ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ปลวก

ปลวก (Termite)             ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ ปลวกจัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต และเซลลูโลสนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อไ

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ปลวก

0.00 ฿

ปลวก (Termite)

            ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ ปลวกจัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต และเซลลูโลสนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อไม้ ดังนั้นเราจึงพบปลวกเข้าทำลายความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้ หรือโครงสร้างไม้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ

            ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าหนึ่งร้อยห้าสิบชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่นำมาใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน คิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้เริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินทำท่อทางเดินดิน ทะลุขึ้นมาตามรอยแตกแยกของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อเชื่อมระหว่างผนัง เสา หรือคานคอดิน เพื่อเข้าไปทำลายโครงสร้างไม้ต่างๆภายในอาคาร เช่น เสาและคานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้ วงกบ ประตู และหน้าต่าง เป็นต้น

            ในการดำรงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกนี้ ช่วยให้สามารถวางแผนและวางแนวทางในกาควบคุมปลวกประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินภายในอาคารเป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้หรือการทำให้เนื้อไม้เป็นพิษปลวกใช้เป็นอาหารไม่ได้ การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งขั้นตอนในกาควบคุมปลวกนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยลดความเสียหายและช่วยยืดอายุการใช้ประโยชน์ไม้ให้คงทนถาวรยิ่งขึ้น 

ความสำคัญของปลวก

            ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก คือ มีทั้งประโยชน์และโทษ

            ประโยชน์ที่ได้รับจากปลวก   ปลวกเป็นแมลงที่มีบทบาทสำคัญมากในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ คือ

-          ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ ได้แก่ เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และสวนต่างๆ ของพืช ที่หัหร่วงหล่นหรือล้มตายทับถมกันอยู่ในป่าแล้วเปลี่ยนไปเป็นฮิวมัสในดิน เป็นต้น กำเนิดของกระบวนการหมุนเวียนของาตุอาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับในป่าธรรมชาติ เจริญเติบโตสมบูรณ์ดี

-          มีบทบาทสำคัญในช่วงห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์ นอกจากจะช่วยให้พืชในป่าเจริญเติบโตดี เป็นอาหารของสัตว์ป่าแล้ว ตัวปลวกเองยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ นก กบ คางคกและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอดๆ

-          เป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์โดยปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะและมีราคาแพง สามารถเสริมรายได้เสริมแก่เกษตรกร ทั้งนี้โดยมีเชื้อราที่อยู่ร่วมกันภายในรังปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต

-          จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารปลวก สามารถผลิตเอ็นไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมหรือใช้ในการแก้ไขและควบคุมมลภาวะสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป เช่น การย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืช ที่มีฤทธิ์ตกค้างนานหรือกำจักน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

            โทษที่เกิดจากปลวก  ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อ

-          กล้าไม้ และไม้ยืนต้น ในป่าธรรมชาติและสวนป่า

-          ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง

-          ไม้ใช้ประโยชน์เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน

-          วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้ และพืชเส้นใย เช่น โต๊ะ ตู้ กระดาษ หนังสือ พรมและเสื้อผ้า เป็นต้น

-          กัดทำลายรากพืชเกษตร พืชไร่ พืชผัก พืชสวนและไม้ผล

            อย่างไรก็ดี เนื่องจากในประเทศไทยยังมีปลวกอยู่อีกกว่าหนึ่งร้อยชนิดที่มีความสำคัญในการช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ในการวางแผนการป้องกันปลวกในอาคารบ้านเรือนนั้นประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมมากที่สุด ดังนี้ 

  1. 1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา
  2. 2. วีการควบคุมปลวก
  3. 3. การจัดการปลวกในอาคาร 
  1. 1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

ปลวกเป็นแมลงที่มีความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง โดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืดและอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะต่างๆ รวม 3 วรรณะ คือ

          วรรณะสืบพันธ์ หรือแมลงเม่า

            ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกทั้งเกศผู้และเพสเมีย ทำหน้าที่สืบพันธ์และกระจายพันธ์โดยจะบินออกจากรัง เมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เมื่อจับคู่กันแล้วจะสลัดปีก ผสมพันธุ์กันและหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่

          วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน

            เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวล ไม่มีปีก ไม่มีตาใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทาง ทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่ เพาะเลี้ยงเชื้อราและซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย

           วรรณะทหาร

            เป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้มและแข็ง มีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคม เพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ บางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อยหรือพ่นไปติดตัวศัตรู ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้หรืออาจทำให้ตายได้ 

1.1        วงจรชีวิต

การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก

เริ่มต้นขึ้นเมื่อฤดูกาลเหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงหลังฝนตนตก ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง โดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมีย (alate or winged reproductive male or female) บินออกจากรังในช่วงพลบค่ำเพื่อมาเล่นไฟ จับคู่ผสมพันธุ์กันสำหรับปลวกใต้ดินที่เข้าทำลายอาคารบ้านเรือนมักจะบินออกจากรัง เวลาประมาณ 18.30-19.30 น. จากนั้นสลัดปีกทิ้งไป แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดินบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆและจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (larva) และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีกและเป็นหมัน สารเคมีที่เรียกกันว่าฟีโรโมนหรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของราชินีเพื่อให้ตัวอ่อนกิน จะเป็นตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่างๆ เช่น ปลวกงาน (Worker) ปลวกทหาร(Soldier) โดยบางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้นไม่สมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง (supplementary queen king) ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และจะออกไข่เพิ่มจำนวนประชากรในกรณีราชา (king) หรือราชินี( queen) ของรังถูกทำลายไป

1.2        นิเวศวิทยา

สภาพความเป็นอยู่หรือสภาพทางนิเวศวิทยารวมถึงอุปนิสัยในการกินอาหารของปลวกแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดและประเภทของปลวก ซึ่งสามารถจำแนกอย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท โดยใช้แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหลักดังนี้ 

1.2.1        ปลวกที่อาศัยอยู่ในไม้

ปลวกชนิดนี้ตลอดชีวิตจะอาศัยและกินอยู่ภายในเนื้อไม้ โดยไม่มีการสร้างทางเดินมาติดต่อกับพื้นดินเลย ลักษณะโดยทั่วไปที่บ่งชี้ว่ามีปลวกในกลุ่มนี้เข้ามาทำลายไม้คือ วัสดุแข็งเป็นเม็ดกลมรี อยู่ภายในเนื้อไม้ที่ถูกกินเป็นโพรงหรืออาจร่วงหล่นออกมาภายนอกตามรูที่ผิวไม้ เราอาจแบ่งปลวกประเภทนี้เป็นกลุ่มย่อยลงไปอีกตามลักษณะของความชื้นของไม้ที่ปลวกเข้าทำลาย ดังนี้

1.2.1.1        ปลวกไม้แห้ง (Dry-wood termites)

ปลวกชนิดนี้อาศัยอยู่ในไม้ที่แห้งหรือไม้ที่มีอายุงานมานานและมีความชื้นต่ำ โดยปกติมักจะไม่ค่อยเห็นตัวปลวกชนิดนี้อยู่นอกชิ้นไม้ แต่จะพบวัสดุแข็งรูปกลมรี ก้อนเล็กๆ กองอยู่บนพื้นบริเวณโคนเสา ฝาผนังหรือโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลาย โดยทั่วไปปลวกชนิดนี้จะทำลายไม้เฉพาะภายในชิ้นไม้โดยเหลือผิวไม้ด้านนอกเป็นฟิล์มบางๆ ไว้ ทำให้มองดูภายนอกเหมือนไม้ยังอยู่ในสภาพดี

1.2.1.2         ปลวกไม้เปียก (Damp-wood termites)

ปลวกชนิดนี้มักอาศัยและกินอยู่ในเนื้อไม้ของไม้ยืนต้นหรือไม้ล้มตายที่มีความชื้นสูง

1.2.2        ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน

ปลวกประเภทนี้จะอาศัยอยู่ในดินแล้วออกไปหาอาหารที่อยู่ตามพื้นดิน หรือเหนือพื้นดินทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะทำท่อทางเดินเดินห่อหุ้มตัว เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น และหลบซ่อนตัวจากศัตรูที่มรบกวน จำแนกเป็น 3 พวก คือ

1.2.2.1        ปลวกใต้ดิน (Subterranean termites)

เป็นปลวกที่อาศัยและทำรังอยู่ใต้ดิน เช่น ปลวกในสกุล Coptotermes, Microtermes, Ancistrotermes และ Hypotermes เป็นต้น

1.2.2.2        ปลวกที่อยู่ตามจอมปลวก (Mound-building termites)

เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดิน เช่น ปลวกในสกุล

1.2.2.3        ปลวกที่อยู่ตามรังขนาดเล็ก (Carton nest termites)

เป็นปลวกที่สร้างรังขนาดเล็กอยู่บนดินหรือเหนือพื้นดิน เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นไม้ เสาไฟฟ้าหรือโครงสร้างภายในอาคาร เช่น ปลวกในสกุล Microcerotermes, Termes Dicuspiditermes, Nasutitermes และ Hospitalitermes เป็นต้น 

             แหล่งอาหารของปลวก จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. 1. ไม้ (wood)
  2. 2. ดินและฮิวมัส (soil & humus)
  3. 3. ใบไม้และเศษซากพืชที่ทับถมกันอยู่บนพื้นดิน (leaves & litter)
  4. 4. ไลเคนและมอส (lichen & moss)

ปลวกส่วนใหญ่จะกินอาหารประเภทเนื้อไม้ เปลือกไม้ เศษไม้ ใบไม้หรือวัสดุอื่นๆที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ โดยในระบบทางเดินอาหารของปลวก จะมีสัตว์เซลล์เดียว คือโปรโตชัว ในปลวกชั้นต่ำหรือมีจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรียและเชื้อราในปลวกชั้นสูง ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารประเภทเซลลูโลสหรือสารประกอบอื่นๆ ให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายปลวก

1.3        ชนิดปลวกที่สำคัญที่เข้ามาทำลายไม้ใช้สอย

1.3.1        ปลวกไม้แห้ง ที่สำคัญ คือ Cryptotermes thailandis

ส่วนใหญ่จะพบเข้าทำความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือพื้นที่เกาะ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ

1.3.2        ปลวกใต้ดิน ที่สำคัญ คือ Coptotermes gestroi และ Coptotermes havilandi

ปลวกใต้ดินชนิด C. gestroi จัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศร้อยละ 90 ของอาคารที่ถูกทำลาย เกิดจากการเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้และกว่า 90 % พบเข้ทำความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตเมือง นอกจากนี้แล้วปลวก Odontotermes proformosanus และปลวกในสกุล Schedorthinotermes, Ancistrotermes และ Microtermes อาจพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอกอาคารหรืออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท

1.3.3        ปลวกสร้างรังขนาดเล็ก ที่สำคัญ คือ Microcerotermes crassus และ Nasutitermes sp.

พบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอกหรือไม้ในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท

1.3.4        ปลวกสร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่สำคัญคือ Globitermes sulphureus, Macrotermes gilvus และ Odontotermes longignathus มักพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอกและไม้ในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางประการของปลวกวรรณะทหารที่ใช้ในการจำแนกสกุล

ของปลวกทำลายไม้ที่สำคัญในประเทศไทยและลักษณะการเข้าทำลายไม้ใช้ประโยชน์ 

Coptotermes

                รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปไข่ สีเหลืองทอง มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.40 – 1.51 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 1.15 – 1.24 มิลลิเมตร กรามยาว 0.82 – 0.93 มิลลิเมตร ใต้ริฝีปากบนมีรูเปิดกว้างเรียกว่า fontanelle สำหรับปล่อยสารเหนียวสีขาวออกมาต่อสู้ศัตรู

                ปลวกสกุลนี้ทำรังอยู่ใต้พื้นดินหรือทำรังสำรองอยู่ภายในช่องว่างระหว่างฝาสองชั้นในอาคารในการออกหาอาหาร ปลวกจะทำท่อทางเดิน เดินขึ้นมาเป็นท่อกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 – 1.0 เซนติเมตร ลักษณะการกินเนื้อไม้ของปลวกสกุลนี้จะกินเข้าไปเป็นร่องลึกตามแนวความยาวของเสี้ยนไม้โครงสร้างที่ถูกทำลายมากๆ เนื้อไม้ภายในจะถูกเปลี่ยนเป็นโครงสร้างดิน มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ ในขณะที่ผิวไม้ภายนอกยังดูปกติอยู่แต่เมื่อใช้มีดปลายแหลมทิ่มแทงลงไปจะพังทะลุเข้าไปได้ง่าย สำหรับเนื้อไม้ที่ถูกทำลายไม่มาก ที่บริเวณพื้นผิวจะมีร่องรอยของขี้ปลวกเป็นจุดดำๆ กระจายอยู่ทั่วไป ปลวกสกุลนี้จะพบเข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับอาคารที่อยู่ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่ 

Microcerotermes

                รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำตาล มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.43 – 1.75 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 0.91 – 1.10 มิลลิเมตร กรามยาว 1.06 – 1.20 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายเคียว ด้านในกรามทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นฟันเลื่อย (serrate)

                ปลวกสกุลนี้จัดเป็นปลวกชนิดสร้างรังขนาดเล็กบนดิน บนต้นไม้หรือบนโครงสร้างอาคาร ลักษณะค่อนข้างกลมหรือทรงกรวยแหลม รังดินมักจะแข็งมากยากที่จะทุบให้แตก ผิวรังหยาบขรุขระ มีติ่งหรือกลีบเล็กๆ ยื่นออกมา โครงสร้างภายในมีช่องระบายอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ในการหาอาหารปลวกจะทำท่อทางเดินขึ้นมาเป็นท่อกลม ลักษณะแห้งแข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 – 0.3 เซนติเมตร ลักษณะการกินเนื้อไม้ปลวกสกุลนี้จะกินไปตามแนวความยาวของเสี้ยนไม้เป็นร่องลึกเข้าไป เนื้อไม้ที่ถูกทำลายจะไม่มีร่องรอยเป็นจุดดำๆ ของขี้ปลวกกระจายอยู่และเมื่อถูกทำลายมากๆ จะไม่พบโครงสร้างของดินที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เช่นเดียวกับปลวกในสกุล Coptotermes ปลวกสกุลนี้ส่วนใหญ่พบเข้สทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้นเรือนที่อยู่ในเขตชนบท จัดเป็นปลวกทำลายเนื้อไม้ที่มีความสำคัญรองลงมาจากปลวก Coptotermes           

 Globitermes

                รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารมีลักษณะค่อนข้างกลมมน สีเหลืองน้ำตาล ขนาดความยาวของหัววัดถึงฐานกลม 0.75 – 0.98 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 0.8 – 1.09 มิลลิเมตร กรามยาว 0.65 – 0.93 มิลลิเมตร มีลักษณะโค้งมากที่ส่วนปลาย กรามด้านในทั้งสองข้างมีฟันขนาดเล็กยื่นออกมาตรงกลาง ข้างละ 1 ซี่ ส่วนท้องของปลวกวรรณะทหารมีสีเหลืองของกำมะถันสังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก

                ปลวกสกุลนี้สร้างบนดินขนาดกลางถึงขนาดค่อนข้างใหญ่ ลักษณะรูปร่างคล้ายโดม มีเส้นผ่าศูนย์กลางฐานตั้งแต่ 30-80 เซนติเมตร สูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร ผิวรังชั้นนอกสุดมีลักษณะเป็นชั้นดินบางๆ เคลือบไว้ โครงสร้างรังในชั้นที่ 2 จะแข็งแรงมาก และมีช่องระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป  และชั้นในสุดของรังมีลักษณะคล้ายก้อนสมอง ซึ่งจะยุ่ยและแตกง่าย ภายในบริเวณนี้จะพบตัวอ่อนอยู่มากมาย ลักษณะการเข้าทำลายไม้ของปลวกสกุลนี้ไม่แน่นอน อาจนำดินเคลือบไปตามผิวไม้หรือทำทางท่อทางเดินขึ้นไปหาอาหาร และกัดกินเนื้อไม้เข้าไปตามแนวความยาวและแนวขวางของเสี้ยนไม้ ปลวกสกุลนี้พบเข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท ตลอดจนไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง

 Cryptotermes

                รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนหน้าลักษณะตัดสั้นทู่สีน้ำตาลเข้ม มีขนาดความยาวและความกว้างของหัวประมาณ 1.26 มิลลิเมตร กรามมีขนาดสั้นมากยาวประมาณ 0.64 มิลลิเมตร เมื่อมองด้านข้างจะมีลักษณะโค้งขึ้นคล้ายนอแรด ปลวกสกุลนี้อาศัยอยู่เฉพาะภายในเนื้อไม้ โดยไม่ทำท่อทางเดินดินเหมือนกีบปลวกใต้ดินชนิดอื่นๆ

                ลักษณะการเข้าทำลายของปลวกกินไม้สกุลนี้ จะสังเกตได้จากการพบขี้ปลวกที่มีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ แข็ง ขนาดเท่าเมล็ดฝิ่นร่วงหล่นออกมากองอยู่บนพื้น โครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายหากมองจากผิวภายนอกดูเหมือนว่ายังคงปกติอยู่ แต่โครงสร้างภายในที่ถูกทำลายนั้นจะมีลักษณะเป็นโพรง มีขี้ปลวกและตัวอ่อนบรรจุอยู่ ปลวกสกุลนี้พบเข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนที่อยู่บริเวณแถบชายฝั่งทะเล

 Macrotermes

                ปลวกในสกุลนี้มีวรรณะทหารสองขนาด รูปร่างส่วนหัวของปลวกทหารขนาดใหญ่ (major soldier) มีลักษณะค่อนข้างสี่เหลี่ยม ส่วนหน้าแคบกว่าส่วนท้าย สีน้ำตาลแดงหรือสีดำ ขนาดความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 3.24-4.9 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 2.36 – 4.0 มิลลิเมตร กรามยาว 1.42 – 2.52 มิลลิเมตร ส่วนปลวกทหารขนาดเล็ก (minor solder) มีความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.82 – 2.28 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 1.50 – 1.97 มิลลิเมตร กรามยาว 1.14 – 1.50 มิลลิเมตร

                ปลวกสกุลนี้สร้างรังขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดิน รังมีรูปร่างลักษณะที่ไม่แน่นอนแล้วแต่ชนิดของปลวก ปลวกสกุลนี้จะเข้าทำลายไม้โดยนำดินมาเคลือบไว้ตามพื้นผิวไม้ ลักษณะเป็นแผ่นบางๆ และกัดกินเนื้อไม้จากผิวเข้าไปเป็นพื้นที่กว้างตามแนวขวางเสี้ยนไม้ พบเข้าทำความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในอยู่ชนบท และไม้ที่ใช้ประโยชน์กลางแจ้ง

 Odontotermes

                รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารจะมีตั้งแต่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ค่อนข้างสี่เหลี่ยมจนถึงค่อนข้างกลมรี มีส่วนหน้าแคบกว่าส่วนท้าย สีเหลืองน้ำตาลถึงน้ำตาลแดง ขนาดความยาวของหัววัดถึงฐานกราม 1.14 – 2. 89 มิลลิเมตร ส่วนกว้างสุดประมาณ 1.02 – 2.37 มิลลิเมตร กรามยาว 0.65 – 1.45 มิลลิเมตร ลักษณะเด่นของปลวกในสกุลนี้คือ ที่กรามด้านซ้ายจะมีฟันแหลมยื่นออกมา 1 ซี่ (toot) ในตำแหน่งที่แตกต่างไปตามชนิดของปลวก

            ปลวกสกุลนี้อาจพบได้ทั้งชนิดที่ทำรังอยู่ใต้พื้นดินและชนิดที่ทำรังขนาดใหญ่อยู่บนพื้นดินการเข้าทำลายไม้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันกับปลวกในสกุล  Macrotermes

 Nasutitermes

            รูปร่างส่วนหัวของปลวกวรรณะทหารมีลักษณะค่อนข้างกลมสีน้ำตาลแดง กรามทั้งสองข้างลดรูปหายไป เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นงวง (nasus) ยื่นยาวออกไปด้านหน้า เพื่อฉีดพ่นสารเคมีออกมาต่อสู้กับศัตรู ขนาดความยาวของหัววัดถึง nasus ยาว 1.61 – 1.89 มิลลิเมตร ความยาวส่วนหัวถึงฐานกรามไม่รวม nasus 1.01 – 1.22 มิลลิเมตร ความกว้างส่วนหัวประมาณ 1.04-1.27 มิลลิเมตร

            ปลวกในสกุลนี้สร้างรังดินขนาดเล็กอยู่บนต้นไม้สูงๆ หรือบางครั้งอาจพบทำรังอยู่บนโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือนได้ ลักษณะรังค่อนข้างกลมถึงกลมรี สีน้ำตาลเข้ม ผิวรังเรียบ และเปราะบาง การออกหาอาหารจะทำเป็นท่อทางเดินดินที่ค่อนข้างแบน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม ลักษณะการเข้าทำลายมักจะกินเข้าไปภายในเนื้อไม้เป็นรองลึกไปตามความยาวของเสี้ยนไม้ พบเข้าทำลายไม้ในอาคารบ้านเรือนในเขตชนบท

 2. วิธีการควบคุมปลวก

ปลวกโดยส่วนมากจะมีช่องทางการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่หลายช่องทาง อาทิเช่น ตามรอยแตกราวของพื้นคอนกรีต บันได หรือรอยต่อระหว่างพื้นคอนกรีตและผนังอาคาร ตามท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง และตามท่อสายไฟ หลักการควบคุมปลวกนั้น มีวิธีการดังนี้

 2.1        การใช้ศัตรูธรรมชาติ (Pathogenic agents)

เช่น การใช้เชื้อรา แบคทีเรียและไส้เดือนฝอย เป็นต้น

2.2        การป้องกันโดยใช้สารเคมี

การใช้สารกำจัดปลวก (termiticides) เป็นการำจัดโดยการฉีดพ่นหรืออัดสารกำจัดปลวกลงไปในพื้นดิน เช่น การใช้เหยื่อ (bait) ใช้สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์และกลุ่มอื่นๆ

กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส (Oganophosphate)

-          chlopyrifos 40 EC 0.5 – 1.0 %

-          fenobucarb 15 MC 0.3 – 0.5 %

กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์

-          cypermethrin 25 EC 0.125 – 0.5 %

-          cypermethrin 10 MC 0.125 – 0.25 %

-          alphacypermethrin 4.8 SC, 1.5 SC 0.05 – 0.2 %

-          alpha cypermethrin 10 EC 0.05 – 0.2 %

-          permethrin 38.4 EC 0.5 – 2%

-          permethrin 36.8

-          permethrin 25-30 EC 0.25 – 0.75 %

-          permethrin 380 EC 0.48 – 1.2 %

-          bifenthrin 380 EC 0.48 – 1.2 %

-          bifenthrin 2.5 EC 0.025 – 0.1 %

-          bifenthrin 3 EC 0.05 – 0.12 %

-          bifenthrin 240 EC 0.05 – 0.12 %

-          fenvalerate 10 EC 0.5 – 1.0 %

-          deltamethrin  2.5 EC 0.005 - .05 %

-          deltamethrin 5 EC 0.05- 0.075 %

-          deltamethrin 12.5 EC 0.65- .175 %

-          deltamethrin 25 SC 0.075 – 0.25 %

-          lambdacyhalothrin 10 EC 0.5 – 1.0 %

กลุ่มอื่นๆ (Other groups)

-          กลุ่มคลอโรนิโคตินิล (chloronicuetinyl) ได้แก่ 350 SC 0.01 – 0.2 %

-          กลุ่มเฟนนีลไพราโซล (phenyl pyrazole) ได้แก่ fipronil 25 EC 0.0075 – 0.09%

-          กลุ่มไซเลน (silane) ได้แก่ silafluofen 0.15 – 0.5 %

2.2.1        การใช้สารป้องกันเนื้อไม้ (wood preservatives)

2.2.2        การใช้สารธรรมชาติจากพืช (plant natural extract)

เช่น ใบยูคาลิปตัส ใบเมล็ด ใบหรือเมล็ดสะเดา และใบกระเพรา เป็นต้น

2.3        การป้องกันโดยไม่ใช้สารเคมี

เช่น การใช้แผ่นโลหะ โลหะผิวลื่น การใช้เศษหินบก เศษแก้วบด การใช้ไม้ที่มีความทนทานต่อธรรมชาติ

2.4        การควบคุมโดยการใช้เหยื่อ (bait)

เป็นวิธีที่ทำให้ปลวกตายอย่างต่อเนื่อง เช่น สารควบคุมการเจริญเติบโต (Insert growth regulator) หรือการใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์ช้าที่มีคุณสมบัติพิเศษดึงดูดให้ปลวกเข้ามากิน

2.5        การใช้กับดักแสงไฟ (light tray)

ดึงดูดหรือขับไล่แมลงเม่า เพื่อลดปริมาณที่จะผสมพันธุ์และสร้างปลวกใหม่

 

  1. 3. การจัดการปลวก

จากการที่ประเทศไทยตั้งอยู่เขตร้อนชื้นซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลวกหลายชนิด ประกอบด้วยค่านิยมของคนไทยทีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนให้มีลักษณะแตกต่างไปจากอดีต โดยนำรูปแบบการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนของชาวตะวันตกมาใช้ โดยส่วนใหญ่จะออกแบบให้มีลักษณะที่ปิดทึบ มีการระบายอากาศน้อย ซึ่งลักษณะที่เหาะสมต่อการสร้างรังและการเจริญเติบโตของปลวกใต้ดินหรือมีการเลือกวิธีใช้วัสดุที่สามารถเก็บความร้อนได้ดี เพื่อป้องกันอากาศที่หนาวเย็นได้ เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่น จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาในด้านความเสียายที่รุนแรงจากกการเข้าทำลายของปลวกในบ้านเรือนตลอดมา อีกประการหนึ่งลักษณะอาคารที่ปิดทึบจะทำให้ปลวกสามารถหลบซ่อนตัวได้ดี ยากที่ควบคุมกำจัดนอกจากนั้นการป้องกันและกำตัดปลวกในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารเคมีชนิดออกฤทธิ์เร็ว โดยมิได้คำนึงถึงอันตรายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นเพื่อให้การจัดการเกี่ยวกับปลวกทำลายอาคารบ้านเรือนในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการนอกจากจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกแต่ละชนิดเป็นอย่างดีแล้ว ยังจะต้องมีความรู้ความเข้าใจกรรมวิธีในการป้องกันกำจัดปลวก เพื่อที่จะสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาบูรณาการเพื่อวางแผนและวางแนวทางในการจัดการเกี่ยวกับปลวกร่วมกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป โดยมีหลักเกณฑ์ที่ควรทราบ 4 ประการดังนี้

 3.1        คุณสมบัติของผู้ดำเนินการ

การจัดการปลวกให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น ผู้ปฏิบัติกาควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้

3.1.1        เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยา และนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี

3.1.2        เป็นผู้ที่มีความชำนาญในกาสำรวจ หรือวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของแหล่งที่เกิดปัญหาและประเมินความเสียหายได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถที่จะนำข้อมูลไปวางแผนและวางแนวทางในการจัดการปลวกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3.1.3        เป็นผู้มีวิจารณญาณที่ดี ในการพิจารณาเลือกใช้แนวทางในการจัดการว่าควรจัดการอย่างไร ใช้กรรมวิธีใด จุดที่ควรดำเนินการและระยะเวลาการดำเนินการที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ และควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการจัดการด้วย เช่น ทัศนคติของบุคลากรที่รับบริการ งบประมาณในการดำเนินการ ประสิทธิผลในการควบคุมความปลอดภัย ระยะเวลาหรือความยุ่งยากในการดำเนินการ เป็นต้น

3.1.4        เป็นผู้ทีมีความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดของขั้นตอนในกรปฏิบัติงานของแต่ละกรรมวิธีที่จะนำมาใช้ในการจัดการเป็นย่างดี

3.1.5        เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง ซึ่งจะต้องมีการควบคุมดูแลและติดตามประเมินผลของการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

3.1.6        เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้และความสามารถเพียงพอ ในกรแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้จากผลของการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎี

3.1.7        เป็นผู้ทีมีความซื่อสัตย์และจิตสำนึกที่ดีต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

 3.2        พัฒนาการของการกำจัดปลวก

ในการจัดการปลวก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด จำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบ วิธีการและผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาดำเนินการร่วมกัน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและสมควรที่จะพัฒนานำมาใช้ในอนาคต ได้แก่

3.2.1        สารสกัดธรรมชาติจากพืช เช่น ใบยูคาลิปตัส ใบเมล็ด ใบหรือเมล็ดสะเดา ใบกระเพรา ส่วนของเปลือกเมล็ดหรือพืชในตระกูลพริกไทยและรากหญ้าแฝก เป็นต้น

ชนิดของสารอาจนำมาพัฒนาใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะมีฤทธิ์ที่รุนแรงเฉียบพลันมาก แต่มีอายุความคงทนสั้นหรืออาจใช้ในรูปของสารสกัดในสารระเหยหลายชนิดต่างๆ เช่น petroleum ether, chloroform, ethyl acetate และ methanol เป็นต้น สารสกัดจากธรรมชาติที่เหมาะสมในการนำมาใช้ฉีดพ่นหรือกำจัดปลวกเฉพาะจุด โดยเฉพาะภายในอาคารบ้านเรือนที่ต้องการควบคุมความปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยสูงและไม่ต้องการพิษตกค้างของสารเคมีในระยะยาวในสิ่งแวดล้อม

3.2.2        ศัตรูธรรมชาติ ที่ได้มีการศึกษาทดลองและพบว่ามีศักยภาพที่สมควรจะพัฒนานำมาใช้ในการกำจัดปลวก ได้แก่ เชื้อรา (funigi) ในสกุล Metarhiziumและ Beauveria แบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis และไส้เดือนฝอย (nematode) ในสกุล Steinernema sp. เป็นต้น

 3.3        ขั้นตอนการดำเนินการจัดการปลวกทำลายอาคารบ้านเรือน

แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

3.3.1        การจัดการปลวกในระยะก่อนการปลูกสร้างอาคาร มีขั้นตอนดังนี้

การสำรวจพื้นที่จะปลูกสร้างอาคาร

พื้นที่ที่จะปลูกสร้างอาคาร ควรทำการสำรวจให้ทั่วอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อหาแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของปลวก อาจสังเกตได้จากรังดินขนาดเล็กที่อยู่บนพื้นดิน บนกิ่งไม้ ต้นไม้หรือจอมปลวกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่บนพื้นดิน สำหรับปลวกบางชนิดที่อาศัยทำรังอยู่ใต้พื้นดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปลวกใต้ดินชนิด Coptotermes gestroi ซึ่งเป็นชนิดที่พบเข้าทำลายในในอาคารบ้านเรือนและก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประเทศไทยนั้น จะสำรวจพบได้ตามแหล่งอาหารต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ตามท่อนไม้ เสาไม้ กิ่งไม้ ตอไม้ และรากไม้ที่อยู่บนพื้นดินหรือใต้ดิน ตลอดจนสำรวจร่องรอยการเข้าทำลายของปลวกตามบริเวณกิ่งไม้หรือลำต้นไม้ที่ปลูกไว้จากร่องรอยของการกินเนื้อไม้ ลักษณะของทางเดินดินที่เคลือบอยู่ที่ผิวไม้ โดยในการสำรวจต้องมีการพลิกหรือขุดผ่าดูภายในท่อนไม้หรือตอไม้นั้นๆ ด้วย

การดูแลและทำความสะอาดพื้นที่

หลังจากที่สำรวจพบแหล่งอาหารแลพะแหล่วงที่อยู่อาศัยของปลวกแล้ว จำเป็นต้องกำจัดเคลื่อน ย้ายหรือขุดรังปลวกหรือวัสดุต่างๆ ที่จะเป็นแหบ่งอาหารหรือแหล่งอาศัยของปลวกได้ออกเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดความรุนรงในการเข้ามาทำลายของปลวกลงระดับหนึ่ง

การออกแบบอาคาร

การอออกแบบลักษณะของอาคารบ้านเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้สามารถลดความรุนแรงในการเข้าทำลายของปลวกได้นั่น ควรกำเนินการดังนี้

-          ควรออกแบบอาคารให้มีการยกพื้นให้สูงขึ้นจากระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 3 ฟุต เพื่อให้การระบายอากาศที่ดีและสามารถสังเกตเส้นทางทางเดินของปลวกที่จะทำขึ้นสู่โครงสร้างส่วนบนของอาคารได้ง่าย ในกรณีที่สงสัยว่าภายใต้อาคารอาจมีปลวกอาศัยอยู่จะได้เข้าไปสำรวจและควบคุมได้สะดวก

-          ควรออกแบบอาคารให้มีระบบการระบายน้ำที่ดี ทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร เช่น หลีกเลี่ยงการออกแบบอาคารลักษณะที่มีพื้นลาดเอียง หรือมีการถมดินบริเวณริบๆอาคารให้สูงกว่าพื้นดินภายใต้อาคาร ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดเป็นแหล่งสะสมความชื้นภายใต้อาคาร หลีกเลี่ยงการออกแบบให้มีการปลูกต้นไม้ติดตัวอาคาร ซึ่งต้องมีการรดน้ำอยู่เสมอๆ อันเป็นอีกสาเหตุหนึ่งทีทำให้พื้นดินบริเวณรอบๆ อาคารเป็นแหล่งความชื้นเหมาะต่อการชักนำให้ปลวกเข้ามาอาศัยในบริเวณอาคารมากขึ้น นอกจากนี้ในส่วนที่เป็นหลังคาและชายคา ควรมีการวางระบานน้ำฝนและป้องกันไม่ให้มีการรั่วไหลซึมของน้ำตามจุกรอยต่อต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความชื้นสะสมภายในตัวอาคารได้

-          ควรออกแบบตัวอาคารให้มีแสงสว่างส่องได้ทั่วถึง และมีการระบายถ่ายเทอากาศที่ดี เช่น  ในอาคารที่มีลักษณะการยกพื้นดินเล็กน้อย (crawl space) และมีการก่ออิฐปิดไว้โดยรอบเพื่อความสวยงามนั้น ควรออกแบบให้มีช่องระบายอากาศไว้โดยรอบอย่างเพียงพอสำหรับและทำลายอยู่เสมอ เช่น บริเวณห้องน้ำ ห้องส้วมหรือห้องครัว ควรออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดีและมีแสงสว่างเข้าถึงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะอำนวยต่อการเข้าทำลายของปลวกที่รุนแรง

-          ควรเลือกใช้วัสดุปลูกสร้างที่มีความคงทนต่อปลวก เช่น เลือกใช้วัสดุหรือไม้ชนิดที่มีความทนทานต่อปลวกสูง โดยเฉพาะบริเวณรากฐานของอาคาร เช่น เสาหรือคานคอดินรวมถึงส่วนของโครงสร้างอาคารที่ติดต่อกันกับพื้นดินโดยตรง เช่น บันได วงกบประตูหรือผนังอาคารบริเวณส่วนล่าง ควรพิจารณาเลือกใช้วัสดุที่คอนกรีตหรือวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตขึ้นมาจำหน่ายเพื่อใช้ทดแทนไม้ในท้องตลาด สำหรับโครงสร้างส่วนบนอาคาร จำเป็นต้องมีการใช้ไม้มาตบแต่งอาคารนั้น ควรเลือกใช้ไม้ที่มีความทนทานตามธรรมชาติสูงต่อการเข้าทำลายของปลวก เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้ตำเสา หรือไม้หลุมพอ เป็นต้น ควรเลือกใช้ไม้ที่ผ่านกรรมวิธีการป้องกันรักษาเนื้อไม้มาแล้ว สามารถช่วยลดความรุนแรงในการเข้าทำลายของปลวกได้ระดับหนึ่ง

การใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ โดยการพ่น ทา แช่ จุ่ม หรืออัด โดยใช้กำลังอัดเพื่อให้สารเคมีแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้และเป็นพิษต่อปลวกโดยตรงเมื่อปลวกสัมผัสหรือกัดกินเข้าไป

  สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ (wood preservatives)

จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเนื้อไม้เป็นพิษต่อปลวก อาจเป็นชนิดละลายในน้ำหรือชนิดละลายน้ำมันหรือชนิดพร้อมใช้ ลักษณะการใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้อาจเลือกใช้วิธีการทา จุ่ม แช่ หรือัดด้วยความดัน ประเภทของสารป้องกันรักษาเนื้อไม้ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบัน มี 3 ประเภท คือ

  1. 1. สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทน้ำมัน

เป็นสารที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ หรือ ครีโอเสท เป็นสารเหนียว ข้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีกลิ่นฉุน มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารกำจัดแมลงและสารดำจัดเชื้อรา สลายตัวยากถูกชะล้างและระเหยได้ยาก นิยมใช้ในการอาบน้ำยาไม้ใช้กลางแจ้งภายนอกอาคารเนื่องจากมีกลิ่นและทำให้ไม้เปลี่ยนสีเป็นสีดำ ทาสีทับไม่ได้

  1. 2. สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายในสารทำละลายอินทรีย์

เป็นสารประกอบที่เกิดจากการผสมสารกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อราและสารแทรก (additives) สารที่นินมใช้มากในอดีต คือ pentachlorphenol และ lindane ปัจจุบันสารประกอบทั้งสองชนิดถูกกำจัดการใช้ลงมากเนื่องจากเป็นสารกลุ่มเดียวกับสารที่เชื่อกันว่า ก่อให้เกิดมะเร็งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทนี้มักมีราคาแพง เนื่องจากตัวทำละลายอินทรีย์มีราคาค่อนข้างแพง จึงได้คิดสูตรเคมีใหม่ขึ้นมาให้สามารถใช้นำทันเป็นตัวทำให้ความเข้มข้นของสารประเภทที่ 2 เจือจางลง จะได้น้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ที่มีราคาต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำให้เจือจาง

  1. 3. สารป้องกันรักษาเนื้อไม้ประเภทเกลือเคมีละลายน้ำ

สารจำพวกนี้ประกอบด้วยส่วนผสมของเกลือเคมีหลายชนิดผสมกันโดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย สารประเภทนี้แม้จะละลายมในน้ำแต่เมื่อัดเข้มไปในเซลล์ของไม้แล้วจะเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมีตัวอื่น ซึ่งเกาะติดอยู่ภายในเนื้อไม้ได้ดี ไม่ถูกชะล้างหรือระเหยไปจากไม้ได้ง่ายตัวยาที่นิยมใช้กันทั่วไปในประเทศไทยปัจจุบันคือ CCA ประกอบด้วย ทองแดง โครเมี่ยมและสารหนู (copper-chreme-arsenate) และ CCB ประกอบด้วย ทองแดง โครเมียม และโบรอน (Copper-chreme-boron) องแดงจะออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดเชื้อรา สารหนูและโบรอนจะป้องกันและกำจัดปลวกส่วนโครเมี่ยมจะช่วยทำให้ตัวยาอื่นๆ คือทองแดง สารหนู โบรอน ติดอยู่ในเนื้อไม้ได้นาน นอกจาก CCA และ CCB และสารประกอบอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันกับสารประกอบทั้งสองชนิดแล้ว เกลือเคมีอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้มากในประเทศไทยเช่นกัน คือ สารประกอบของโบรอน เช่น เกลือโบเรต หรือ กรดโบริค เป็นต้น

การวางแนวป้องกันเส้นทางเดินของปลวกใต้ดินที่จะขึ้นมาจากพื้นดินเข้ามาสู่ตัวอาคารและโครงสร้างส่วนบน

-          การวางแนวป้องกันโดยไม่ใช้สารเคมี (วัตถุอันตราย) หรือโดยการใช้วิธีกล เช่น

การใช้วัสดุหินบด วัสดุเศษแก้วบดหรือวัสดุธรรมชาติชนิดอื่น

เป็นวัสดุปูรองพื้นอาคารก่อนเทพื้นคอนกรีต ปูรองก้นหลุมหรือปูไว้โดยรอบเสาหรือบริเวณส่วนของอาคารที่เชื่อมติดกับพื้นดิน เพื่อเป็นแนวทางป้องกันกับเส้นทางเดินของปลวกที่จะเจาะผ่านทะลุขึ้นมาจากพื้นดิน โดยลักษณะและคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุที่นำมาใช้จะต้องมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับปลวกแต่ละชนิด ดังนี้

-          ขนาดของวัสดุที่จะนำมาใช้จะต้องมีความสม่ำเสมอพอดี เทื่อนำมาปูหรืออักรวมกันให้เป็นชั้นแล้ว จะต้องมีการเรียงตัวที่ชิดกันพอดีที่จะไม่ทำให้เกิดช่องว่างในระหว่างชั้นของวัสดุที่มีขนาดใหญ่จนปลวกสามารถเดินทะลุผ่านขึ้นไปได้

-          น้ำหนักของวัสดุ จะต้องมีน้ำหนักที่มากพอที่ปลวกจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกไปได้

-          ความแข็งของวัสดุ จะต้องมีความแข็งแรงมากพอที่ปลวกจะไม่สามารถกัดให้แตกย่อยเป็นขนาดที่เล็กลงไปได้อีก

สำหรับขนาดของวัสดุหินบด ที่เหมาะสมจะนำมาใช้ปูพื้นเพื่อใช้เป็นแนวป้องกันเส้นทางเดินของปลวกใต้ดินชนิด                              Coptotermes gestroi ซึ่งชนิดที่เข้าทำลายไม้ภายในอาคารบ้านเรือนก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดนั่น ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเม็ดหินระหว่าง 1.7 – 2.4 มิลลิเมตร (ยุพาพรและจารุณี, 2536., ขวัญชัย และคณะ, 2542) จากผลการทดสอบชนิดนี้สามารถใช้ในการป้องกันการเข้ามาทำลายของปลวกได้ประมาณ 4 ปี หลังจากนั้นวัสดุหินเริ่มสึกกร่อนและเปลี่ยนแปลงสภาพและขนาดรูปร่างไป สำหรับในประเทศออสเตรเลีย พบว่าได้มีการนำวัสดุถหินบดนี้มาใช้กันมานานแล้วและมีจำหน่ายในชื่อการค้าว่า Grani guard (French, 1989; French และ Ahmad, 1993; French และคณะ, 1993) ซึ่งเป็นวัสดุหินแกรนิตบด ที่มีความแข็งมากกว่าวัสดุหินปูนที่ได้นำมาใช้ควรเลือกใช้วัสดุที่มีความแข็งมากกว่านี้เพื่อที่จะสามารถป้องกันปลวกได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนนานยิ่งขึ้น

การทำร่องซีเมนต์ไว้โดยรอบบริเวณโคนเสาคอนกรีตแล้วหล่อด้วยน้ำหรือสารละลายที่เป็นน้ำมัน

เช่น น้ำมันเครื่อง ในอาคารทีมีลักษณะใต้ถุนสูงหรืออาคารที่ยกพื้นสูงจากพื้นดินเล็กน้อย โดยให้มีขนาดทั้งความยาว ความกว้างและความสูงของร่อง ประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ปลวกเดินผ่านไปตามเสาได้ วิธีการนี้เหมาะสมจะนำไปใช้ป้องกันปลวกในอาคารบ้านเรือนในชนบทหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่ต้องการความสวยงาม แต่ต้องกาประหยัดค่าใช้จ่ายหรืออาจนำไปใช้ในกรณีของอาคารที่ติดกับแหล่งน้ำและไม่ต้องการให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีไปสู่แหล่งน้ำ การป้องกันโดยวิธีนี้จำเป็นต้องหมั่นคอยเติมน้ำหรือน้ำมันอยู่เสมอ

การใช้กระบังโลหะผิวเรียบ (termite shield)

โดยการนำแผ่นโลหะผิวเรียบที่เป็นสนิมยาก เช่น แผ่นอลูมิเนียมหรือสแตนเลสมาทำเปผ็นขอบหรือกระบังป้องกันเส้นทางที่ห่อหุ้มรอบเสานี้ ควรมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและทำมุมเอียง 45 องศา กับแนวของเสาและท่อน้ำ โดยวางตำแหน่งของกระบังโลหะให้อยู่ในระดับที่สูงจากพื้นดินพอประมาณ เพื่อให้วสามารถง่ายต่อการสังเกตและการทำการกำจัดหรือทำลายเส้นทางเดินของปลวกได้ทันก่อนที่จะเข้าไปส่วนบนของอาคาร วิธีการนี้มีข้อกำจัด คือ แนวป้องกันโลหะไม่สามารถป้องกันปลวกได้ดีกรณีที่เสานั้นทีรอยแตกขึ้นหรือมีต้นไม้หรือวัสดุอื่นๆ มาพาดพิงหรือเชื่อมต่อระหว่างพื้นดินและตัวอาคาร

การใช้แผ่นตะแกรงสแตนเลส (Stainless steal mesh)

โดยการนำแผ่นตะแกรงที่รูตะแกรงมีขนาดเล็กมาที่ปลวกจะไม่สามรถเดินลอดผ่านไปได้มาปูรองพื้นอาคารส่วนที่ติดกับพื้นดินทั้งหมด สำหรับท่อน้ำทิ้ง กล่องสายไฟหรือส่วนต่อของรางน้ำลงดิน ต้องหุ้มด้วยตะแกรงโลหะโดยรอบที่ติดดินด้วย ในประเทศออสเตรเลียมีจำหน่ายในชื่อการค้า เรียกว่า termi-mesh (lenz และ Runko, 1994) สำหรับประเทศไทยยังไม่มีตัวแทนจำหน่ายเพราะจำเป็นต้องให้ผู้ชำนาญการวางแนวป้องกันจากต่างประเทศ

การวางแนวป้องกันโดยการใช้สารกำจัดปลวก (termite barrier)

วิธีการนี้เป็นการใช้สารำจัดปลวกทำให้พื้นดินภายใต้อาคารและบริเวณรอบอาคารเป็นพิษต่อปลวก การป้องกันการเข้าทำลายของปลวกใต้ดินให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูง ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

สำหรับอาคารพื้นติดดิน

ถมดินและปรับระดับพื้นใต้อาคารให้ได้ระดับทีต้องการโดยเก็บเศษไม้ เศษวัสดุหรือข้าวของที่เป็นแหล่งอาหารของปลวกออกให้หมด

ใช้สารกำจัดปลวกฉีดพ่นหรือราดลงบนพื้นผิวใต้ตัวอาคารให้ทั่ว อัตราน้ำยาผสมตามความเข้มข้นที่กำหนด 5 ลิตรต่อทุก 1 ตารางเมตร สำหรับบริเวณแนวคานคอดิน ให้ขุดเป็นร่องกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร ทั้งในและนอก แล้วจึงใช้น้ำยาที่ผสมแล้วเทราดลงไปตามร่องในอัตราน้ำยาผสม 5 ลิตรต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร

ฉีดพ่นหรือราดด้วยสารกำจัดปลวกซ้ำอีกครั้ง หลังจากที่ทำการถมดินหรือถมทรายแล้วอัดพื้นให้แน่นก่อนจะเทพื้นคอนกรีต

บริเวณรอบๆ อาคารควรฉีดหรือพ่นสารกำจัดปลวกเป็นแนวป้องกันรอบนอกอาคารอีกครั้งโดยใช้สารกำจัดปลวกที่ผสมแล้วในอัตรา 5 ลิตรต่อทุกระยะ 1 ตารางเมตร

สำหรับอาคารใต้ถุนสูง

ให้ขุดดินตรงบริเวณรอบโคนเสา ตอม่อหรือรอบท่อต่างๆ ที่ตอดต่อระหว่างอาคารกับพื้นดินทุกแห่งให้เป็นร่องโดยรอบ ให้มีขนาดความกว้าง 15-30 เซนติเมตร ลึก 20-30 เซนติเมตร เทสารกำจัดปลวกลงไปในร่องในอัตราผสม 5 ลิตรต่อความยาวร่อง 1 เมตร หากใต้ถุนบางส่วนมีการเทพื้นคอนกรีตหรือก่ออิฐปูน เช่น มีครัวที่ติดกับพื้นดิน พื้นซักล้างและที่ฐานรองรับบันได้บ้าน ต้องใช้น้ำยาเทราดทั่วผิวดินก่อนเทคอนกรีตจะป้องกันปลวกขึ้นอาคารบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี

 

 

3.3.2        การจัดการปลวกในระยะอาคารที่ปลูกสร้างแล้ว

ขั้นตอนนี้ค่อนข้างยุ่งยากในการปฏิบัติ มากกว่าการป้องกันในระยะก่อนการปลูกสร้างมาก จำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาเข้าดำเนินการสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วนและวางแผนและแนวทางการจัดการแต่ละจุดให้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการกำจัดปลวกระยะหลังการปลูกสร้าง จะหวังผลเต็มที่ 100 % ไม่ได้ เนื่องจากลักษณะอาคารมักมีความซับซ้อน ทำให้มีจุดที่ปลวกอาจหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโดยที่สำรวจไม่พบ นอกจากนี้โครงสร้างของอาคารบางส่วนอาจเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการในจุดนั้นได้ นอดังนั้นเพื่อให้การจัดการปลวกในอาคารที่ปลูกสร้างแล้วมีประสิทธิภาพ ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

3.3.2.1        การสำรวจและตรวจสอบอาคาร

ควรทำการสำรวจ หาจุดที่ปลวกเข้าทำลายอย่างถี่ถ้วนทั้งในอาคารและบริเวณรอบอาคาร จดบันทึกรายละเอียดต่างๆ รวมถึงการเก็บตัวอย่างแมลงศัตรูที่พบเพื่อนำไปวิเคราะห์และสรุปหาสาเหตุต่อไป เพื่อทำให้ทราบชนิดของศัตรูที่เข้าทำลายว่าเป็นชนิดใด เช่น เป็นปลวกไม้แห้ง มอดหรือปลวกใต้ดิน มีการเข้าทำลายโครงสร้างใดบ้าง ลักษณะความรุนแรงในการเข้าทำลายมากน้อยอย่างไร ข้อมูลนี้มีประโยชน์ในการวางแผนและวางแนวทางการจัดการปลวกให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

จุดสำคัญในอาคารที่ควรทำการสำรวจ

-          สำรวจตามจุดที่เป็นแหล่งอาหารของปลวก เช่น โครงสร้างไม้ภายในอาคาร เช่น เสา คาน พื้นไม้ ขอบบัวของพื้น วงกบประตูและหน้าต่าง ฝาผนัง ไม้คร่าวต่างๆ เป็นต้น โดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ในบริเวณฐานรากซึ่งเป็นจุดที่ติดต่อกับพื้นดินโดยตรงและง่ายต่อการเข้าทำลายของปลวก นอกจากนี้วัสดุอื่นๆ ที่ทำมาจากไม้ เช่น ข้างของ เครื่องเรือนเครื่องใช้ต่างๆที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบในการตบแต่งภายในอาคารบ้านเรือนและภายนอกอาคารในรูปแบบต่างๆ รวมถึงต้นไม้ ตอไม้ เศษไม้ ท่อนไม้หรือกองไม้ต่างๆ ที่อยู่นอบอาคาร ล้วนเป็นแหล่งอาหารของปลวกแทบทั้งสิ้น

-          เน้นการสำรวจตามโครงสร้างที่อยู่ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงสูงต่อการเข้าทำลายและการเข้ามาอาศัยของปลวก เช่น

-          บริเวณที่มีรอยแตกร้าว โดยเฉพาะฐานรากของอาคารที่ติดกับพื้นดิน เช่น แนวคานคอดิน เสา พื้นคอนกรีต ฐานบันได ฝาผนังและบริเวณมุมห้อง เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณจุดหรือสถานที่ทีทักจะเป็นแหล่งสะสมความชื้นหรือมีลักษณะที่เงียบ มืดและอับชื้นควรทำการสำรวจและตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วน

-          บริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง ท่อสุขภัณฑ์ ที่ก่อผนังปิดหุ้มไว้เป็นจุดที่ปลวกทำทางเดินขึ้นมาสู่ตัวอาคาร นอกจากนี้โครงสร้างของอาคารที่มีลักษณะเป็นฝาสองชั้น ส่วนใหญ่ไม้เนื้ออ่อนมาทำเป็นคร่าวอยู่ภายใน ก็จะเป็นจุดที่มักจะพบปลวกเข้าไปอาศัยและกินเนื้อไม้ในบางครั้งอาจพบปลวกมาสร้างรังสำรองอยู่ภายในช่องว่างระหว่างฝาสองชั้น

-          บริเวณห้องน้ำ ห้องครัวเป็นจุดที่มีการสะสมความชื้นอยู่เสมอประกอบกับมีท่อน้ำ ก๊อกน้ำหรือโครงสร้างอื่นๆ ที่อยู่ในลักษณะที่ปลวกสามารถใช้เป็นสะพานเชื่อมต่อจากพื้นดินขึ้นมาสู่ตัวอาคารได้

-          บริเวณห้องเก็บของใต้บันได ตู้เก็บหนังสือหรือตู้เก็บเอกสารซึ่งมักมีสภาพที่มืด เงียบและอับชื้น การระบายอากาศน้อยหรือมีสิ่งของที่ถูกเก็บทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายเป็นจุดอ่อนที่พบปลวกเข้ามาทำลายอยู่เสมอ

-          บริเวณแนวคานและแนวท่อต่างๆ ที่อยู่ภายในฝาเพดานหรือบริเวณด้านใต้หรือด้านหลังของเครื่องปรับอากาศ ที่มีการรั่วซึมของน้ำออกมาจากเครื่องปรับอากาศ เป็นจุดที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูง ปลวกชอบใช้เป็นแหล่งสร้างรัง

-          บริเวณเชิงชายชองหลังคาหรือคร่าวฝ้าเพดาน เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรสำรวจเนื่องจากเป็นจุดทีมักมีการรั่วซึมของน้ำฝนจากหลังคามาสะสมไว่ในอาคารทำให้เกิดสภาพที่จะชักนำปลวกเข้ามาทำลายได้

วิธีการสำรวจหาปลวกที่เข้ามาทำลายในอาคารบ้านเรือน

-          สำรวจจากเส้นทางเดินของปลวกจะเข้าสู่ตัวอาคาร โดยสังเกตจากท่อทางเดินของปลวกที่สร้างขึ้นมาตามรอยแตกร้าวขอโครงสร้างอาคาร บริเวณฐานราก เช่น เสา คาน ผนัง วงกบประตู หน้าต่าง ตามแนวคานในฝ้าเพดารหรือตามทอระบายน้ำ เป็นต้น อุปกรณ์จำเป็นใช้ เช่น ไฟฉายช่วยส่องแสงในบริเวณที่เป็นมุมมืดให้สามารถสังเกตเห็นเส้นทางทางเดินของปลวกและการเข้ทำลายได้ชัดเจนขึ้น

-          สำรวจจากโครงสร้างวัสดุต่างๆ ที่มีร่องรอยการเข้าทำลายของปลวก อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น มัดปลายแหลม ไขควงหรือเหล็กแหลม เพื่อทิ่มแทงหรือเคาะไปตามแนวโครงสร้างไม้ เช่น คร่าวฝา คร่าวเพดาน เสา พื้นหรือผนังระหว่างคร่าวฝานั้นเพื่อหาจุดทีมีปลวกหรือบริเวณที่มีการเข้าทำลาย ผู้มีประสบการณ์ในการสำรวจวามาถบอกความแตกต่างของลักษณะเสียงที่เคาะไปตามโครงสร้งไม้ได้ สามารถสันนิษฐานได้ว่าจุดหรือบริเวณนั้น มีปลวกเข้าทำลายแล้วหรือไม่และมากน้อยอย่างไร หรืออาจมีรังปลวกเข้าไปอาศัยอยู่เต็มช่องว่างระหว่างฝาสองชั้นนั้นจำเป็นต้องรื้อโครงสร้างนั้นเพื่อกำจัดปลวกออกไป สำหรับโครงสร้างถูกปลวกเข้ทำลาย เมือใช้มีดหรือเหล็กแหลมทิ่มแทงเข้าไปที่ผิวไม้ จะทะลุเขาไปภายในได้ง่ายเพราะเนื้อไม้ถูกปลวกทำลายจนเหลือแต่ผิวไม้ที่เป็นฟิล์มบางหุ้มอยู่ ส่วนภายในจะพบโครงสร้างดินโปร่งๆ คล้ายฟองน้ำ แต่ผิวไม้ด้านนอกยังคงดูเหมือนปกติอยู่

ปัจจุบันมีบริษัทพยายามคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจหาปลวกโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น insecta – scope หรือ termitrap โดยใช้หลักการคล้ายกับการทำงานของเรดาร์ เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของปลวกในผนังปูน ผนังไม้ ช่องว่าสงในอิฐก่อหรือตู้ประกอบติดกับผนัง (built-in) ทำให้สามารถพบปลวกได้โดยไม่ต้องเคาะหรือเจาะผนัง แต่การใช้อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องอบรมเพิ่มทักษะและความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จากผู้ชำนาญการ นอกจากนี้การสำรวจหาปลวกจำเป็นต้องขยับและเคลื่อนย้ายข้าวของต่างๆ ออกจากบริเวณตำแหน่งเดิมที่เคยเก็บทับถมไว้เป็นระยะเวลานาน โดยยกหรือและขยับให้ห่างจากฝาผนังหรือมุมห้อง เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นการเข้าทำลายของปลวกได้ทั่วถึง

-          สำรวจและสังเกตจากแมลงเม่าที่บินออกมาจาสกโครงสร้างภายในอาคารหรือบินจากนอกอาคารเข่ามาในอาคารช่วงฤดูผสมพันธุ์จากรังปลวกที่เข้ามาสร้างรังภายในอาคาร

3.3.2.2        การวางแผนและแนวทางในการป้องกันและกำจัดปลวก

เมื่อได้ทำการสำรวจและตรวจสอบอาคารอย่างละเอียดถี่ถ้วนทำให้ทราบสาเหตุและความรุนแรงของจุดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต่อไปจึงเป็นขั้นตอนการพิจารณา วางแผนและวางแนวทางการกำจัดปลวกให้เหมาะสม แบ่งขั้นตอนเป็น 2 ระยะ ดังนี้

การควบคุมปลวกเฉพาะจุด

ในอาคารบ้านเรือนที่สำรวจพบมีปลวกเข้าทำลายอย่างรุนแรง จำเป็นต้องเร่งดำเนินการกำจัดจุดนั้นก่อน เพื่อลดความเสียหายและความรุนแรงในการเข้าทำลายให้ลดลงไปขั้นตอนที่เร่งด่วนนี้ต้องเลือกใช้วิธีการกำจัดที่สามารถจะลดจำนวนประชากรให้มากและเร็วที่สุดอาจใช้วิธีการต่างๆ ดังนี้

-          ขนย้ายชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆ เช่น กล่อง ลังเก็บหนังสือหรือโครงสร้างของไม้ที่มีปลวกทำลายมากออกไปกำจัดอาจใช้วิธีการเปา ใช้น้ำร้อนราดหรือเคาะเอาตัวปลวกทิ้งลงไปในบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น หรืออาจเลือกใช้สารกำจัดปลวกที่มีประสิทธิภาพมาฉีดพ่นให้ทั่ว เพื่อลดปริมาณของปลวกลงในระดับหนึ่ง การเลือกใช้สารกำจัดปลวกในระยะนี้ควรเลือกใช้สารกำจัดปลวกชนิดที่มีฤทธิ์ตกค้างนั้น มีพิษต่ำ ใช้ในอัตราความเข้มข้นต่ำสุด แต่มีประสิทธิภาพฆ่าปลวกได้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและลดอันตรายหรือพิษที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม สำหรับชนิดของสารกำจัดปลวกที่เลือกใช้ในระยะนี้ อาจใช้สารจำพวกน้ำมัน เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดหรือสารสกัดจากพืช เช่น สารสกัดจากใบหรือเมล็ดสะเดา น้ำมันหอมระเหยหรือสารสกัดจากใบยูคาลิปตัสหรือใบเมล็ดเป็นต้น

-          กำจัดเส้นทางเดินดินของปลวกที่ขึ้นมาเพื่อเข้าสู่โครงสร้างของอาคาร วิธีการนี้อาจใช้ในกรณีที่เมื่อสำรวจแล้วไม่พบดารเข้าทำลายของปลวกที่รุนแรงทั้งในและนอกอาคารหรือสังเกตเห็นเส้นทางเดินของปลวกขึ้นในบางจุดหรือมีร่องรอยการเข้าทำลายไม้เพียงเล็กน้อย การดำเนินการระยะนี้ไม่สามารถใช้วิธีการเขี่ยหรือรบกวนเส้นทางเดินดินของปลวกอยู่เสมอ ปลวกจะไม่สามารถลุกลามขึ้นไปก่อความเสียหายในส่วนอื่นของอาคารต่อไปได้ ซึ่งผู้ตรวจสอบและ (อยู่อาศัยต้องคอยสำรวจบริเวณอาคารบ้านเรือนอยู่เสมอ โดยเฉพาะจุดที่ติดต่อกับพื้นดินหรือจุดที่มักจะมีสภาพแวดล้อมที่ปลวกชอบ เช่น ในสภาพที่เงียบ มืดและอับชื้น

-          การวางเหยื่ออาหารล่อปลวกในและนอกอาคาร วิธีการนี้สามารถใช้ในการล่อปลวกจำนวนมากให้ออกมาจากอาคารหรือออกจากรังใต้ดินที่ไม่สามารถสำรวจพบได้ ให้เข้ามากินอาหารที่นำมาล่อไว้แล้วนำไปกำจัดเป็นระยะๆ โดยอาจใช้วิธีกล เช่น เผา น้ำร้อนลวกหรือเลี้ยงสัตว์ สามารถลดจำนวนปลวกที่อยู่ในพื้นที่นั้นให้น้อยลง ช่วยลดความรุนแรงการเข้าทำลายของปลวกให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจได้

การควบคุมโดยใช้เหยื่อ (bait)

ทำให้เกิดการตายต่อเนื่อง เป็นวิธีการใหม่ในการกำจัดปลวกมีหลักการดังนี้

  1. 1. ใช้วัตถุอันตรายที่ออกฤทธิ์ช้า มีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและแวดล้อมมีประสิทธิภาพในการขัดขวางกระบวนการตามธรรมชาติในการดำรงชีวิตของปลวก สามารถลดจำนวนประชากรปลวกจนถึงระดับที่ไม่กอให้เกิดความเสียหายหรือเกิดการตายของปลวกต่อเนื่องจนหมดรัง
  2. 2. ใช้วัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติพิเศษดึงดูดปลวกให้เข้ามากินและสามารุคงรูปอยู่ในตัวปลวกได้ดีในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิดการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่นในรังได้

เหยื่อ (bait)

เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต แล้วส่งผลให้เกิดการตายอย่างต่อเนื่องภายในรังของปลวก อาจเป็นกลุ่มคล้ายฮอร์โมนที่มีผลมนการควบคุมการเจริญเติบโต เช่น hexaflumuron, diflubezuron เป็นสารประเภทยับยั้งการสร้างผนังลำตัวหรือเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบทางเดินอาหารของปลวกสามารถถ่ายทอกไปยังปลวกตัวอื่นๆ ที่มากินซากปลวกที่ตายแล้ว เพราะกินเหยื่อชนิดนั้น เช่น disochin octoherate tetreahydrate ปัจจุบันมีเหยื่อกำจัดปลวกทั้งชนิดที่ติดตั้งภายในอาคารและชนิดฝังดินบริเวณรอบนอกอาคาร ในการนำเหยื่อกำจัดปลวกนี้ไปใช้จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ผ่าการอบรมให้มีความรู้ทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลวกเป็นอย่างดี และควรมีความชำนาญในการแก้ปัญหาระหว่างการวางและเปลี่ยนเหยื่อด้วย เนื่องจากประเทศไทยมีการปลูกสร้างอาคารลักษณะที่สลับซับซ้อน จึงจำเป็นต้องกัดแปลงระบบการวางเหยื่อให้เข้ากับสถานการณ์เพื่อล่อให้ปลวกเข้ามากินเหยื่อให้เร็วที่สุด

วิธีการวางเหยื่ออาหารล่อปลวก ขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

  1. 1. สำรวจหาเส้นทางเดินใต้ดิน ของปลวกชนิดที่เข้าทำลายอาคารบ้านเรือน (Coptotermes gestroi) ตัดส่วนปลายให้แหลมหรือเป็นรูปลูกศร เพื่อง่ายต่อการนำไปฝังลงในดิน จะฝังชิ้นไม้นี้ลงไปในดินบริเวณรอบอาคาร ระยะห่างกันประมาณ 1.0 –5 เมตร ทิ้งไว้นานประมาณ 1 เดือน จึงทำการตรวจสอบว่ามีปลวกเข้มาทำลายตรงจุดไหนบ้าง โดยถอนชิ้นไม้ที่ปักไว้ไว้ขึ้นมาแต่ละจุดที่พบว่ามีการทำลายของปลวกในไม้ทำให้ทราบเส้นทางเดินใต้ดินของปลวกแน่ชัดของหลุมประมาณ 50 – 90 เซนติเมตร หรือขนาดพอที่จะฝังท่อปูนซีเมนต์หรือท่อพีวีซีหรือถุงพลาสติกที่มีลักษณะเปิดหัวเปิดท้ายลงไป จากนั้นจึงนำไม้ยางพาราขนาดเดียวกันแต่ไม่ต้องตัดให้แหลมมาจัดเรียงลงในกล่องกระดาษลูกฟูก พยามจัดเรียงชิ้นไม่ให้พื้นผิวด้านกว่างติดกันแน่นสนิท ให้ความชื้นไม้ก่อนที่จะนำไปวางไว้ภายในบ่อหรือท่อที่ทำไว้ ปิดฝาทิ้งไว้นานประมาณ 1-2 เดือน ปลวกจะเข้ามากินชิ้นไม้เหยื่อเป็นจำนวนมาก
  2. 2. การกำจัดและเปลี่ยนเหยื่อใหม่ ปลวกที่เข้ามาอยู่กินภายนกล่องเหยื่อนี้ จะถูกนไปกำจัดทิ้งอาจใช้วิธีกลต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากนั้นจึงนำกล่องเหยื่อไม้ยางพาราใหม่กลับเข้ามาวางไว้แทนที่จุดเดิม ทำการดักปลวกเป็นระยะๆ ไปเรื่อยๆประมาณ 4-6 ครั้ง พบว่าปลวกเริ่มลดปริมาณลงไปจนไม่สามารถจะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงได้ เทคนิคการดักเก็บปลวกเริ่มลดปริมาณลงไปจนไม่สามารถนำไปใช้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกันกับวิธีการใช้สารออกฤทธิ์ประเภทสารยับยั้งการเจริญเติบโต และสามรถนำเทคนิคนี้ไปใช้ร่วมกับการกำจัดปลวกโดยชีววิธีในอนาคตได้ด้วย เช่น การใช้ nematode หรือจุลินทรีย์บางชนิด ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างขันตอนศึกษาทดลองภายในห้อง
  3. 3. การใช้แสงไฟดึงดูดหรือขับไล่ปลวกแมลงเม่า ปลวกวรรณะนี้พบในฤดูผสมพันธุ์ อาจเกิดขึ้นปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของปลวก แมลงเม่าจะบินออกมาจากรังเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ โดยทั่วไปมักจะบินมาเล่นไฟในพลบค่ำ ตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนถึงทุ่มครึ่ง ไม่เกินสองทุ่ม บางครั้งอาจพบแมลงเม่าบินออกจากรังหลังจากฝนตกใหม่ๆ ซึ่งเป็นสภาวะที่ดินมีความชุ่มชื้นและมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ของปลวก การจัดการปลวกในระยะนี้สามารถช่วยลดปริมาณแมลงเม่าที่จะผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ในบริเวณอาคารได้ การดำเนินการใช้วิธีการง่ายๆ เช่น การปิดไฟภายในบ้ายช่วงระยะเวลาดังกล่าว แล้วเปิดไฟบริเวณด้านนอกของอาคารแทนเพื่อดึงดูดให้แมลงเม่าออกไปเล่นไฟอยู่เฉพาะภายนอกอาคาร ในขณะเดียวกันควรจัดตั้งภาชนะปากกว้างใส่น้ำทิ้งไว้เพื่อดักแมลงเม่า จากนั้นนำไปกำจัดหรือนำไปใช้เป็นอาหารของคนหรือสัตว์

นอกจากนี้การใช้หลอดไฟที่ห่อหุ้มด้วยพลาสติกชนิดเคลือบสารพิเศษ เช่น แสง UV เพื่อขับไล่แมลงบินชนิดต่างๆ บริเวณรอบอาคาร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้แมลงเม่าบินเข้ามาผสมพันธุ์และสร้างรังในอาคารได้

  1. 4. การดูแลสถานที่และการจัดวางข้างของเครื่องเรือน เครื่องใช้ทั้งภายในและภายในอาคาร เพื่อช่วยลดความรุนแรงในการเข้าทำลายของปลวก ดังนี้

-          หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของลักษณะที่สัมผัสกับพื้นดินหรือพื้นอาคารโดยตรง ควรวางชั้นที่ยกระดับขึ้นเหนือพื้นดินหรือพื้นอาคารไม่น้อยกว่า 15 เซนตอเมตร หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของชิดมุมหรือตอดผนัง ควรวางห่างจากมุมห้องหรือฝาผนังระยะไม่น้อยกว่า 5 – 10 เซนติเมตร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี สามรถเข้าไปตรวจดูเส้นทางเดินดินของปลวกที่จะขึ้นมาได้และสามรถจะกำจัดได้ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงขึ้น

-          เคลื่อนย้าย รื้อสิ่งของและเปลี่ยนตำแหน่งการเก็บเครื่องเรือนเครื่องใช้อยู่เสมอ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถรบกวนการเข้าทำลายของปลวกได้ เนื่องจากปลวกมักจะอาศัยอยู่เฉพาะที่ที่เงียบสงบไม่มีอะไรมารบกวน

-          หลีกเลี่ยงกรปลูกต้นไม้ต่างๆ ในลักษณะที่ชิดหรือติดกับตัวอาคารเพื่อช่วยลดความรุนแรงการเข้ามาทำลายของปลวกภายในอาคารได้ เนื่องจากกิ่งก้านของต้นไม้อาจจะเป็นสะพานเชื่อมต่อเส้นทางเดินของปลวกให้เข้าสู่อาคารสะดวกขึ้น และบริเวณพื้นดินรอบอาคารที่ปลูกต้นไม้มัดมีการรดน้ำอยู่เสมอ ทำให้พื้นดินบริเวณนี้กลายเป็นจุดที่มีการสะสมความชื้นจัดเป็นปัจจัยที่ชักนำปลวกให้เข้ามาอาศัยและทำลายมากขึ้น

3.4        รูปแบบสูตรผสมที่เหมาะกับการนำไปใช้งาน

3.4.1        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกชนิดเข้มข้นใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ได้แก่

EC (emulsifiable concentration) ลักษณะของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อเจือจางด้วยน้ำจะได้สารอิมัลชั่น ที่มีลักษณะขุ่นขาว

SC (suspension concentration) ลักษณะเป็นสารผสมแขวนลอยของสารออกฤทธิ์ในของเหลว ไม่ตกตะกอนเมือนำไปเจือจาง

SL (soluble concentration) ลักษณะเป็นของเหลวที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้ต้องนำไปเจือจางด้วยน้ำ

SP (soluble power) ลักษณะเป็นรูปผง ก่อนใช้ต้องนำไปผสมน้ำ สารออกฤทธิ์ละลายน้ำได้ แต่สารไม่ออกฤทธิ์บางส่วนในสูตรไม่ละลายน้ำ

WP (wettable powder) ลักษณะเป็นผง ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยน้ำจะได้สารละลายในรูปของสารแขวนลอย สูตรนี้เหมาะสำหรับใช้ในการอัดสารกำจัดปลวกลงดินหรือฉีดพ่นบนพื้นดินบริเวณริบอาคารบ้านเรือน

ในการพิจารณาเลือกใช้สูตรตำรับใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้หรือราคาของสารกำจัดปลวกนั้น

3.4.2        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกชนิดเข้มข้น ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย ได้แก่

OL (oil miscible liquid) ลักษณะเป็นของเหลวที่เป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ สูตรนี้เหมาะจะนำไปใช้กับอุปกรณ์ชนิดเข็มหรือหลอดฉีดยา เพื่ออัดหรือฉีดพ่นสารกำจัดปลวกเข้าในโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายแต่ละจุดเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้มีการแทรกซึมของตัวยาเข้าไปในเนื้อไม้ได้ดีกว่าการใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ

3.4.3        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกที่ใช้ได้ทันทีไม่ต้องเจือจาง ได้แก่

DP (dustable powder) มีลักษณะเป็นผงละเอียด สูตรนี้เหมาะนำไปใช้ในการใช้พ่นผง โดยใช้อุปกรณ์ชนิดลูกยางบีบพ่น เพื่อพ่นสารกำจัดปลวกเข้าไปในเส้นทางเดินของปลวกหรือในโครงสร้างที่ถูกทำลายโดยไม่ทำให้เลอะเปรอะเปื้อน ต่างจากการใช้สารกำจัดปลวกที่ต้องผสมกับตัวทำละลายที่เป็นน้ำหรือน้ำมัน ที่ก่อให้เกอดความเสียหายกับโครงสร้างของอาคารหรือวัสดุสิ่งของนั้นๆ

3.4.4        ชนิดของสูตรผสมของสารกำจัดปลวกสูตรใช้เฉพาะอย่าง

AE (aerosol dispenser) บรรจุในภาชนะปิดมิดชิด มีลิ้นบังคับการเปิด-ปิดเมื่อลิ้นปิดสารละลายจะถูกปล่อยมาเป็นละอองฝอย

BA (bait ready for use) เป็นเหยื่อล่อหรือดึงดูดปลวกให้เข้ามากัดกิน ใช้ได้โดยไม่ต้องผสม

Foam เป็นรูปแบบที่ตัวทำละลายผสมกับสารกำจัดปลวก นิยมใช้เมื่อต้องอัดสารเคมีลงไปในดินใต้พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำพาสารเคมีให้แทรกซึมและกระจายได้เร็วและทั่วถึงไปตามช่องว่างภายใต้พื้นคอนกรีต

การเลือกใช้สารกำจัดปลวกชนิดต่างๆ มีข้อพิจารณา ดังนี้

-          เลือกใช้ชนิดของสารกำจัดปลวกที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ และผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

-          เลือกใช้สารกำจัดปลวก ในอัตราความเข้มที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ว่าต้องการหวังผลในระยะสั้นหรือระยะยาว เช่น ควรเลือกใช้อัตราความเข้มข้นต่ำสุดแต่มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาความเป็นพิษตกค้างต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย โดยเฉพาะกรณีที่ใช้ในการกำจัดเฉพาะจุดที่ไม่หวังผลในระยะยาว

-          เลือกรูปแบบของสูตรผสมให้เหมาะสมกับลักษณะการนำไปใช้งาน

-          เลือกอุปกรณ์และวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดของสารกำจัดปลวก เช่น การเลือกใช้สารกำจัดปลวกเพื่อฉีดพ่นหรืออัดลงดินควรเลือกสูตรผสมชนิดเข้มที่ต้องผสมน้ำก่อนนำฉีด โดยใช้เครื่องพ่นแบบสูบโยกสะพายหลังชนิดใช้แรงลมหรือใช้เครื่องแรงดันสูง สำหรับโครงสร้างไม้ที่ถูกทำลายบริเวณซอกมุม อาจเลือกใช้สูตรผสมที่ใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำลายโดยใช้อุปกรณ์เข็มฉีดยาหรือเครื่องพ่นขนาดเล็ก ฉีดพ่นเข้าไปตามร่อง รอยแตกของโครงสร้างที่ถูกทำลาย บางกรณีอาจต้องเลือกใช้สูตรผสมชนิดผงละเอียดโดยใช้ลูกยางบีบพ่นหรืออาจเลือกใช้ในรูปแบบ aerosol ที่มีหัวฉีดพ่นเข้าไปในโครงสร้างที่ถูกทำลายได้ง่าย

 จุดสำคัญของโครงสร้างอาคารที่ควรคำนึงถึงในการใช้วัตถุอันตราย

  1. 1. บริเวณขอบบัวของพื้นอาคารและพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่างๆ บริเวณใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บองที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายเป็นเวลานาน
  2. 2. บริเวณท่อระบายน้ำทิ้งและท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้
  3. 3. บริเวณรอยแตกของเสาไม้ผนังหรือพื้นคอนกรีต
  4. 4. บริเวณคร่าวเพดานและฝาสองชั้นที่มักจะบุด้วยไม้อัดหรือใช้ไม้เนื้ออ่อน
  5. 5. พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต

 

  1. หลักการควบคุม ป้องกันและกำจัดสัตว์ เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข

แมลงเป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกับมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ ตราบใดที่บนโลกยังมีมนุษย์อยู่ตราบนั้นก็จะยังคงมีแมลงอยู่เช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นถึงแม้ว่ามนุษย์จะสูญหายตายจากโลกไปหมดแมลงก็จะยังคงมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้อีก ดังนั้นการทำให้แมลงโดยเฉพาะแหล่งซึ่งเป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขหมดไปจากถิ่นที่อยู่ ที่ทำมาหากินของมนุษย์จึงไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ ประเด็นในการดำเนินการจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถควบคุม ป้องกันและกำจัดแมลงเหล่านั้นให้ได้ดีที่สุดและมากที่สุดและเกิดผลกระทบต่อมนุษย์ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์อื่นๆ แมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข เช่น ยง แมลงวัน ปลวก มด แมลงสาบ ไรฝุ่นและหนู เป็นต้น ต้องการปัจจัยพื้นฐานสำคัญ ในการดำรงชีวิต 3 อย่าง ได้แก่ อาหาร น้ำและที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นวงจรที่มีความสัมพันธ์กัน เสมือนเป็นสามเหลี่ยมแห่งชีวิต (triangle of Life)

 

ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของแมลง

 

อาหาร + น้ำ + ที่อยู่อาศัย

 

การที่แมลงและสัตว์ดังกล่าวเข้ามาในอาคารบ้านเรือนและสถานประกอบการต่างๆ ของมนุษย์ ก็เพื่อเสาะแสวงหาปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตข้างต้น ดังนั้นการควบคุม ป้องกันและกำจัดให้ได้ผลจึงต้องคำนึงถึงการขจัดปัจจัยอันเป็นจุดต้นตอประกอบกันไปกับการกำจัดโดยวิธีการอื่นๆ ด้วย นั่นหมายถึงการนำเอาวิธีการจัดการแมลงและสัตว์ (Integrated Pest Management : IPM) มาใช้เพื่อให้บังเกิดผลที่ยั่งยืนและมีความปลอดภัยสูงสุดต่อทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

“แมลงและสัตว์” ในที่นี้หมายถึงแมลงที่มาจากคำว่า “pest” ในภาษาอังกฤษ มีคำแปลที่ค่อนข้างกว้างในปทานุกรม (dictionary) อังกฤษเป็นไทยของ สอ เสถบุตร “pest” แปลว่า “สัตว์ที่รบกวนหรือทำลาย” เช่น แมลงโรคร้ายหรือมนุษย์ที่ทำลายความสุขผู้อื่น เพราะฉะนั้นแมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข จึงเป็นส่วนหนึ่งของ pest ที่เราจะทำการควบคุมป้องกันและกำจัดเท่านั้น

ปัจจุบันการจัดการแมลงและสัตว์ เข้ามามีบทบาทและถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในทุกนานาอารยะประเทศทั่วโลก สมาคม องค์การธุรกิจหรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการกำจัดแมลง โดยเปลี่ยนชื่อเรียกจาก “Pest Control” เป็นชื่อ “Pest Management” เช่น สถาบัน “National Pest Control Association : NPCA” ของประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “National Pest Management Association : NPMA” เป็นต้น

วิธีการจัดการแมลงและสัตว์ ประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐาน 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. 1. การสำรวจหรือตรวจ (Inspection)
  2. 2. การระบุหรือจำแนกชนิดแมลงและสัตว์ (Identification)
  3. 3. การสุขาภิบาล (Sanitation)
  4. 4. การจัดการโดยใช้ตั้งแต่สองวิธีการขึ้นไป (Application of two or more procedures)
  5. 5. การติดตามประเมินผล (Evaluation)

 

  1. 1. การสำรวจหรือตรวจ (Inspection)

การสำรวจสภาพปัญหาแมลงและสัตว์ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือการสำรวจก่อนการปฏิบัติงานและภายหลังการปฏิบัติงาน การสำรวจทั้งสองขั้นตอนควรเป็นการสำรวจตามมาตรฐาน “การสำรวจอย่างละเอียดถ้วนทั่ว” หรือ “A thorough survey” โดยผู้ปฏิบัติงานจะมีเสื้อผ้าสวมใส่โดยเฉพาะ มีอุปกรณ์ป้องกันอนามัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัย เช่น หมวกกันกระแทก หน้ากาก รองเท้านิรภัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีอุปกรณ์การสำรวจ เช่น ไฟฉาย ไขควง หลอดเก็บตัวอย่าง กระดานรองเขียน เป็นต้น

การสำรวจก่อนการปฏิบัติงานเป็นการสำรวจเมื่อหาการมีอยู่ของแมลงและสัตว์ ชนิด จำนวนความเสียหายจากการทำลาย เพื่อนำมาใช้ในการจัดทำแผนผังของสถานที่ภายในตัวอาคารรวมทั้งสภาพแวดล้อม เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งหลบซ่อนอาศัย แหล่งอาหารและอื่นๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเข้ามาระบาดของแมลงและสัตว์ ส่วนการสำรวจภายหลังการปฏิบัติงานเป็นการตรวจติดตาม และประเมินผลภายหลังการทำบริการ

 

 1.1                   วิธีการและจุดทีควรสำรวจหรือตรวจ

1.1.1     แหล่งที่แมลงชอบหลบซ่อนอาศัย (pest hot spot) เช่น ล็อคเกอร์พนักงาน ห้องเก็บของแม่บ้าน ห้องซักรีด ห้องครัว ห้องเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม บริเวณที่ทิ้งขยะ ท่อชาฟท์ และท่อระบายน้ำ เป็นต้น

1.1.2     สอบถามหรือสัมภาษณ์เจ้าของสถานที่ (Client Interview)

1.1.3      การสุ่มตรวจด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล่องดัก กล่องหรือกระดาษกาว กับดัก หรือกรงดัก เป็นต้น 

  1. 2. การระบุหรือจำแนกชนิดแมลงและสัตว์ (Identification)

การระบุหรือจำแนกชนิด ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแมลงและสัตว์ที่สำรวจพบ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนป้องกันและกำจัด 

  1. 3. การสุขาภิบาล (Sanitation)

ได้แก่ การดูแลด้านสุขวิทยาและการสุขาภิบาล โดยปรับปรุง แก้ไขอาคารบ้านเรือนและสถานที่เพื่อทำการปิดกั้นหรือสกัดกั้นไม่ให้แมลงและสัตว์ที่เป็นปัญหาเข้ามาภายในได้ รวมทั้งการดูแลจัดการความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อมูลเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้มาจากผู้ให้บริการกำจัดแมลงที่มาทำการสำรวจสถานที่ก่อนการปฏิบัติงานและได้ทำรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้กับฝ่ายผู้รับบริการเพื่อพิจารณาดำเนินการ

การสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร โดยการรณรงค์ให้พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วม อาจทำได้โดยการกำหนดระเบียบปฏิบัติตามหลัก 5 ส เพื่อช่วยให้การควบคุม ป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นได้ดังนี้

3.1   สะสาง แยกและขจัดของที่ไม่จำเป็นทิ้ง มีให้สกปรกรกรุงรังอันจะเป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์

3.2   สะดวก จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ มีระยะห่างที่เหมาะสมและควรจัดวางบนชั้นเพื่อให้สามารถสำรวจตรวจสอบปัญหาได้โดยง่าย ไม่ควรตั้งวางสิ่งของติดผนังหรือวางบนพื้นโดยตรง ควรตั้งวางบนที่รองรับ

3.3    สะอาด ทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนและสถานที่ทั้งภายในและภายนอก กำจัดแหล่งน้ำ แหล่งอาหารและแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงและสัตว์ จัดให้มีการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันการอุดตันหรือหมักหมมของเศษขยะและอาหาร

3.4    สุขลักษณะ จัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ให้สะอาด ปลอดภัย และถูกหลักอนามัย เน้นการดูแลจุดที่สำคัญ ดังนี้

3.4.1 อุด ปิดกั้น สกัดกั้นโดยปิดทางเข้าออก ซ่อมแซมรอยแตก รอยร้าวหรือรอยทรุดตัวของอาคาร ไม่ให้เป็นแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงและสัตว์

3.4.2  จัดที่ทิ้งขยะให้มีฝาปิดมิดชิดและนำมาทิ้งในเวลาอันเหมาะสมขยะเปียก และขยะประเภทเศษอาหารควรมีห้องขยะที่สามารถปิดกั้นแมลงและสัตว์ไม่ให้เข้ามาระบาดได้

3.5     สร้างนิสัย ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหน่วยงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและช่วยกันดูแลสอดส่องไม่ให้มีการระบาดของแมลงและสัตว์ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง 

  1. 4. การจัดการโดยใช้ตั้งแต่สองวิธีการขึ้นไป (Application of two or more procedures)

เมื่อได้ดำเนินการในส่วนของการป้องกัน การปิดกั้นและการสุขาภิบาลแล้ว จึงมาถึงการทำการกำจัด แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ดังนี้

4.1   การจัดการโดยไม่ใช้สารเคมี

4.1.1   การควบคุมโดยวิธีกล (Mechanical control) เช่น การใช้กาวดัก กล่อง หรือ กรงดักและเครื่องดักจับแมลงแบบต่างๆ

4.1.2    การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (physical control) เช่น การสำรวจตรวจสอบวัสดุ สิ่งของ สินค้า และวัตถุดิบที่จะนำเข้ามาจากภายนอกว่ามีแมลงสาบหรือไข่ของแมลงติดเข้ามาด้วยหรือไม่ โดยการใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดจับแมลง การใช้ไม้ตีหรือช็อตและการใช้สวิงตัก เป็นต้น

4.1.3    การควบคุมโดยวิธีชีววิทยา (Biological control) โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูทางธรรมชาติ ได้แก่ ตัวห้ำ (predators) ตัวเบียน (parasitoids) และจุลินทรีย์ (microorganisms) ต่างๆ

4.1.4    การควบคุมโดยวิธีอื่นๆ (other methods) เช่น การใช้สารไล่ (repellents) การใช้สารเพศล่อ (sex pheromones) การใช้อาหารล่อ (food attractants) และการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต (Insect growth regulator) เป็นต้น

4.2     การจัดการโดยใช้สารเคมี (chemical control)

หลักการจัดการแมลงและสัตว์นั้น การพิจารณานำสารเคมีมาใช้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อการใช้วิธีการอื่นๆ ไมประสบผลสำเร็จแล้วเท่านั้น แม้กระนั้นก็ควรเลือกใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษต่อถึงปานกลางและนำมาใช้เท่าที่จำเป็นในแต่ละสถานที่เท่านั้นดังรายละเอียดวิธีการควบคุม ป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์แต่ละชนิด ได้กล่าวมาแล้ว

 

  1. 5. การติดตามประเมินผล (Evaluation)

การติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน เพื่อประเมินระดับการระบาดของแมลงและสัตว์ว่าลดลงหรือไม่เพียงใด โดยการสำรวจด้วยตนเองหรือสอบถามจากเจ้าของสถานที่ พร้อมจัดทำบันทึกรายงานการติดตามผล (follow - up inspection report) นำเสนอให้ผู้รับบริการ หรือเพื่อเก็บไว้อ้างอิง ตรวจสอบ ทั้งนี้อาจทำการประเมินผลทุกครั้งที่เข้าดำเนินการหรือเป็นช่วงระยะเวลา ขึ้นอยู่กับความจำเป็นหรือเงื่อนไขข้อตกลง

จะเห็นว่าการกำจัดแมลงและสัตว์ให้ได้ผลและได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ไม่มีหลักการหรือวิธีการใดที่จะสมบูรณ์ไปกว่าวิธีการจัดการแมลงและสัตว์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมด เพราะนอกจากจะช่วยลดปัญหาผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยทำให้เกิดความประหยัด ปลอดภัย และยังช่วยป้องกันปัญหาแมลงต้านทานต่อสารเคมีได้อีกทางหนึ่งด้วย

 ปัจจัยที่ทำให้การจัดการแมลงและสัตว์เป็นไปด้วยความลำบาก

ในการนำเอาวิธีการจัดการแมลงและสัตว์มาใช้ในการดำเนินการ โดยมุ่งหวังที่จะให้ได้ผลสำเร็จนั้น ยังมีปัจจัยหรือตัวแปรสำคัญอื่นที่เป็นอุปสรรค ดังนี้

  1. 1. วัตถุดิบหรือหีบห่อที่นำเข้ามาจากข้างนอกอาจนำแมลงและสัตว์เข้ามาสู่สถานที่ได้
  2. 2. กลิ่นอาหารต่างๆ จากอาคารบ้านเรือนและสถานประกอบอาหารย่อมดึงดูดแมลง และสัตว์ให้เข้ามายังสถานที่นั้นๆ ได้
  3. 3. แสงไฟส่องสว่างโดยรอบอาคารบ้านเรือนและสถานที่ทำให้แมลงกลางคืนบินเข้าหา และอาจบินเข้าสู่บริเวณภายในได้
  4. 4. อาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ที่มีความอบอุ่นหรือเป็นพื้นที่ที่มีความอับชื้นเหมาะต่อการเข้ามาระบาดลุกลามของแมลง
  5. 5. เครื่องจักรกล ฝาประกับและช่องว่างต่างๆ ของโครงสร้างอาคารบ้านเรือน เป็นสถานที่ที่แมลงและสัตว์ใช้เป็นที่หลบซ่อนอาศัยได้
  6. 6. อาคารบ้านเรือนที่เก่า อุปกรณ์เครื่องใช้มีอายุในการใช้และอยู่ในสภาพเก่าแล้ว ยากแก่การบำรุงรักษาและทำความสะอาด
  7. 7. สถานที่ซึ่งมีการผลิตหรือปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การดำเนินมาตรการเพื่อการจัดการแปลงเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
  8. 8. ฝุ่น คราบไขมัน อุณหภูมิที่สูงและความชื้นอย่างต่อเนื่อง สามารถทำให้ประสิทธิภาพของสารเคมีด้อยลง
  9. 9. มาตรการในการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือนและสถานที่ ทำให้เกิดการชะล้างทำลาย ตกค้าง ของ สารเคมี
  10. 10. การทำความสะอาดและรถโฟล์คลิฟท์ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ เป็นต้น ทำลายแมลงบางชนิด และอุปกรณ์ดักหนูอย่างรวดเร็ว
  11. 11. ข้อกำหนดในการไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีภายในสถานที่ประกอบอาหารบางประเภท หรือของหน่วยราชการที่กำกับดูแล ทำให้ไม่สามารถใช้สารเคมีช่วยในการกำจัดได้
  12. 12. บ้านหรือผู้บริหารของสถานที่ลังเลใจที่จะใช้เงินในการจัดการแมลง

 ดังนั้นการดำเนินการเพื่อขจัดหรือลดอุปสรรคกีดขวางความสำเร็จทั้งหลายข้างต้นยิ่งขจัด หรือลดได้มากเท่าใด ก็ย่อมจะทำให้การจัดการแมลงและสัตว์ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง