ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง หนู

หนู (Rats and Mices) หนู เป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ หนูทำลายพืชผลและพยายามจะเข้าร่วมในที่อยู่อาศัยของมนุษย์และนำความเสียหายนานาประการแก่เศรษฐกิจของมนุษย์เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายทางตรงที่เด่นชัด คือ การกัดแทะกินพืชผลที่มนุษย์ปลูกตั้งแต่ในไร่นา ตลอดจนทำให้เกิดการปนเปื้อนในที่เก็บรักษา ในระหว่างการ

ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง หนู

0.00 ฿

หนู (Rats and Mices)

หนู เป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ หนูทำลายพืชผลและพยายามจะเข้าร่วมในที่อยู่อาศัยของมนุษย์และนำความเสียหายนานาประการแก่เศรษฐกิจของมนุษย์เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความเสียหายทางตรงที่เด่นชัด คือ การกัดแทะกินพืชผลที่มนุษย์ปลูกตั้งแต่ในไร่นา ตลอดจนทำให้เกิดการปนเปื้อนในที่เก็บรักษา ในระหว่างการขนส่งและการแปรรูปผลิตผล จนกระทั่งอยู่ในมือผู้บริโภค นอกจากพืชผลทางการเกษตรแล้ว ผลิตภัณฑ์เครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ยังถูกหนูกัดแทะทำลายอีกด้วย นอกจากนี้หนูยังเป็นสัตว์พาหะสำคัญที่นำโรคหลายชนิดสู่คน และสัตว์เลี้ยง อย่างเช่น โรคไข้ฉี่หนู (leptospirosis), โรคไข้หนู (murine thyphus, scrub thyphus), กาฬโรค (plaque) โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ส่วนความเสียหายทางอ้อมมักเกิดจากการกัดแทะเพื่อลับฟันของหนูต่อสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน ของใช้ต่างๆ และสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในอาคารทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ รวมทั้งการขุดรูอาศัยภายใต้อาคาร ตามคันดิน คันคลอง หรือในท่อระบายน้ำเสีย ทำให้พื้นอาคารทรุด ดินฝั่งตลิ่งทรุด เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ ซึ่งการทำลายที่เกิดขึ้นนี้เสียหายคิดเป็นมูลค่ามหาศาลในปีหนึ่งๆ

  1. 1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

1.1  ชีววิทยา

หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วเกือบตลอดปี ปกติหนูจะโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 2 - 3 เดือนขึ้นไป ระยะเป็นสัด (estrus cycle) ในหนูเพศเสียประมาณ 4 - 8 วัน และยอมรับการผสมพันธุ์จากหนูเพศผู้เฉพาะช่วงที่มันเป็นวัดเท่านั้น เพศเสียตั้งท้องนาน 21 - 25 วัน และออกลูกครอกละหลายตัว หลังคลอดลูกแล้ว 24 ชั่วโมงแม่หนูสามารถรับการผสมพันธุ์ได้ทันที ในปีหนึ่งๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอกซึ่งมีผู้คำนวณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว อย่างไรก็ตามประชากรของหนูก็ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากจนเกินไปเพราะปริมาณหนูจะถูกควบคุมด้วยปัจจัยที่สำคัญต่างๆ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ศัตรูธรรมชาติ และอื่นๆ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับชีวประวัติของหมู่บ้านที่พบในประเทศไทย แสดงไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ชีวประวัติของหนูบ้าน (commensal or domestic rats) ในห้องปฏิบัติการ

ชนิดของหนู

วัยเจริญพันธุ์

ระยะตั้งท้อง (วัน)

จำนวนลูกต่อครอก

จำนวนครอกต่อปี

อายุขัย (ปี)

เพศผู้

เพศเมีย

หนูนอรเว

90 – 150

80 – 120

21 – 23

4 – 14

6 – 8

2 – 3

หนูท้องขาวบ้าน

70 – 90

60 – 90

21 – 23

1 – 9

2 – 6

1 – 2

หนูจี๊ด

60 – 70

60 – 70

20 – 23

3 – 7

3 – 8

1 – 2

 

ลูกหนูที่เกิดใหม่ลำตัวเป็นสีแดง ส่วนตาและใบหูพับปิดสนิท ขนเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 3 - 4 วัน มีขนขึ้นเต็มตัวและหูได้ยินเสียงเมื่ออายุ 8 - 12 วัน ตาเกิดเมื่ออายุ 14 - 17 วัน ลูกหนูอาย 3 สัปดาห์ เริ่มหย่านมและกินอาหารแข็งๆ เมื่ออายุ 1 เดือนอาย 2 1 3 เดือนลูกหนูจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์และออกจากรัง ลูกหนูสามารถเรียนรู้อันตรายจากเหยื่อพิษและกับดักที่แม่ของมันประสบมาจึงทำให้ลูกหนูหลีกสิ่งอันตรายเหล่านี้ได้

1.2  นิเวศวิทยา

ลักษณะที่สำคัญ อุปนิสัยและความสามารถของหนู

1.2.1 ธนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4 เข้าที่มีขนาดเล็ก (small mammal) สามารถดำรงชีวิตได้ดีตั้งแต่บริเวณอาร์กติก เขตทุนดรา ไปจนถึงเขตร้อนชื้น ทะเลทรายและภูเขาทราย และมีความหลากหลายในเรื่องของอาหาร จึงทำให้พบแพร่กระจายเกือบทั่วโลก

1.2.2 หนูมีฟันแทะ (incisors) 2 คู่ คือที่กรามบน (upper jaw) 1 คู่ และอีก 1 คู่ อยู่ที่กรามล่าง (lower jaw) ทำให้มีนิสัยการกินแบบกัดแทะ เนื่องจากส่วนเคลือบฟัน (enamel) ของฟันแทะมีความแข็งแกร่งมาก ซึ่งมีค่า Mohs scale เท่ากับ 5 ในขณะที่ค่าความแข็งของตะกั่ว สังกะสี และเหลกมีค่าเท่ากับ 1.51, 2.5 และ 4.5 ตามลำดับ ส่วนที่เป็นเนื้อฟัน (dentine) ของฟันแทะซึ่งอยู่ด้านหลังของเคลือบฟันจะสึกกร่อนได้ง่ายกว่า ดังนั้นการกัดแทะกินอาหารหรือสิ่งของต่างๆ ของหนูจะส่งผลให้เนื้อฟันด้านหลังกร่อนมากกว่าเคลือบฟันด้านหน้า จึงทำให้ฟันแทะมีลักษณะคล้ายสิ่วด้วยเหตุนี้หนูจึงสามารถกัดแทะไม้ ปูน พลาสติก โลหะ หรือสายไฟเคเบิ้ลได้ไม่ยากนัก เนื่องจากฟันแทะของหนูงอกยาวได้ตลอดชีวิตเฉลี่ยประมาณปีละ 5 นิ้ว ฟันที่ยาวขึ้นมากนั้นจะทำให้กินอาหารไม่ได้ เพื่อไม่ให้ฟันแทะคู่หน้ายาวเกินไปจึงทำให้มันมีนิสัยชอบกัดแทะสิ่งต่างๆที่อยู่ในทางเดินของมัน เช่น ไม้ สายไฟ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารที่กินได้ ทั้งนี้เพื่อให้ฟันแทะคมและยาวพอเหมาะที่จะกินอาหารได้

1.2.3  หนูมีประสาทสัมผัสและรับความรู้สึกที่ดีมาก ปกติหนูเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน (nocturnal) แต่บางครั้งเมื่ออาหารขาดแคลนหรือมีประชากรหนูมาก (over population) ก็อาจทำให้หนูบางตัวต้องออกหากินในเวลากลางวัน สิ่งที่ช่วยให้หนูสามารถออกหากินในเวลากลางคืน ได้เป็นอย่างดี คือ หนวด (vibrissae) ซึ่งอยู่บริเวณบ้านข้างใกล้จมูกทั้ง 2 ข้าง อุ้งตีนทั้ง 4 ขา และ guard hair ที่มีความยาวกว่าขนอื่นๆ บริเวณใต้ท้องของลำตัวหนูซึ่งบริเวณเหล่านี้มีประสาทสัมผัสที่ไวมาก หนูจะใช้หนวดในการคลำทางหาอาหาร ส่วนขนที่ใต้ท้องและการสัมผัสของอุ้งตีนบนพื้นผิวที่มันวิ่งผ่าน จะช่วยให้หนูเรียนรู้และจดจำถึงสภาพพื้นที่ที่มันวิ่งผ่านได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหนูจึงมักจะออกหากิน1ไปตามทางเดินอยู่เสมอทำให้เกิดเป็นรอยทางเดิน นอกจากประสาทสัมผัสที่ไวมากที่ขนดังกล่าวแล้ว หนูยังมีจมูกที่มีประสาทรับกลิ่นต่างๆ ที่ดีเยี่ยม ใช้ดมกลิ่นเพื่อค้นหาแหล่งอาหารที่อยู่ไกลๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ประสาทในการลิ้มรสอาหารที่ลิ้นก็ไวมาก สามารถตรวจหรือรู้รสแปลกปลอมที่เป็นพิษในอาหารได้โดยง่าย จึงทำให้หนูเกิดการเข็ดขยาดต่อเหยื่อ (bait shyness) และจดจำได้นาน 2 - 5 เดือน

1.2.4 หนูสามารถส่งเสียงและรับฟังเสียงที่มีความถี่สูงถึง 45 KHz หรือ ultrasound ในการสื่อสารเรื่องตำแหน่งแหล่งอาหารหรืออันตรายได้ในระยะไกลๆ

1.2.5 การมองเห็นภาพต่างๆของหนูไม่ดีนักเมื่อเทียบกับสายตามนุษย์ เนื่องจากระบบโครงสร้างในการมองเห็นภาพและการรับแสงของมัน (retina) ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะคล้ายนิ้วมือซึ่งมีพื้นที่รับแสงมากขึ้น จงเหมาะต่อการหากินในเวลากลางวันและมีเซลล์รอด (cell rod) เท่านั้นที่ทำหน้าที่ในการรับภาพ แต่ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสีได้ จึงทำให้ภาพที่มองเห็น เป็นสีขาวดำเท่านั้น

1.2.6 ธนูเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดี เพราะจมูกหนูมีลักษณะงองุ้มและมีแผ่นเยื่อตาปิดตา (eye 1ids) ขณะที่ดำน้ำ ได้มีการศึกษาความสามารถในการดำน้ำของหนูนอรเวพบว่าสามารถดำน้ำได้นานคราวละ 30 วินาที ในอเมริกาพบว่าหนูชนิดนี้สามารถดำน้ำผ่านท่อระบายน้ำจากนอกบ้านเข้าไปในบ้านได้ ปกติแล้วหนูสามารถว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกล 600 - 1,000 เมตร และได้นาน 3 - 4 ชั่วโมง

1.2.7 หนูสามารถกระโดดได้สูงถึง 36 นิ้ว (1 เมตร) และกระโดดได้ไกลถึง 48 นิ้ว (1.2 เมตร) จากพื้นที่ราบและสามารถกระโดดจากพื้นที่สูง 15 - 50 ฟุต (5 - 15 เมตร) ลงสู่พื้นล่างได้อย่างปลอดภัย และได้ไกลอย่างน้อย 8 ฟุต (ประมาณ 2 เมตร)

1.2.8 หนูมีหางใช้บังคับทิศทางและการทรงตัว จึงทำให้ปีนป่ายในแนวดิ่งได้ดี หรือเดินไต่ลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 มิลลิเมตรได้เป็นระยะทางหลายเมตร

1.3 ชนิดหนศัตรูของมนุษย์

หนูศัตรูสำคัญในกระบวนการผลิตพืช - สัตว์ในเขตชุมชนและทางสาธารณสุขในประเทศไทยมีการจัดลำดับชั้นดังข้างล่างนี้

ไฟลั่ม               คอรดาต้า (Chordata)

ซับไฟลั่ม        เวอร์เตบราต้า (Vertebrata)

คลาส               แมมมาเลีย (Mammalia)

อันดับ              โรเด้นเทีย (Rodentia)

วงศ์                  มูริดี้ : หนู (Muridae : rat and mice)

สกลที่สำคัญและพบมากในประเทศไทย มี 3 สกุล คือ สกลหนูพก (Bandicota spp.) สกุลหนูท้องขาว (Rattus spp.) สกลหนูหริ่ง (Mus spp.) และสามารถแบ่งตามแหล่งที่พบอาศัยเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1.3.1 หนูป่าหรือหนูนา (Wild or field rodents)

หนูเหล่านี้พบในธรรมชาติ ในสภาพพื้นที่ป่าท่งหญ้าหรือตามแหล่งที่มีการปลูกพืช กินเมล็ดพืช รากพืช ใบ ผลของพืช แมลง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหาร หนูหลายชนิดขุดรูอาศัยในดิน เช่น หนีในสกลหนูพก (Bandicota spp.) หนูสกลท้องขาว (Rattus spp.) เป็นต้น บางนิดอาศัยอยู่ตามกอหญ้าหรือขดรูตามรอยแตกของหน้าดิน เช่น หนูหริ่งนา เป็นต้น และบางชนิดอาศัยอยู่ในรังนกเก่าๆ หรือในโพรงต้นไม้ หรือบนต้นไม้ เช่น หนูมือลิง หนูสกลท้องขาว เป็นต้น

1.3.2 หมู่บ้านหรือหนูในแหล่งชุมชนหรือหนูในเมือง (Commensal or domestic rodents)

เป็นหนูที่พบอาศัยอยู่ใกล้ชิดทับมนุษย์มากที่สดในแหล่งชุมชนหรือในเมือง กินอาหารเกือบทุกชนิดที่มนุษย์กินได้และเหลือทิ้ง มีทั้งที่สามารถขุดรูอาศัยในดินหรือหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ ทั้งในบ้านและนอกอาคาร หรือในท่อระบายน้ำ หรือในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หนูเหล่านี้ชอบกัดแทะทำลายของกินและของใช้ต่างๆ ทั้งในบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่าง จึงเป็นตัวการสำคัญในการนำโรคสู่มนุษย์ตลอดจนการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร ได้แก่ หนูสกลท้องขาว และหนูสกุลหนูหริ่ง เป็นต้น.

สำหรับการจำแนกชนิดของหนูที่ใช้กันทั่วๆ ไป ได้แก่ ลักษณะกายนอก (external characters) เช่น ขนาด น้ำหนัก ลักษณะของสีขน จำนวนเต้านม (เพศเมีย) และอื่นๆ ลักษณะเหล่านี้จะต้องดูจากหนูที่โตเต็มวันแล้ว ซึ่งการจะรู้ว่าหนูโตเต็มวันหรือไม่ ก็ดูจากอวัยวะเพศ ถ้าเป็นเพศผู้จะเห็นอัณฑะหย่อนลงถุงห้อยบริเวณโคนหาง ส่วนเพศเสียนั้นจะมองเห็นข่องอวัยวะสืบพันธ์เปิดและเห็นเต้านม (mammae) ชัดเจน ส่วนการจำแนกชนิดหนูที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในสกุลเดียวกันนั้นจำเป็นต้องศึกษาขนาดและลักษณะสัณฐานวิทยาของกะโหลกศีรษะ ลักษณะและขนาดของฟันแทะ และฟันกราม ตลอดจนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของหนูประกอบด้วย

ในประเทศไทยหนูที่พบในเขตเมืองหรือแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นหนูสกลท้องขาว มี 3 ชนิดดังนี้ คือ

หนูนอรเว (Norway rat, brown rat or habour rat or sewer rat : Rattus norvegicus (Berkenhoutf 1769)

Rattus norvegicus

เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกลนี้ กินอาหารได้แก่ประเภท หากมีอาหารดีมากและเพียงพออาจทำให้หนูชนิดนี้มีขนาดใกล้เคียงหนูพก มีน้ำหนักตัวประมาณ 200 - 500 กรัม หนูชนิดนี้มีชื่อเรียกขานหลายชื่อตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งที่ออกหากิน เช่น หนูท่อ หนูขยะ หนูท่าเรือ และหนูเลา เป็นต้น ปกติชอบขดรูอาศัยในดินใกล้กองขยะหรือใต้ถุนบ้านหรือสนามบ้าน ที่ปากรูมีขุยดินกองใหญ่คล้ายของหนูนา แต่อาจพบอาศัยในท่อระบายน้ำในแหล่งชมชน ตลาด มีความยาวหัวรวมลำตัวประมาณ 233 มิลลิเมตร หางสั้นกว่ายาวประมาณ 201 มิลลิเมตร และมี 2 สี ด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง หน้าจะค้านหรือทู่กว่าหนูท้องขาวบ้าน มีตาและใบหูเล็กกว่าเช่นกัน ขนด้านท้องสีเทา ด้านหลังขนสีน้ำตาลหรือสีดำ ตีนหลังใหญ่และมีขนขาวตลอด (44 มิลลิเมตร) เพศเมียมีเต้านม 3 คู่ที่อก และ 3 คู่ที่ท้อง พบทั่วประเทศในเขตเทศบาลเมืองทุกแห่ง อาจพบในพื้นที่ทำการเกษตรที่ติดต่อกับเขตชุมชนใหญ่ๆ เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญหลายชนิดสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง หนูนอรเวชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำเป็นกลุ่มๆ หนูเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงมักจะเป็นจ่าฝูง และเลือกที่อยู่และกินอาหารที่ดีที่สุดได้ก่อนและกำหนดเขตถิ่นอยู่อาศัยโดยใช้ปัสสาวะและไขมันจากขน ในแต่ละกลุ่มมีหนูเพศเสียมากก็ว่า 1 ตัว ลูกหนูและอาจมีหนูเพศผู้ตัวอื่นๆ ที่อ่อนแอกว่า เป็นหนูที่มีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการแย่งถิ่นอาศัย อาหาร และหนูเพศเมีย ปกติแล้วหนที่โตเต็มที่จะกินอาหาร 20 - 30 กรัมต่อคืน (ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว) และสามารถเดินทางในแต่ละคืนเป็นระยะทางไกล 2 - 3 กิโลเมตร เพื่อหาอาหาร

 หนูท้องขาวบ้าน (Roof rat or ship rat or house rat : Rattus rattus (Iinnaeus, 1758)

Rattus rattus

หนูชนิดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของสีขน ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่พบ น้ำหนักตัว

เต็มวันอยู่ระหว่าง 90 - 250 กรัม ความยาวหัวรวมลำตัวเท่ากับ 182 มิลลิเมตร ปกติสีขนด้านหลังเป็นสีน้ำตาลและกลางหลังมีขนแข็งสีดำแทรกอยู่ ขนด้านท้องสีขาวครีม บางครั้งมีแถบขนสีน้ำตาลคล้ำยาวจากส่วนคอถึงกลางอก ขนบริเวณตีนหลังส่วนใหญ่ยาวและมีขนดำแทรกปะปนบ้าง หางดำตลอดและมีเกร็ดละเอียดเล็กๆ และยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัว (188 มิลลิเมตร) จมูกแหลม จึงทำให้ส่วนใบหน้าค่อนข้างแหลม ใบหูใหญ่ ตาโต เพศเสียมีเต้านม 2 คู่ที่อก และ3 คู่ที่ท้อง (ในบางแห่ง เพศเสียมีเต้านม 3 คู่ แต่คู่ที่ 3 อยู่ชิดกับคู่ที่ 2 หรือห่างกันน้อยกว่า 1 เซนติเมตร) ปีนป่ายเก่งมาก พบทั่วประเทศ ตามเพดานของบ้านเรือนและอาคารต่าง ๆ ยุ้งฉาง นาข้าว ในสวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปกติไม่ชอบขดรูอาศัยในดิน มักอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือบนที่สูง หรือใต้หลังคาในห้องต่าง ๆ ของอาคารแต่ถ้าขุดรูมักไม่มีขุยดินบริเวณปากรูทางเข้าหรือมีขุยดินน้อยมาก ชอบกินผลไม้ ผักและเมล็ดพืชมากกว่าเนื้อสัตว์

พฤติกรรมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก พบในหนูชนิดนี้เช่นเดียวกันกับหนูนอรเว หนูท้องขาวบ้านมีขื่อเรียกต่างๆ ตามแหล่งอาศัยเช่นกัน เช่น หนูหลังคา หนูเรือ และหนูบ้าน เป็นต้น หนูชนิดนี้มีรูปร่างที่เพรียวกว่าหนูนอรเว และชอบอาศัยอยู่ในที่แห่งและสูง เช่น ใต้หลังคาบ้านหรือตามขื่อแปของโรงเก็บอาหารสำเร็จรูปต่างๆบนต้นไม้ เป็นต้น ในขณะที่หนูนอรเวชอบอาศัยที่ชื้น เช่น ใต้อาคารหรือขุดรูอยู่บริเวณนอกบ้าน หนูชนิดนี้มีความดร้าย ก้าวร้าวน้อยกว่าหนูนอรเว ปกติแล้ว มักจะละการต่อสู้ด้วยการวิ่งหนีจากไปหรือย้ายแหล่งที่อยู่

 หนูจี๊ด (Polynesian rat or burmese house rat : Rattus exulans peal, 1848)

Rattus exulans

เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกล Rattus มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 27 - 60 กรม ความยาวหัวรวมลำตัวเท่าทับ 115 มิลลิเมตร ตาโต ใบหูใหญ่ ตีนหลังยาวประมาณ 23 เซนติเมตร หางยาวกว่าหัวและลำตัวมาก (128 มิลลิเมตร) และมีสีเดียวตลอด ขนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่ ขนด้านท้องสีเทา เพศเสียมีเต้านม 2 คู่บริเวณอกและ 2 คู่ที่บริเวณท้อง ชอบอาศัยในที่แจ้งตามบ้านเรือน โดยเฉพาะ ในห้องครัว ในห้องเก็บของ ในตู้ ลิ้นชัก และยุ้งฉางทั่วประเทศ อาจพบทำลายพืชผลไม้ ในไร่นา ไร่สวนบ้าง ในหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตร เช่นเดียวกันกับหนูนอรเว หนูชนิดนี้กินอาหารได้เกือบทกประเภท

 2. วิธีการควบคมหนู

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

2.1  การลดจำนวนหนู (Rodent reduction) ได้แก่

2.1.1 การใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เป็นต้น

2.1.2 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี เน้นการรักการความสะอาดบ้านเรือนและแหล่งชุมชน โดยการเก็บขยะมูลฝอยที่มิดชิด และการกำจัดขยะที่ถูกต้อง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการเพื่อการดำรงชีวิต

2.1.3 การใช้ศัตรูธรรมชาติของหนู เช่น นกแสก งู แมว เป็นต้น และเชื้อโรค

2.1.4  การใช้วัตถุอันตรายที่สังเคราะห์ หรือสารสกัดจากพืช เช่น สารรม สารกำจัด

2.2  การกั้นหนูมิให้เข้ามายังอาคาร โรงเก็บ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (Rodent exclusion)

2.2.1 การใช้วัสดุที่แข็ง เช่น แผ่นสังกะสีหรือแสตนเลส ตาข่ายเหล็กหรือตาข่ายลวดที่ #½ เซนติเมตร กั้นไม่ให้หนเข้าสู่อาคารบ้านเรือน

2.2.2 การก่อสร้างอาคารที่มีที่กั้นหนูหรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมอื่นๆที่ป้องกันหนูเข้ามาได้

2.2.3 การไล่หนีออกจากบริเวณที่ต้องการควบคุม เช่น ใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงอัลตราซาวด์และสารไล่หนู เป็นต้น 

  1. 3. การจัดการหนู

เป็นที่ปราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าหนูเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถหลบเลี่ยงหรือหลบหลีกการปฏิบัติของมนุษย์ที่ใช้ควบคุมและลดปริมาณหนู การควบคุมและกำจัดหนูจึงต้องใช้วิธีการหลายๆ วิธีไปพร้อมๆ กันจึงจะประสบความสำเร็จ การจดการหนู (rat management) จึงควรนำมาใช้เป็นยุทธวิธีในการควบคุมหนู ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าวิธีอื่นใด โดยมีขั้นตอน ดังนี้

3.1 การสำรวจปริมาณหนูจากร่องรอยหนูและประเมินปัญหาหนีในพื้นที่ ตลอดจนการทำแผนทีสภาพพื้นทีทีต้องการควบคมหนูและวางแผนการปฏิบัติงาน ตามตัวอย่างใน เอกสารหมายเลข 1

3.1.1 การสำรวจร่องรอยหนู

มีความสำคัญและจำเป็นต่อการป้องกันและกำจัดหนูเพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่บริเวณนั้นมากน้อยเพียงใด ร่องรอยหนูที่สามารถสังเกตได้มีดังนี้

รอย กัด แทะ

เนื่องจากหนูมีนิสัยชอบกัดแทะเพื่อกินอาหารหรือของใช้ต่างๆ หากเราพบรอยกัดแทะใหม่ๆ สามารถบอกได้ว่าที่นั้นมีหนูอยู่และอาจบอกถึงขนาดของหนูที่มีอยู่ได้ว่า เป็นหนูตัวเล็กหรือตัวใหญ่จากขนาดของร่องรอยกัดแทะนั้น

โพรงหรือรูหนู

แหล่งอาศัยหรือที่หลบซ่อนของหนูบ้านแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เข่น หนูนอรเว ชอบอาศัยในโพรงใต้พื้นบ้านหรืออาคารที่มืดและชื้น หรือในท่อระบายน้ำเสีย หรือขุดรูลงดินและบริเวณปากรูมีขุยดินก้อนเล็กๆ กองอยู่ ส่วนหนูท้องขาวมักชอบอาศัยใต้ฝ้าเพดานอาคารหรือใต้กองไม้หรือทางใบพืช สำหรับหนูจี๊ดชอบอยู่อาศัยตามลิ้นชักตู้ ในห้องครัวหรือในตู้เก็บของ

รอยทางเดิน

หนูใช้เส้นทางเดิมเวลาออกหากิน ถ้ามีหนูอยู่บริเวณนั้นจะพบผิวดินบริเวณนั้นเป็นทางราบเรียบ ไม่มีต้นหญ้าขึ้น หรือตามฝาผนัง กำแพงจะมีรอยคราบสกปรกดำและมีขนของหนูติดอยู่ หากทางนั้นใช้นานจะมองเห็นขัดเจน

สังเกตจากมูลหนูของหนูชนิดต่างๆ

มูลของหนูใหม่ๆ จะเปียก นุ่มเหนียว เป็นมัน เวลากดจะเปลี่ยนรูปได้ง่าย หากพบในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เป็นตัวบ่งชี้การมีอยู่ของหนูในช่วงเวลานั้น ๆ และอาจใช้แบ่งชนิดหนูได้ อย่างเช่น มูลของหนูนอรเว มีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายแคปซูลยา หัวท้ายมนยาว 12 – 15 มิลลิเมตร สีดำมัน ส่วนมูลของหนูท้องขาวบ้าน มีขนาดเล็กและแห้งกว่า รูปร่างคล้ายกระสวย ยาว 10 – 12 มิลลิเมตร ในขณะที่มูลของหนูจี๊ด รูปร่างคล้ายมูลหนูท้องขาวบ้านแต่มีขนาดเล็ก ยาว 6 – 8 มิลลิเมตร เป็นต้น สำหรับบริเวณที่พบมูลหนูมักพบคราบปัสสาวะของหนูบนกองกระสอบอาหารหรือบริเวณที่หนูกินอาหารด้วย

ลักษณะอื่นๆ

สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้การมีอยู่ของหนูในบริเวณนั้นได้ด้วย เช่น เสียงร้อง เสียงวิ่ง กลิ่นสาบ ซากหนู รอยตีนหนู เป็นต้น

3.2 การควบคุมหนูหรือการป้องกันกำจัดหนูโดยวิธีต่าง ๆ

3.2.1 การควบคุมโดยวิธีสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

(1) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมตามแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เน้นการรักษาความสะอาดบ้านเรือนแหล่งชมชน การเก็บขยะมูลฝอยที่มิดชิดและการกำจัดขยะที่ถูกต้องเพื่อลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการเพื่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำและที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งจะลดปริมาณหนูและการแพร่เชื้อโรคสู่สัตว์เลี้ยงและมนุษย์ลงได้ สำหรับในโรงเรือนที่เก็บผลผลิตการเกษตร อาหารและสินค้าอุปโภคชนิดต่างๆ ควรมีการจัดเก็บวางสินค้าเหล่านี้บนชั้นวางของอย่างเป็นระเบียบหรือวางกระสอบผลผลิตการเกษตรบนชั้นไม้หรือพลาสติก (pallette) และอยู่สูงจากพื้นซีเมนต์ประมาณ 30 เซนติเมตร และวางห่างจากฝาผนังห้องประมาณ 0.5 - 1 เมตร

(2) การควบคุมแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู

- มีการจัดเก็บอาหาร สินค้า สิ่งของและวัสดุต่างๆ อย่างเป็นระเบียบและถูกต้องตามหลักสุขอนามัยที่ดี การจัดระเบียบและทำความสะอาดภายในอาคารอย่างสม่ำเสมอจะช่วยในการลดที่อยู่อาศัยของหนูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การกำจัดรูหนูหรือแหล่งที่อยู่อาศัยของหนูทั้งภายนอกและภายในอาคารจะช่วยลดปริมาณหนูได้เช่นกัน

- บริเวณรอบๆ ตัวอาคาร จะต้องเข้าถึงได้ทุกจดไม่มีบริเวณที่เป็นมุมอับที่หนูจะเข้ามาหลบซ่อนได้

(3) การป้องกันไม่ให้หนูเข้าตัวอาคาร

- ก่อนการสรางอาคารจะต้องมีการออกแบบด้วยตัวอาคารที่สามารถป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาในตัวอาคารได้ อาคารสมัยใหม่จึงต้องมีการออกแบบโครงสร้างตัวอาคารที่สามารถป้องกันการเข้ามาในตัวอาคารของหนู ซึ่งจะต้องเป็นอาคารที่สร้างมิดชิด ทางเข้าทุกทางจะมีการป้องกันไม่ให้หนูเข้าไปได้

- สำหรับอาคารเก่าที่ไม่มีการวางแผนป้องกันการเข้ามาของหนูต้องทำการปิดทางเข้าทุกทางที่หนูสามารถเข้าไปในตัวอาคารได้ โดยใช้กรวยสังกะสีหรือแผ่นอลูมิเนียมเรียบครอบเสาโรงเรือนและยุ้งฉาง ใช้แผ่นสแตนเลส หรือ ลวดตาข่ายปิดทางเข้าของหนู จะป้องกันมิให้หนูปืนขึ้น และเข้าไปในตัวอาคารได้ นอกจากนั้นการใช้แผ่นสังกะสีตีตามประตูทางเข้ายุ้งฉาง โรงเก็บ หรือทางเข้าอาคารจะสามารถป้องกันมิให้หนูแทะประตูผ่านเข้ามาได้

- การกั้นหนูมิให้เข้ามายังบริเวณที่ต้องการ (Rodent exclusion) เช่น ใช้กรวยสังกะสีหรือแผ่นอลูมิเนียมเรียบครอบเสาโรงเรือนและยุ้งฉางหรือเสาบ้านที่ยกใต้ถุนเรือนใช้ลวดตาข่ายแสตนเลวหรือปวดตาข่ายเหล็กชุบสังกะสีที่มีตาข่ายขนาด # 0.5 เซนติเมตร ปิดกั้นตามช่องระบายลมของยุ้งฉางหรือโรงเก็บ จะป้องกันมิให้หนูปีนป่ายขึ้นและเข้าไปในโรงเรือน นอกจากนี้การใช้แผ่นสังกะสีตีตามทางเข้ายุ้งฉางหรือโรงเก็บหรือทางเข้าประตูบ้านยังช่วยป้องกันมิให้หนูกัดแทะผ่านเข้ามาได้ เป็นต้น

3.2.2 การควบคุมและลดจำนวนหนู โดยวิธีชีวภาพ (biological control)

คือการใช้ศัตรูธรรมชาติของหนูที่มีศักยภาพสูงเพื่อควบคุมประชากรหนูในระดับหนึ่ง ได้แก่ การใช้สัตว์ผู้ล่าหนูเป็นอาหาร เช่น นกแสก งู พังพอน แมว เป็นต้น และการใช้ปรสิต (parasite) หรือเชื้อโรคที่มีความจำเพาะต่อหนู เช่น การใช้เหยื่อโปรโตซัว sarcocystis singaporensis กำจัดหนู เป็นต้น การควบคุมหนูวิธีนี้เหมาะที่จะใช้ช่วยรักษาความสมดุลของประชากรหนูที่ไม่สูงมากนัก และถ้าใช้ร่วมกับวิธีการป้องกันกำจัดหนูวิธีอื่นๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมหนูได้ดียิ่งขึ้น และเป็นเวลานานขึ้น

3.2.3 การลดจำนวนหนูโดยวิธีกล

เช่น ใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เป็นต้น

3.2.4 การไล่หนีโดยวิธีกายภาพ

การไล่หนีโดยวิธีทางฟิสิกส์ (physical control) การไล่หนออกจากบริเวณที่ต้องการควบคุมโดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงอัลตราซาวด์หรือคลื่นเสียงแบบอื่นๆ

3.2.5 การควบคุมหนูโดยการใช้สารเคมี

(1) การลดจำนวนหนู

- โดยการใช้วัตถุอันตรายที่สังเคราะห์หรือสารสกัดจากพืช

- การใช้สารรม (fumigants) วิธีการนี้เหมาะที่ใช้ในบริเวณที่มีที่ปิดมิดชิด เช่น ยุ้งฉาง โกดังเก็บสินค้าและของเหลือใช้ที่เก็บของในเรือบรรจุสินค้า สารรมที่ใช้รมหนู ได้แก่ สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulphur dioxide) เมทธิลโบรมด (methyl bromide) อลูมิเนียมฟอสฟินด์ (alluminium phosphine) เป็นต้น อย่างไรก็ตามไม่ขอแนะนำวิธีดังกล่าวนี้หากเป็นการใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข

- การใช้สารกำจัดหนู (rodenticides) สารกำจัดหนู ถ้าแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ในการฆ่าหนู มี 2 ประเภท คือ

การกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว (acute poisoned rodenticides, single dose rodenticides) เป็นสารที่ออกฤทธิ์เฉียบพลันทันที เมื่อหนูได้รับสารนี้เข้าไปเพียงครั้งเดียว (single dose) หรือช่วงระยะเวลาสั้น สารดังกล่าวนี้จะไปออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาททำให้หนูเป็นอัมพาตและตายในที่สุด นอกจากนั้นยังไปทำลาย ตับ ไต ระบบหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวหรืออัมพาต หนูจะตายภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง ถึง 1 วัน สารประเภทนี้มักใช้ในอัตราความเข้มข้นที่สูง เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ 0.8 – 1% เป็นต้น อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 คือห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออกหรือการมีไว้ครอบครอง

สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า (chronic poisoned rodenticides, slow acting posioned rodenticides, multiple dose rodenticides หรือ anticoagulant rodenticdes) เป็นสารที่หนูจะต้องกินติดต่อกันช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือกินครั้งเดียวและสะสมพิษในร่างกายถึงปริมาณเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ทำให้หนูตายโดยเกิดอาการเลือดไม่แข็งตัว (anticoagulant) เลือดจะออกทางช่องเปิดของร่างกาย ตามบาดแผล เลือดคั่งในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและถึงตายในที่สุดภายในระยะเวลา 3 - 15 วัน เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปที่มีอัตราความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ ตั้งแต่ 0.0025% - 0.005% แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ 1 ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทดแทนสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์เร็ว และสามารถแก้ปัญหาการเข็ดขยาดต่อเหยื่อพิษ (bait shyness) เพราะสัตว์จะไม่แสดงอาการป่วยกะทันหัน อาการพิษที่ เกิดขึ้นไม่เหมือนกันและต้องใช้เวลานานหลังจากกินเหยื่อพิษเข้าไปแล้ว ถ้าไม่กินถึงปริมาณที่ทำให้ตายสัตว์จะยังคงกินเหยื่อได้อีกต่อไป แต่ผลเสียที่ติดตามคือเหยื่อสามารถสร้างความต้านทานได้เพราะหนูต้องกินเหยื่อพิษหลายวัน เพื่อสะสมพิษให้ถึงปริมาณที่ทำให้หนูตาย เช่น วอร์ฟาริน หนูนอรเว ต้องกินวอร์ฟาริน ถึง 6 วันจึงจะตาย และในปี 1958 มีรายงานความต้านทานของหนูหริ่งบ้าน (Mus musculus) และหนูนอรเว (Rattus norveg11cus) ต่อสารวอร์ฟารินในหลายท้องที่ทั้งในประเทศสก๊อตแลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ค หลายประเทศในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงได้มีการวิจัยพัฒนาและผลิตสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้ากลุ่มนี้อีกหลายชนิด เช่น ฟูมาริน (fumarin) คูมาคลอ (coumachlor) คูมาเตดตระลิล (coumatetralyl) โดยเฉพาะสาร coumatetraly มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่มีพิษมากกว่า จึงถูกนำมาใช้กำจัดหนูที่ต้านทานต่อวอร์ฟาริน และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

กลุ่มที่ 2 เป็นสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าที่มีการพัฒนาและผลิตขึ้นมาใช้เพื่อใช้กับหนูและสัตว์ฟันแทะที่ต้านทานต่อวอร์ฟาริน สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษมากกว่าสารกำจัดหนูกลุ่มออกฤทธิ์ช้าในกลุ่มแรก สามารถเอาชนะปัญหาความต้านทานของหนูและสัตว์ฟันแทะได้ เช่น ไดเฟนาคูม (difenacoum) โบรไดฟาคูม (brodifacoum) โบรมาดิโอโลน (bromadiolone) โฟลคูมาเฟน (flocoumafen) ไดเฟทิโอโลน (difeths1alone) ทั้ง 5 ชนิดนี้ เป็นกลุ่มสารที่มีความเป็นพิษคล้ายคลึงกับสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าอื่นๆ แต่เป็นสารกำจัดหนูที่กินเพียงครั้งเดียวก็ถึงตาย (single dose rodenticides หรือ one feed kill) มีความเป็นพิษสูงต่อสัตว์ที่ล่าหนูเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อนก

(2) การขับไล่หนูออกจากพื้นที่หรือไม่ให้กัดทำลายสิ่งของ ได้แก่

-  การใช้สารไล่หนู (Repellent) เพื่อป้องกันการทำลายสิ่งของและวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เก็บไว้ หรือผลิตผลที่เก็บไว้ หรือการปนเปื้อนจากหนู หรือป้องกันหนูเข้ากัดแทะเมล็ดพืชที่ปลูก เช่น การใช้ endrin, cerasan, mestranol เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ AlaLpha-naphthylthiorea คลุกเมล็ดสน (conifer seed) ยังช่วยไล่หนีและกระรอกไม่ให้เข้ามากัดแทะเมล็ดได้ สารไล่หนีที่ผู้ผลิตสายไฟฟ้านิยมใช้กับสายไฟที่เก็บไว้ในโกดังป้องกันการกัดแทะของหนูชั่วคราว ได้แก่ R-55 (terbutlydimethyl trithio- peroxy-carbonate และ bio met 1 2 (tri-n-butyltinchloride)

3.3                  การประเมินผลก่อนและหลังการดำเนินการการป้องกันและกำจัดหนู โดยการสำรวจร่องรอยของหนู และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้แสดงผลเปรียบเทียบในเชิงรูปภาพ ตลอดจนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการดำเนินการป้องกันกำจัด

3.4 การสำรวจร่องรอยหนูอย่างสม่ำเสมอ และควรทำการควบคุมหนูอย่างน้อยทุก 3 - 6 เดือน

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง