ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ไรฝุ่น

ไรฝุ่น (House Dust Mite) ไร คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กพบทั่วไปไม่ว่าจะเป็นในน้ำทะเล แม่น้ำ ลำคลอง ในดิน บนส่วนต่างๆ ของพืช กองอาหารสัตว์ กองฟางและผลผลิตเกษตร รวมทั้งในบ้านเรือนและแหล่งอาศัยของสัตว์ต่างๆ ไรหลายชนิดเป็นไรที่ให้โทษต่อมนุษย์และสัตว์โดยทำลายพืช นำโรคมาสู่คน สัตว์และพืช ขณะที่ไรอีกหลายชนิดสามารถนำมาใช้กำจัดศัตร

ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ไรฝุ่น

0.00 ฿

ไรฝุ่น (House Dust Mite)

ไร คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กพบทั่วไปไม่ว่าจะเป็นในน้ำทะเล แม่น้ำ ลำคลอง ในดิน บนส่วนต่างๆ ของพืช กองอาหารสัตว์ กองฟางและผลผลิตเกษตร รวมทั้งในบ้านเรือนและแหล่งอาศัยของสัตว์ต่างๆ ไรหลายชนิดเป็นไรที่ให้โทษต่อมนุษย์และสัตว์โดยทำลายพืช นำโรคมาสู่คน สัตว์และพืช ขณะที่ไรอีกหลายชนิดสามารถนำมาใช้กำจัดศัตรูพืชได้นับว่าเป็นประโยชน์ทางการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก

ฝุ่นในบ้านเรือน (house dust) เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่กินเศษซากแมลง ละอองเกสรและสปอร์ของเชื้อราเป็นอาหาร นอกจากนั้นฝุ่นยังมีไรปะปนอยู่กว่า 30 ชนิด เมื่อเก็บฝุ่นในบ้านมาตรวจดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จะพบไรได้หลายชนิดแต่ชนิดที่พบได้แพร่หลายมากที่สุดในหลายๆประเทศ ได้แก่ ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (รูปที่ 1) และ Dermatophagoides faninae (รูปที่ 2) ไรชนิดอื่นๆ ที่สามารถพบในฝุ่น ได้แก่ ไรชนิด Acarus siro, Tyrophagus putrescentiae, Blomia tropicalis, Lepidoglyphus destructor และ GIycyphagus domesticus นักวิทยาศาสตร์จัดกลุ่มไรทั้งหมดที่พบในที่อยู่อาศัยนี้ว่า “Domestic mites”  

รูปที่ 1 ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (ซ้าย = ตัวผู้   ขวา = ตัวเมีย) 

รูปที่ 2 ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides farinae (ซ้าย = ตัวผู้   ขวา = ตัวเมีย) 

รูปร่างลักษณะ

ไรฝุ่น (House dust mite) เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มของสัตว์ขาข้อเช่นเดียวกับแมงมุม แมงป่องและแมลงชนิดต่างๆ ไรฝุ่นมีขนาดเล็ก รูปร่างกลมรี สีขาวขุ่น ขนาดประมาณ 0.1 ถึง 0.3 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ ไม่มีตา ไม่มีหนวด ส่วนปากยื่นออกไปทางด้านหน้าของลำตัว มีลักษณะคล้ายกับส่วนหัว ผนังลำตัวของไรทั้งด้านหลังและด้านใต้ท้องจะเป็นร่องเล็กๆ ลึกลงไปภายในลำตัว ทำให้เกิดลวดลายคล้ายลายนิ้วมือมนุษย์ ตามลำต้นมีขนยาวติดอยู่หลายเส้นนอกจากนั้นยังมีขนสั้นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ที่ปลายส่วนท้องในตัวผู้ยังมีอวัยวะพิเศษใช้จับเพศเสียในระหว่างผสมพันธ์ และมีอวัยวะส่งถ่ายน้ำเชื้อซึ่งตั้งอยู่ระหว่างขาคู่ที่ 4 ไรเพศเสียมีช่องเปิดของไข่อยู่ทางด้านล่างของผนังลำตัวเหนือทวารหนัก และมีช่องรับการผสมพันธุ์แยกต่างหากจากช่องวางไข่

  1. 1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

1.1  วงจรชีวิต

ไรฝุ่นไม่ชอบแสงสว่าง จึงอาศัยหลบซ่อนตัวตามซอกมุมมืดต่างๆ ในบ้าน เช่น ห้องนอน ที่นอน หมอน ผ้าห่ม โซฟา พรม และเฟอร์นิเจอร์ที่บุด้วยวัสดุเส้นใยที่สามารถสะสมฝุ่นได้ดี ไรฝุ่น กินเศษผิวหนังและรังแคของคนและสัตว์ สปอร์ของเชื้อราและสารอินทรีย์ต่างๆ ในฝุ่นเป็นอาหาร นอกจากอาหารแล้วปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของไรฝุ่น ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไรฝุ่น คือ ที่อุณหภูมิระหว่าง 25 - 28 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 80% ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมีสภาพที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของไรฝุ่นเป็นอย่างดี ไรฝุ่นมีการเจริญเติมโตแบบไม่สมบูรณ์ การเจริญเติบโตของไรฝุ่นประกอบด้วยระยะต่างๆ ดังนี้

ระยะไข่ ไข่ไรฝุ่นมีลักษณะเป็นวงรี สีขาวขุ่น และมีสารเหนียวห่อหุ้มภายนอก เพื่อช่วยให้ยึดเกาะกับเศษซากต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ระยะตัวอ่อน 6 ขา และระยะตัวอ่อน 8 ขา ตัวอ่อนของไรฝุ่นมีสีขาวใส

ระยะตัวเต็มวัย ไรฝุ่นใช้เวลาในการเจริญเติบโตจากระยะไข่จนเป็นตัวเต็มวัย ประมาณ 19 – 30 วัน ขึ้นกับอุณหภูมิและความชื้น ตัวเต็มวัยมีอายุขัยประมาณ 1 – 2 เดือน และสามารถผสมพันธุ์กันได้หลายครั้ง ไรฝุ่นตัวเมียวางไข่ 1 – 3 ใบต่อวัน เฉลี่ยแล้วไรฝุ่นหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 40 – 80 ฟอง

จากการสำรวจในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2534 พบว่าไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides Pteronyssinus และ Dermatophagoides Farinae แพร่กระจายตามบ้านเรือนมากที่สุด (98% ของบ้านที่สำรวจทั้งหมด) โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร สามารถพบไรฝุ่นได้ในปริมาณตั้งแต่ 100 – 10,000 ตัว ในฝุ่น 1 กรัม นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า 90% ของที่อยู่อาศัยมีสารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นในระดับที่สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะของโรคภูมิแพ้ได้ จากรายงานการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีภาวะของภูมิไวเกินต่อไรฝุ่นบางรายไม่แสดงอาการของโรคภูมิแพ้เลย แม้ว่าจะอาศัยอยู่ในที่ที่มีสารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่น

1.2 ไรฝุ่นก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้อย่างไร?

โรคภูมิแพ้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เรียกว่า “สารก่อภูมิแพ้” หรือ “allergen” อาการของโรคภูมิแพ้ ได้แก่ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis) หืดภูมิแพ้ (atopic asthma) และผื่นแพ้ผิวหนัง (atopic dermatits1s) อย่างไรก็ดีการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่เกิดขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่มีภูมิไวเกิน (hypersensitivity) ต่อสารก่อภูมิแพ้เท่านั้น จากการศึกษาในกลุ่มประชากรเด็กไทยพบว่า ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรเด็กที่ทำการสำรวจมีภาวะของโรคภูมิแพ้ นอกจากปัจจัยด้านพันธุกรรมแล้วสันนิษฐานว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ชักนำให้เป็นโรคภูมิแพ้ได้ ผลจากการศึกษาวิจัยในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยพบว่า ประมาณ 70 – 80% ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ แสดงการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นมากกว่าสารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ 

วิธีการตรวจระดับของสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ได้แก่ วิธี Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (ELISA) แต่ค่าน้ำยาที่ตรวจมีราคาสูงมาก และต้องสั่งจากต่างประเทศ

ตารางที่ 1 : สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นชนิดต่างๆ

กลุ่ม

ชนิด

น้ำหนักโมเลกุล

คุณสมบัติทางชีวเคมี

Group 1

Der p 1, Der f 1, Der m 1

25 kDa

Cystein protease

Group 2

Der p 2, Der f 2, Der m 2

Lep d 2, Gly d 2, Tyr p 2

14 kDa

Epididymal protein

Group 3

Der p 3, Der f 3, Blo t 3

~30 kDa

Serine protease

Group 4

Der p 4, Blo t 4

~60 kDa

Alpha amylase

Group 5

Der p 5, Blo t 5, Lep d 5

14 kDa

Unknown

Group 6

Der p 6, Der f 6, Blo t 6

25 kDa

Chymotrypsin

Group 7

Der p 7, Der f 7, Lep d 7

22 – 28 kDa

Unknown

Group 8

Der p 8

26 kDa

Glutathione-s-transferase

Group 9

Der p 9

24 kDa

Collagenase

Group 10

Der p 10, Blo t 10, Lep d 10

36 kDa

Tropomyosin

Group 11

Der p 11, Blo t 11

98 kDa

Paramyosin

Group 12

Blo t 12

14 kDa

Unknown

Group 13

Aca s 13, Blo t 13, Lep d 13

14 kDa

Fatty acid binding protein

Group 14

Der p 14, Der f 14, Eur m 14

177 kDa

Apolipophorin

Group 15

Der p 15

98 kDa

98k Chitinase

Group 16

Der p 16

53 kDa

Gelsolin / Villin

Group 17

Der p 17

53 kDa

Ca binding EF protein

Group 18

Der p 18w

60 kDa

60k Chitinase

Group 19

Blo t 19

7.2 kDa

Anti-microbial peptide homologue

 

ปัจจุบันสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นถูกจำแนกชนิดไว้แล้วจำนวน 19 กลุ่ม (ตารางที่ 1) สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีชื่อเรียกต่างๆ กันตามชื่อ genus และ species ของไร เช่น สารก่อภูมิแพ้ชนิด Der p เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus สารก่อภูมิแพ้ชนิด Der f เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides farinae เป็นต้น ในบรรดาสารก่อภูมิแพ้ที่ถูกค้นพบทั้งหมด สารก่อภูมิแพ้ในกลุ่มที่ 1 (Group 1) และ 2 (Group 2) ถูกจัดให้เป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดหลัก (major allergen) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยากับสารแอนติบอดีชนิด lgE ในซีรั่มของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ (% lgE binding ในตารางที่ 2) ได้สูง (95-100%) สารก่อภูมิแพ้กลุ่มที่ 1 พบมากในมูลของไรฝุ่น ขณะที่สารก่อภูมิแพ้กลุ่มที่ 2 (Group 2) พบในปริมาณสูงในตัวไร จากรายงานการศึกษาในหลายๆ ประเทศ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการของโรคภูมิแพ้เกิดขึ้น มักจะอาศัยอยู่ในที่ที่มีสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นกลุ่มที่ 1 สูงกว่า 2 ไมโครกรัมต่อกรัมของฝุ่น นอกจากนั้น การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีระดับของสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นกลุ่มที่ 1 สูงกว่า 10 ไมโครกรัมต่อกรัมของฝุ่นตั้งแต่วัยเด็ก สามารถก่อให้เกิดอาการของหืดภูมิแพ้ได้เมื่อเติบโตขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีการตกลงในที่ประชุมนานาชาติ ว่าระดับของสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นที่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายมนุษย์เกิดภาวะภูมิไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ได้ คือ ที่ระดับ 2 ไมโครกรัมของสารก่อภูมิแพ้กลุ่มที่ 1 (ประมาณ 100 ตัวไรฝุ่น) ต่อฝุ่น 1 กรัม และระดับของสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นที่สามารถกระตุ้นให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหืด ภูมิแพ้เกิดอาการหมดได้อย่างเฉียบพลัน คือ ที่ระดับ 10 ไมโครกรัมของสารก่อภูมิแพ้กลุ่มที่ 1 (ประมาณ 500 ตัวไรฝุ่น) ต่อฝุ่น 1 กรัม ดังนั้น ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ของผู้ป่วยนั้น ควรต้องให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้โดยการลด ปริมาณของสารก่อภูมิแพ้นั้นในที่อยู่อาศัยให้มีระดับต่ำกว่า 2 ไมโครกรัมต่อฝุ่น 1 กรัม หรือลดลงมากกว่า 10 เท่าของระดับสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่เดิม

การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องของการเกิดโรคภูมีแพ้ จะช่วยให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพ นอกจากการซักประวัติของผู้ป่วยแล้วยังต้องมีการตรวจสอบหาปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น skin prick test ซึ่งเป็นการทดสอบปฏิกิริยาแพ้ที่ผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้หลายๆ ชนิด ซึ่งให้ผลรวดเร็วและค่าใช้จ่ายไม่สูง การตรวจวัดระดับ specific lgE ต่อไรฝุ่น เป็นวิธีการตรวจที่เฉพาะมากที่สุดแต่ชุดน้ำยามีราคาค่อนข้างแพง นอกจากนั้นการตรวจวัดระดับของสารก่อภูมิแพ้ในที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยสาเหตุของโรคได้ถูกต้องยิ่งขึ้น 

  1. 2. วิธีการควบคมไรฝุ่น

2.1 การควบคุมโดยการใช้สารเคมี

2.1.1 ใช้วัตถุอันตรายชนิด benzyl benzoate ในรูปผง

2.1.2 ใช้วิธีรม (fumigation) ด้วยก๊าซ methyl bomide เพื่อกำจัดไรฝุ่นร่วมกับการใช้สาร Denaturant เช่น tannic acid หรือเครื่องดูดฝุ่นเพื่อลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้

2.2 การควบคุมโดยวิธีกายภาพ

2.2.1 การทำความสะอาดพื้น ที่นอน กำจัดฝุ่นในห้องและเครื่องนุ่งห่ม

2.2.2 การเลือกใช้ผ้าม่านบังแสง ผ้าปูที่นอน พื้นห้อง รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ 

  1. 3. การจัดการไรฝุ่น

การลดความเสี่ยงในการได้รับสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น จะช่วยลดการเกิดอาการโรคภูมิแพ้ในผู้ป่วยได้ดี การจัดการกบสภาพแวดล้อมในที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะห้องนอนซึ่งเป็นที่ที่พบไรฝุ่นได้มากเป็นวิธีการที่เหมาะสมมากที่สุด ดังที่ผู้เฒ่าผู้แก่ท่านแนะนำให้เอาที่นอนหมอนมุ้งออกตากแดด เปิดห้องนอนให้แดดส่องถึง ให้อากาศถ่ายเท ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของไรฝุ่นและเชื้อโรคต่างๆ นั่นคือ อุณหภูมิและความชื้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าที่อุณหภูมิสูงกว่า 55 องศาเซลเซียส หรือที่ความชื้นน้อยกว่า 50% ไรฝุ่นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เมื่อจัดการกับสภาพอากาศภายในห้องแล้ว การทำความสะอาดเครื่องนอนให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำร้อนก็จะช่วยกำจัดไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ไปด้วยอีกทางหนึ่ง การนำเครื่องบินมาตากแดดจัดๆ พลิกไปมาพร้อมกับใช้ไม้ตบฝุ่นที่สะสมหลดออกไป เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ได้ แต่ข้อควรระวังคือไม่ควรให้ผู้ที่แพ้ต่อไรฝุ่นอยู่ในบริเวณนั้นเพราะจะเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นเพราะสูดเอาสารที่ก่อภูมิแพ้เข้าไป แม้แต่ผู้ที่ทำความสะอาดไม่ว่าจะใช้ไม้ตบ กวาดฝุ่นหรือดูดฝุ่นก็ควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกด้วย การเลือกใช้เครื่องเรือนก็เป็นวิธีการหนึ่งในการลดปัญหาเกี่ยวกับไรฝุ่น เช่น การปูพื้นด้วยไม้ลิ้นหรือกระเบื้อง การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ผิวเรียบมันแทนเฟอร์นิเจอร์บุนวม เป็นต้น การใช้พรมแบบผืนจะสะดวกต่อการนำไปทำความสะอาดได้ดีกว่าพรมแบบปูเต็มห้อง จึงไม่เป็นที่สะสมของไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดอีกด้วย การใช้ผ้าชนิดพิเศษสำหรับกันไรฝุ่น เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่แพทย์แนะนำให้1 ผู้ป่วยใช้ หลักการของผ้าชนิดนี้ก็คือเป็นผ้าที่ทำขึ้นเป็นพิเศษโดยมีรูขนาดเล็กมาก จนไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ไม่สามารถผ่านทะลุไปได้ คล้ายกบผ้าพลาสติกแต่ผ้าชนิดพิเศษนี้ยอมให้อากาศถ่ายเทได้ จึงทำให้นอนได้สบายผ้าชนิดนี้สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในที่นอน ผู้ป่วยก็จะไม่มีอาการป่วยแต่ไม่ได้หมายความว่าไรฝุ่นหรือสารก่อภูมิแพ้ของมันจะหมดไป เพราะมันยังสะสมอยู่ภายในผ้าหุ้มนั้นเอง ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังไม่ให้ผ้าขาดจึงจะมีประสิทธิภาพดี อย่างไรก็ตามการใช้ผ้ากันไรฝุ่นเพียงอย่างเดียวใช่ว่าสามารถรักษาอาการโรคภูมิแพ้ในผู้ป่วยให้หายขาดได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ออกมาจำหน่ายหลายยี่ห้อ ดังนั้นควรตรวจสอบการรับรองประสิทธิภาพจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้เสียก่อนการใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดที่ใช้ไส้กรองแบบ HEPA filter สามารถขจัดฝุ่นละอองต่างๆ รวมทั้งสารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นได้ดี ช่วยได้ในระดับหนึ่ง คือ ช่วยลดโอกาสที่จะได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่ฟุ้งอยู่ในอากาศน้อยลง แต่ไรฝุ่นและภูมิแพ้ที่อยู่ในที่นอน หมอน และผ้าห่ม ยังคงมีอยู่และสามารถสูดดมเข้าไปได้เมื่อล้มตัวลงนอน

วิธีการกำจัดไรฝุ่นให้หมดไปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งนั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการป้องกันและกำจัดไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น จะต้องอาศัยหลากหลายวิธีการเข้ามาผสมผสานกันโดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาของไรฝุ่นด้วย สามารถสรุปวิธีการต่างๆ ดังนี้

3.1 เปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนทุกสัปดาห์และให้รักด้วยน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นวัสดุที่ไม่ทนความร้อน อาจใช้วิธีแช่ใน freezer ก่อนนำมาซักด้วยน้ำอุ่น

3.2 ย้ายเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บสะสมฝุ่นได้ออกจากห้องนอนหรือออกจากบ้าน

3.3 ดูดฝุ่นตามที่นอนหมอบและใต้เพียงอยู่เสมอไม่ให้ฝุ่นสะสม

3.4 ปรับความชื้นภายในห้องให้ต่ำกว่า 40 0/0 เพื่อไม่ให้ไรฝุ่นเจริญเติบโตได้

3.5 หุ้มที่นอนและเครื่องนอนด้วยผลิตภัณฑ์ผ้าป้องกันไรฝุ่น

3.6 หลีกเลี่ยงผ้าห่มที่ทอด้วยผ้าฝ้ายหรือขนสัตว์ เพราะจะเป็นที่หลบซ่อนขิงไรฝุ่นได้ดี

3.7 ใช้ผ้าม่านบังแสงที่ทำด้วยวัสดุผิวเรียบหรือใช้ผ้าม่านที่สามารถถอดซักได้ง่าย

3.8 ควรใช้พื้นไม้ กระเบื้องหรือวัสดุปูพื้นเรียบที่ไม่มีร่องเก็บฝุ่น หากจำเป็นต้องใช้พรม ควรเลือกพรมผืนเล็กที่สามารถนำออกไปทำความสะอาดได้ง่าย

3.9 หลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ที่บรรจุนุ่นหรือใยสังเคราะห์

3.10 สำหรับวัตถุอันตรายที่ใช้ในการกำจัดไรฝุ่นโดยเฉพาะ มีสารออกฤทธิ์ชนิด benzyl benxoate ในรูปผง ใช้โรยบนพรมหรือที่นอนแต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย นอกจากนั้นการใช้วิธีรม (fumigation) ด้วยก๊าซ (methyl bromide) เพื่อกำจัดไรฝุ่นและแมลงทุกชนิดที่อยู่ในที่นอนก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่วิธีนี้ควรต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญเท่านั้น (สารดังกล่าวนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังไม่ได้รับขึ้นทะเบียน) อย่างไรก็ดีแม้ว่าไรฝุ่นจะถูกกำจัดด้วยวิธีการรมก๊าซแล้วแต่สารก่อภูมิแพ้ของมันอยู่ในฝุ่นก็ไม่ถูกลดปริมาณลงด้วย ดังนั้นจึงต้องทำการลดปริมาณของสารนี้ไปพร้อมๆ กันด้วยเครื่องดูดฝุ่นหรือการใช้สาร denaturant เช่น tannic acid เป็นต้น

  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการใช้รับจ้างกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข
  2. 1. ตามพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แบ่งวัตถุอันตรายตามความจำเป็นแก่การควบคุมเป็น 4 ชนิด ได้แก่ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1  ชนิดที่ 2  ชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4
  3. 2. ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแม่ลงทีใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และมีบ้างที่เป็นชนิดที่ 2 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีพิษสูงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือก่อให้เกิดมะเร็ง หรือตกค้างในสิ่งแวดล้อม จะถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง
  4. 3. การประกอบกิจการใช้รับจ้างกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุขเป็นการครอบครองผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย โดยการนำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาใช้ปฏิบัติงานให้บริการจัดการ ควบคุม กำจัดแมลงและสัตว์อื่น แก่ผู้บริโภคโดยซื้อผลิตภัณฑ์มาจากผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ในการครอบครองผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง สำหรับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ต้องขออนุญาต และหากเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ต้องแจ้งดำเนินการ ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  5. 4. ผู้มีวัตถุอันตรายฯ ชนิดที่ 2 ต้องแจ้งความประสงค์จะดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและปฏิบัติ ดังนี้

4.1 ให้แจ้งความประสงค์จะดำเนินการที่กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่ หรืออาจแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ตามแบบ วอ/สธ.3 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 1 พร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 2 ชุด ดังนี้

4.1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มอบอำนาจและรับมอบอำนาจ

4.1.2                   สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล / สำเนาหนังสือบริคณห์สิทธิและสำเนาใบสำคัญแสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการของนิติบุคคลผู้แจ้งดำเนินการ

4.1.3 หนังสือมอบอำนาจดำเนินการขออนุญาตแทนนิติบุคคลหรือบุคคล (กรณีผู้เกี่ยวข้องไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

4.1.4 แผนที่สังเขปแสดงสถานที่เก็บวัตถุอันตรายและบริเวณข้างเคียง

4.1.5 แผนผังภายในของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย

4.1.6 เอกสารแสดงความรู้ ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญ หรือบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการ ในกรณีที่กฎหมายกำหนด

4.1.7 คำขอชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามแบบ วอ.10 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 6 กรณีที่ครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ในปริมาณที่กำหนด

4.1.8 สำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่แจ้งดำเนินการ

4.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง จะออกใบรับแจ้งดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ให้ตามแบบ วอ/สธ.4 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 2 ซึ่งใช้ได้ตลอดชีพ หากมีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ไว้ในครอบครองในปริมาณที่กำหนด ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีในวันที่รับแจ้งฯ และชำระค่าธรรมเนียมรายปีในปีต่อไปไม่เกินวันที่กำหนด ตามแบบ วอ.10 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 6 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนี้

4.2.1 ตั้งแต่หนึ่งเมตริกตันขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบเมตริกตันหรือใช้พื้นที่เฉพาะในส่วนของการเก็บรักษาตั้งแต่ห้าสิบตารางเมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าร้อยตารางเมตร ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 2,500 บาท

4.2.2 ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตัน หรือใช้พื้นที่เฉพาะในส่วนของการเก็บรักษาตั้งแต่ห้าร้อยตารางเมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งพันตารางเมตรชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 5,000 บาท

4.2.3 ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไปหรือใช้พื้นที่เฉพาะในส่วนของการเก็บรักษาตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 10,000 บาท

  1. 5. ผู้มีวัตถุอันตรายฯ ชนิดที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนและปฏิบัติ ดังนี้

5.1 ให้ยื่นขออนุญาตมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 เพื่อใช้รับจ้างในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตามแบบ วอ.7 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 3 พร้อมเอกสารประกอบ จำนวน 2 ชุด ดังนี้

5.1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

5.1.2 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล / สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและสำเนาใบสำคัญแสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการของนิติบุคคลผู้ขออนุญาต

5.1.3 หนังสือมอบอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคล หรือบุคคล (กรณีผู้ขอไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

5.1.4 บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายที่มีไว้ในครอบครองพร้อมเลขที่ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย กรณีที่มีมากกว่า 1 รายการ

5.1.5 สำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่ยื่นขอมีไว้ในครอบครอง

5.1.6 แผนที่สังเขปแสดงสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย และบริเวณข้างเคียง

5.1.7 แผนผังภายในของอาคาร ที่ใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย

5.1.8 เอกสารแสดงความรู้ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญหรือบคลากรเฉพาะรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการ ในกรณีที่กฎหมายกำหนด

5.1.9 เอกสารและภาพถ่ายแสดงวิธีการเก็บรักษาวัตถุอันตราย

5.1.10 ภาพถ่ายการบรรเทาความรุนแรงของอุบัติภัยของสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย เช่น อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย เครื่องดับเพลิง ตู้ยา อ่างล้างมือ ห้องน้ำ ที่ล้างตาฉุกเฉิน ถังทราย ขี้เลื่อย ถาดรองรับ ภาชนะบรรจุ

5.1.11 เอกสารแสดงข้อมูลความปลอดภัยของวัตถุอันตราย เช่น material safety data sheet หรือฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ขออนุญาตมีไว้ในครอบครอง

5.1.12 หนังสือสัญญาการให้บริการแก่ลูกค้าโดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่ใช้รวมทั้งอาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษและคำเตือน

5.1.13 กรณีไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่เก็บวัตถุอันตราย ต้องมีหลักฐานแสดงความยินยอมจากเจ้าของสถานที่หรือสัญญาเช่า

5.2 เมื่อเอกสารและหลักฐานครบถ้วน พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งและสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย มาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ รายละเอียดในภาคผนวก 8 ดังนี้

สถานทีเก็บรักษาวัตถุอันตราย

5.2.1 ต้องสามารถป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและเกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อบุคคล สัตว์ พืชและสิ่งแวดล้อม

5.2.2 ต้องมีที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายเฉพาะตามคุณสมบัติ และชนิดของวัตถุอันตราย มีขนาดและลักษณะเหมาะสมกับชนิดและปริมาณที่ขออนุญาต สะดวกแก่การขนย้ายวัตถุอันตรายเข้าออก

5.2.3 อาคารเก็บรักษาที่มีความกว้างและความยาว มากกว่าด้านละ 30 เมตร ต้องมีผนังที่ทำจากวัสดุทนไฟกั้นตัดตอนโดยมีระยะห่างระหว่างกันไม่เกิน 30 เมตร เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟในกรณีเกิดเพลิงไหม้

5.2.4 ต้องมีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ เพื่อทำความสะอาดร่างกายเมื่อสัมผัสกับวัตถุอันตราย

5.2.5 ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ต้องมีมาตรการสำหรับดูแลรักษาเครื่องป้องกันอันตรายดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา

5.2.6 ต้องมีเครื่องปฐมพยาบาลพร้อมคำแนะนำวิธีปฐมพยาบาลที่เหมาะสมกับประเภทของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ

5.2.7 ต้องมีเครื่องมือ ที่สุดและอุปกรณ์ต่างๆสำหรับป้องกัน ควบคุม ระงับ บรรเทาอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นตามความจำเป็น เหมาะสมกับประเภทของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ พร้อมมาตรการสำหรับดูแลรักษาเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา

มาตรการเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับริการ

5.2.8 บริเวณทางเข้าอาคาร หรือส่วนของอาคารที่เป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย ให้มีแผ่นป้ายคำว่า วัตถุอันตราย ด้วยอักษรสีแดงบนพื้นสีขาว โดยแผ่นป้ายและตัวอักษรต้องมีขนาดที่เหมาะสมและเห็นได้เด่นชัด

5.2.9 บริเวณที่เก็บรักษาหรือบริเวณใกล้เคียง ต้องจัดให้มีแผ่นป้ายคำเตือนถึงอันตรายที่อาจจะเกิดจากวัตถุอันตราย โดยมีข้อความและสัญลักษณ์ต่างๆ ตามที่กำหนดดังนี้

- สวมเสื้อผ้าสำหรับปฏิบัติการให้ครบชดก่อนลงมือทำงาน

- ชำระล้างร่างกายเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน

- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทกครั้งก่อนรับประทานอาหารดื่มน้ำหรือสูบบุหรี่

- เมื่อได้รับพิษจากวัตถุอันตราย ให้รบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ

- ถ้าถูกผิวหนังให้รบล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ และสบู่

- หากกระเด็นเข้านัยน์ตา ให้รบล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆ จนอาการระคายเคืองทุเลาแล้วรีบไปพบแพทย์

- หากมีอาการปวดศีรษะ มึนงง ตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ให้รีบรายงานต่อหัวหน้าพนักงานเพื่อนำส่งแพทย์ทันที

- ห้ามทิ้งวัตถุอันตราย ภาชนะบรรจุหรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ลงในแม่น้ำ คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ

-  เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินให้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของชนิดของสารนั้นๆ

5.3 เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ตามแบบ วอ. 8 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 4 พร้อมชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ ฉบับละ 500 บาท

5.4 ใบอนุญาตฯมีอายุ 3 ปี เมื่อครบกำหนดจะต้องต่ออายุภายในเวลาที่กำหนดตาม แบบ วอ.9 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 5 และชำระค่าธรรมเนียม 500 บาทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่

5.5 กรณีที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ไว้ในครอบครองในปริมาณที่กำหนดไว้ ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีไม่เกินวันที่ครบกำหนดตามแบบ วอ.10 ตามตัวอย่างในภาคผนวก 6 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือชำระทางไปรษณีย์ทะเบียนตอบรับ ดังนี้

5.5.1 ตั้งแต่หนึ่งเมตริกตันขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบเมตริกตัน หรือใช้พื้นที่เฉพาะในส่วนของการเก็บรักษาตั้งแต่ห้าสิบตารางเมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าร้อยตารางเมตร ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 2,500 บาท

5.5.2 ตั้งแต่สิบเมตริกตันขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยเมตริกตัน หรือใช้พื้นที่เฉพาะในส่วนของการเก็บรักษาตั้งแต่ห้าร้อยตารางเมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งพันตารางเมตร ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 5,000 บาท

5.5.3 ตั้งแต่หนึ่งร้อยเมตริกตันขึ้นไป หรือใช้พื้นที่เฉพาะในส่วนของการเก็บรักษาตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ปีละ 10,000 บาท

  1. 6. การแก้ไขเปลี่ยนแปลง

หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆ ทั้งในใบรับแจ้งดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่เกี่ยวกับ

6.1 ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบสำหรับการเก็บรักษา

6.2 ชื่อวัตถุอันตรายที่มีไว้ในครอบครองและปริมาณ

6.3 พื้นที่ในการครอบครองวัตถุอันตรายให้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ พร้อมใบรับแจ้งฯ หรือใบอนุญาตฯ ต้นฉบับและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยมิต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง