเหมือนของแมลงสาบอเมริกัน อาจเห็นเป็นเพียงรูปส้อมอยู่บนขอบหลังของ pronotum ส่วนรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 30-37 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 28-35 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยางถึงปลายของส่วนท้อง
ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งปีกและไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก โดยมากมักพบแมลงสาบชนิดนี้ได้ทั่วไปในบ้านเรือนเช่นเดียวกับแมลงสาบอเมริกัน บางครั้งอาจพบแมลงสาบชนิดนี้กัดกระดาษ ผ้า สิ่งปรักหักพังที่ทับถมอยู่เพื่อนำมาปกคลุมหรือซ่อนฝักไข่ไว้
2.3 Periplaneta australasiae หรือแมลงสาบออสเตรเลีย (Australian cockroach)
เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาบอเมริกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปก็คล้ายกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มกว่าและปีกมีแถบสีเหลืองอ่อนบริเวณขอบปีกข้างละ 1 แถบ ซึ่งแถบนี้จะยาวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปีก ลักษณะคล้ายสายสะพายเป้ บน pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลืองเด่นชัดและรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง ตัวผู้ยาว 30-33 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 28-31 มิลลิเมตร แมลงสาบออสเตรเลียชอบสภาพแวดล้อมคล้าย ๆ กับแมลงสาบอมเริกัน แต่ก็อาจพบแมลงสาบชนิดนี้บริเวณนอกบ้านได้บ้าง เช่น ตามโรงเรือนเพาะชำต้นไม้ โดยเข้ามากัดกินต้นไม้ในโรงเรือน
2.4 Periplaneta fuliginosa หรือ Smokybrown cockroach
เป็นแมลงสาบที่มีลักษณะใกล้เคียงกับแมลงอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลเข้มมันวาวทั้งตัวผู้และตัวเมีย ยาวประมาณ 30-34 มิลลิเมตร หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวคลุมถึงปลายของส่วนท้อง แมลงสาบชนิดนี้พบมากในสหรัฐอมเริกา หลายประเทศในทวีปยุโรป ญี่ปุ่น และจีน โดยมีนิสัยชอบบินตอมแสงไฟในเวลากลางคืน อาจพบได้ทั่วไปในโรงเก็บรถ กองไม้ และอาจเป็นแมลงศัตรูในโรงเรือนเพาะชำได้ด้วย เพิ่งจะมีรายงานการสำรวจพบแมลงสาบชนิดนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2544 (Tawatsin et al., 2001) โดยสำรวจพบที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งพบได้ทั้งในและนอกบ้าน บริเวณในบ้านที่สำรวจพบคือ ห้องนอนและห้องครัว
2.5 Blattella germanica หรือแมลงสาบเยอรมัน (German cockroach)
เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 11-13 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 11-15 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีปีกอาจยาวหรือสั้นกว่าส่วนท้องเล็กน้อย มีแถบสีดำอยู่ระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวสีน้ำตาลซีดแต่เป็นประกาย ขามีสีอ่อนกว่าลำตัว pronotum มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีดำ 2 แถบ พาดขนานตามแนวยาวของลำตัวในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบเยอรมันได้ในห้องครัว ชั้นวางของ ลิ้นชัก ซอกโต๊ะ หรือกล่องเก็บของ เป็นต้น ในช่วงเวลากลางวันจะพบหลบซ่อนตามพื้นที่ที่เข้าไม่ถึง เช่น พื้นที่ระหว่างอ่างน้ำและผนัง ถ้ามีความชุกชุมมากจะพบได้บนเพดานและช่องว่างระหว่างผนังห้อง นอกจากนั้นยังพบได้ตามรอยแตกของทางเดินสนามหญ้าพุ้มไม้ และในถังขยะ
2.6 Neostylopyga rhombifolia หรือ Harlequin cockroach
ชาวบ้านบางพื้นที่เรียกแมลงสาบผี เป็นแมลงสาบที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 18-26 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 22-31 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศปีกเห็นเป็นเพียงเกล็ดปีกและมีเฉพาะปีกหน้า pronotum มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด รอบ ๆ สองจุดนี้เป็นสีเหลือง ส่วนรอบนอกสุดของ pronotum เป็นสีดำ ลำตัวเป็นลวดลายสวยงามสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำสลับสีเหลือง ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบชนิดนี้มาก ในกล่องกระดาษหรือภาชนะที่ใช้เก็บวัสดุสิ่งของต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบได้ในห้องครัว ตู้กับข้าว หรือตู้เก็บของ ในต่างประเทศมีรายงานการพบแมลงสาบชนิดนี้ตามไร่ของพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ไร่มะเขือเทศ
2.7 Nauphoeta cinerea หรือ Lobster cockroach
เป็นแมลงสาบขนาดปานกลาง ลักษณะอ้วนเตี้ย ส่วนท้องค่อนข้างอ้วนกลม ขาสั้น หนวดสั้นกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 22-28 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 22-33 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีสีน้ำตาลหม่น โดยปีกจะสั้นกว่าส่วนท้องแต่ยาวกว่าครึ่งหนึ่งของส่วนท้อง ลำตัวสีน้ำตาลหม่นออกเทา pronotum มีลวดลายขยุกขยิกสีน้ำตาล ขอบทั้งสองข้างของ pronotum มีแถบสีขาวอยู่นอกสุดและถัดเข้ามาเป็นแถบสีดำ ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบชนิดนี้มากบริเวณพื้นครัว ในตู้เก็บของในห้องครัว กล่องเก็บวัสดุหรืออาหารแห้ง
2.8 Supella longipalpa หรือ Brown-banded cockroach
เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก มีหนวดเรียวยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 12-14 มิลลิเตร ตัวเมียยาว 9-13 มิลลิเมตร ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดี ปีกของตัวผู้จะเรียวยาว ปกคลุมส่วนท้องทั้งหมด ปีกของตัวเมียจะสั้นและกลมกว่าของตัวผู้ ขอบปีกหน้ามีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดตามแนวขวางสองแถบ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม pronotum มีสีดำเป็นรูปคล้ายระฆังอยู่ตรงกลาง ขอบด้านข้างทั้งสองของ pronotum เป็นสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากจะพบแมลงสาบชนิดนี้ในบ้านได้ตามกล่องเก็บของ ตู้เก็บเอกสาร ตู้เสื้อผ้า หลังกรอบรูป ลิ้นชัก ใต้หรือหลังเฟอร์นิเจอร์ โดยไม่ค่อยพบในครัว ชอบวางไข่ตามขอบหรือภายในตู้เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ บางคนจึงเรียกแมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ (furniture cockroach)
2.9 Pycnoscelus Indicus หรือ Burrowing cockroach หรือแมลงแกลบ
เป็นแมลงสาบที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับแมลงสาบสุรินัม ตัวผู้ยาว 17-23 มิลลิเมตร ตัวเมียยาว 16-24 มิลลิเมตร หนวดสั้นกว่าลำตัว ปีกเจริญดีมีสีน้ำตาลอ่อนตัดกับสีดำของลำตัว pronotum มีสีดำและขอบด้านหน้าถึงด้านข้างมีแถบสีขาวหรือสีครีม หรืออาจจะมีแถบสีนี้เฉพาะที่ด้านหน้าเท่านั้นก็ได้ ขอบหลังของ pronotum เป็นมุมแหลมมน แมลงสาบชนิดนี้มีรายงานการสำรวจพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพียงครั้งเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2527 (สุวัฒน์ จึงวิวัฒนาภรณ์. 2527) มักพบแมลงสาบชนิดนี้ในบริเวณที่ค่อนข้างชื้นหรือมีดิน เช่น ใต้กระถางต้นไม้ ถังขยะ หรือใต้แผ่นไม้ เป็นต้น
2.10 แมลงสายมาดากัสการ์ เป็นแมลงสาบที่ไม่พบในประเทศไทย แต่เริ่มเป็น ที่สนใจเนื่องจากมีผู้ลักลอบนำเข้มาเพื่อเลี้ยงขายเป็นสัตว์เลี้ยงแปลก ๆ หรือเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ เช่น ปลา ไก่
แมลงสาบมาดากัสการ์ (Madagascan giant hissing cockroach) เป็นแมลงสาบที่อยู่ในวงศ์ Blattidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gromphadorhina portentosa มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะมาดากัสการ์ แถบชายฝั่งของทวีปอัฟริกา เป็นแมลงสาบตัวโต มีขนาดความยาว 2-3 นิ้ว กว้าง 1.5 นิ้ว ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีปีก ตัวผู้มีเขาข้างละ 1 อันที่ด้านข้างของอกปล้องแรกและจะมีความว่องไวกว่าเพศเมีย วงจรชีวิตเหมือนกับแมลงสาบทั่วไปคือประกอบด้วยระยะไข่ ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 6-7 เดือน ออกลูกเป็นตัวจากฝักไข่ที่อยู่ในตัวแม่ โดยตัวอ่อนใช้เวลาเจริญเติบโตอยู่ในตัวแม่ 60-70 วัน ตัวเมียสามารถออกลูกได้ 3-4 ครั้งต่อปี แต่ละครั้งจะออกลูกประมาณ 20-40 ตัว ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ตัวเล็กกว่า และจะลอกคราบ 6 ครั้ง ใช้เวลา 6-7 เดือน จึงเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวัยมีอายุอยู่ได้ 2-5 ปี ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ปกติโดยทั่วไปแมลงสาบมาดากัสการ์อาศัยอยู่ในป่าตามพื้นดินและพืชรก ๆ เวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามใต้ขอนไม้หรือท่อนซุงผุ ๆ และออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินเศษใบไม้ และผลไม้ที่หล่นตามพื้นดิน
จากการศึกษาของศูนย์ WHO Salmonella and Shigella Center กรมวิทยา
ศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย 3 ชนิด คือ Salmonella albany, Vibrio parahaemolyticus, และ Bacillus cereus นอกจากนั้นยังพบตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด และไข่ของพยาธิตัวจี๊ดในแมลงสาบมาดากัสการ์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้าในประเทศไทย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงไม่นำสัตว์แปลก ๆ เข้ามาในประเทศ
แสดงความคิดเห็นตรงนี้
email ของคุณจะไม่แสดง กรุณากรอกข้อมูลใน ช่อง* ให้ครบถ้วนก่อนโพส