ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ แมลงวัน

2   แมลงวัน (Flies)      แมลงวันจัดอยู่ในวงศ์ Diptera พบได้แทบทุกแห่งในโลกเป็นจำนวนมาก บางชนิดเป็นพวกหากินอย่างอิสระ (free-living insect) เป็นตัวเบียน (Parasite) ของคนและสัตว์ ทำให้เกิดความรำคาญหรือเป็นพาหะ (Vector) ถ่ายทอดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรค trypanosomiasis, Leishmaniasis,Yaw สู่คนและสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแมล

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ แมลงวัน

0.00 ฿

2   แมลงวัน (Flies)

     แมลงวันจัดอยู่ในวงศ์ Diptera พบได้แทบทุกแห่งในโลกเป็นจำนวนมาก บางชนิดเป็นพวกหากินอย่างอิสระ (free-living insect) เป็นตัวเบียน (Parasite) ของคนและสัตว์ ทำให้เกิดความรำคาญหรือเป็นพาหะ (Vector) ถ่ายทอดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรค trypanosomiasis, Leishmaniasis,Yaw สู่คนและสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแมลงวันบางชนิดที่ตัวเต็มวัยหากินอย่างอิสระ แต่ตัวอ่อนหรือตัวหนอนเจาะไซเข้าไปอาศัยอยู่ในแผลของคนและสัตว์ ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “Myiasis” หรือเนื้อร้ายชนิดต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตามมีแมลงบางชนิดในวงศ์นี้จัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ (beneficial insect) กล่าวคือ เป็นตัวห้ำ (predator) หรือเป็น parasite ของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด ตลอดจนตัวหนอนแมลงวันที่มีความสำคัญในประเทศไทยที่พบบ่อยๆ ตามอาคารบ้านเรือนและชุมชนเท่านั้น  

ลักษณะภายนอกที่สำคัญ

            แมลงในอันดับนี้ มีลักษณะสำคัญคือ มีปีกหน้าเพียง 1 คู่ ปีกคู่ที่ 2 หรือคู่หลังดัดแปลงไปเป็นตุ่มเล็ก (halteres) เป็นอวัยวะสำหรับทรงตัวในเวลาบิน บางชนิดเช่น แมลงวัน เหลือบ ที่ตรงโดนปีกจะมี membrane บางๆ เรียกว่า squamac, calypters or alulac ช่วยในการพับปีกและการบิน ส่วนมาก พบตาเดี่ยว (Ocelli) 3 ตา หนวดมีลักษณะต่างๆ กัน ปากมีวิวัฒนาการแตกต่างกันออกไป เพื่อประโยชน์ในการดูดกินอาหาร ขามีปล้องแรกยาว มีอวัยวะที่เรียกว่า Pulvilli หรือ empodium อยู่ระหว่าง claw ส่วนอก (thorax) เห็นชัด ส่วนท้อง (abdomen) มี 4 – 6 ปล้อง 

ความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของแมลงวัน

-          เป็นพาหะของโรค แมลงวันบ้าน แมลงวันหัวเขียวและแมลงวันหลังลาย สามารถนำโรคติดต่อมนุษย์ได้ โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรคและโรคหนอนพยาธิบางชนิด นอกจากนั้นยังสามารถนำโรคเรื้อน โปลิโอ โรคผิวหนังบางชนิด เช่น คุดทะราด และโรคติดต่อทางตา เช่น โรคตาแดง

-          ก่อให้เกิดความรำคาญ ในพื้นที่มีแมลงวันซุกชุม จะพบว่าแมลงวันเป็นสาเหตุหรือเป็นตัวที่ทำให้เกิดความรำคาญมากที่สุดทั้งในร้านค้า ร้านอาหาร ตลอดจนบริเวณที่พักผ่อนหย่อนใจมันจะเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาโดยเฉพาะระหว่างการรับประทานอาหาร แมลงวันที่พบตามฟาร์มปศุสัตว์ก่อให้เกิดปัญหาด้านปศุสัตว์อย่างมหาศาลได้

-          เป็นตัวพา (carrier) ไข่พยาธิต่างๆ โดยการที่แมลงวันไปหากินบนอาหารที่มีไข่พยาธิอยู่ ไข่พยาธิจะติดไปกับตัวแมลงตามส่วนของลำตัวและในลำไส้ ซึ่งอาจถูกแมลงเขี่ยหลุดลงไปปนกับอาหารที่คนกินได้

-          เป็นตัวนำเชื้อโรคบางชนิดในสัตว์เลี้ยง เช่น เป็นตัวนำ Trypanasoma spp. ซึ่งทำให้เกิดโรคในม้าและลา

-          ในกรณีที่คนและสัตว์กินตัวหนอนของแมลงวันหัวเขียวและแมลงวันหลังลาย อาจทำให้คนและสัตว์เกิดอาการ Intestinal myiasis หรือการที่แมลงวันหัวเขียวมาวางไข่ตามบาดแผลคนและสัตว์ก็จะเกิด myiasis  ได้เช่นกัน 

  1. 1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

แมลงวันส่วนใหญ่ มีชีววิทยาและวงจรชีวิตที่คล้ายคลึงกัน คือ ออกลูกเป็นไข่ (Oviparous) แมลงวันบางชนิด เช่น แมลงวันหัวลาย Parasarcophaga spp. ออกลูกเป็นตัว (larviparous) ได้ ไข่จะถูกวางลงบนอาหารที่เหมาะสมกับชนิดของแมลงวันเพื่อตัวอ่อนหรือหนอนแมลงวัน (maggot) สามารถดำรงชีวิตและเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้ อาหารที่เหมาะสำหรับแมลงวันบ้าน (Muscadomestical) เป็นสิ่งหมัก เน่า ชื้นและแข็ง พวกแมลงวันหัวเขียว (Hrysomya megacephala) และแมลงวันหลังลาย (Parasarcophaga spp.) อาจเป็นพวกเนื้อเน่าเสีย ซากสัตว์ สิ่งปฏิกูลที่เหลวแบบน้ำ หรืออุจจาระเหลว หนอนแมลงวันมีการเจริญเติบโตเป็น 3 ระยะ แล้วจึงเข้าระยะดักแด้ ซึ่งมีผิวหนังของตัวอ่อนระยะที่ 3 เป็นเปลือกห่อหุ้มดักแด้ไว้ภายในเรียกว่า puparium เมื่อจะออกเป็นตัวเต็มวัยจะใช้อวัยวะที่เรียกว่า ptilinum ซึ่งเป็นสันคมแข็งคล้ายใบมีดอยู่ด้านหน้าของหัวกะเทาะเปลือกออกมา ตัวเต็มวัยจะบินหาที่มืดหลบซ่อนเพื่อให้ผนังลำตัวเริ่มแข็งตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อาหาร ความชื้น และอุณหภูมิการผสมพันธุ์เกิดขึ้นตามมาภายในระยะเวลา 18 - 36 ชั่วโมง

            แมลงวันสามารถหาแหล่งวางไข่ที่เหมาะสมให้กับตัวอ่อนของมันโดยอาศัยสิ่งจูงใจ (Attractants) ต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และสารระเหยที่ฟุ้งขึ้นมาจากสิ่งเน่าเปื่อย ตัวเต็มวัยหากินอาหารประเภทเดียวกันกับหนอน อย่างไรก็ตามตัวแก่ชอบกินน้ำหวานจากดอกไม้และน้ำตาล การหาแหล่งอาหารของแมลงวันแตกต่างไปตามชนิดของแมลงวัน

1.1        วงจรชีวิต

แมลงวันมีวงจรชีวิตเฉลี่ยอยู่ในช่วง 6-12 วันนับจากฟักตัวออกมาเป็นไข่ และพัฒนาเจริญเติบโตจนกลายเป็นตัวเต็มวัย ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ร้อนหรือหนาวมากเกินไป ไข่แมลงวันจะไม่ฟัก แมลงวันตัวเมียสามารถออกไข่เฉลี่ยอยู่ในช่วง 100 - 200 ฟอง ในช่วงชีวิตของมัน

 ระยะไข่

ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ตามที่ชื้น เช่น ในกองขยะ และแหล่งเสื่อมโทรมต่างๆ ลักษณะไข่สีขาว รูปร่างคล้ายกล้วย มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ใช่เหล่านี้ต้องการความชื้นสูงเพื่อความอยู่รอด ใช้เวลาในการพัฒนาต่ำสุด 6-8 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส

ระยะตัวหนอน

ตัวหนอนจะฟักตัวออกมาจากไข่ และพัฒนาจนกลายเป็นหนอนที่โตเต็มที่ความยาว 12 - 13

มิลลิเมตร หนอนแมลงวันเรียกว่า Maggot ไม่มีขา ตัวหนอนมี 3 วัย มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกล้วย มีสีขาว ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ส่วนท้ายมีลักษณะมนป้าน และมีลักษณะคล้ายลูกตาติดอยู่ที่ส่วนท้าย 2 อัน ส่วนนี้เป็นรูหายใจที่คอยเปิดรับออกซิเจน เพื่อไปหล่อเลี้ยงร่างกาย

ระยะตัวหนอนส่วนใหญ่ชอบการเจริญเติบโตเต็มที่ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ชอบความชื้นสูงและไม่ชอบแสง เมื่อตัวหนอน เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหาร และจะเคลื่อนย้ายจากที่เย็นและชื้นไปสู่ที่แห้งกว่า กล่าวคือ ตัวหนอนจะเคลื่อนย้ายมาสู่ผิวหน้า หรือตามขอบหรือรอมกองขยะ เพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าดักแด้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตระยะไข่ ตัวหนอนและดักแด้ คือ สารอาหารความชื้นและอุณหภูมิ หนอนแมลงวันจะไม่ทนทานในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส

ระยะดักแด้

เมื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ใหม่ๆ ในช่วง 1 - 2 ชั่วโมงผิวหนังจะอ่อนนุ่ม มีสีขาวหรือสีเหลืองหลังจาก 24 ชั่วโมงผ่านไป ผิวหนังจะแข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ

ระยะดักแด้ จะขึ้นกับสภาพแวดล้อมได้แก่ ความชื้น และอุณหภูมิ สภาพแวดล้อมที่ทำให้ดักแด้เจริญเติบโตดีอยู่ที่อุณหภูมิ 35 - 40 องศาเซลเซียส ระยะเวลาต่ำสุดที่ใช้ในการเจริญเติบโตในระยะดักแด้คือ 3 - 4วัน ในระยะดักแด้สามารถทนทานต่อความชื้นต่ำได้ดีกว่าในระยะตัวหนอน แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียสขึ้นไป ดักแด้จะไม่สามารถทนได้และตายในที่สุด

ระยะตัวเต็มวัย

เมื่อตัวเต็มวัยมาจากดักแด้ใหม่ๆ จะมีลำตัวอ่อนนุ่มและไม่สามารถบินได้ หลังจากน้ำมันจะเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เพื่อมองหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการฟักตัว โดยส่วนใหญ่แล้วมันจะเลือกที่มืดๆ เพื่อยืดปีกและรอให้ผนังลำตัวของมันมีสีเข้มและแข็งขึ้น สถานที่ที่แมลงวันพักตัวเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการควบคุมแมลงวัน

หลังจากตัวเต็มวัยออกมาจากดักแด้ 2 วัน ก็พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์ ซึ่งอุณหภูมิเหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์คือ 30 องศาเซลเซียส หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 2 - 3 วันเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม

จำนวนรุ่น (Generation) ในแต่ละปีแมลงวันอาจมีการเจริญเติบโตได้ถึง 30 รุ่น และอาจมีมากกว่าถ้าอุณหภูมิ ความชื้นและอาหารเหมาะสม ปกติความชุกชุมของแมลงวันขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหาร ความสามารถในการขยายพันธุ์และสภาพแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นที่มีความเหมาะสม

ในประเทศเขตอบอุ่นและหนาวแมลงวันสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดและสามารถขยายพันธุ์ได้ในช่วงฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่ แต่ในฤดูหนาวแมลงวันสามารถเก็บตัวในอาคาร แมลงวันตัวเต็มวัยสามารถจำศีลในฤดูหนาวได้ นอกจากนั้นยังพบว่าระยะตัวหนอนโตเต็มที่และระยะดักแด้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในมูลสัตว์ที่เย็นและแข็งตัวในฤดูหนาวได้

ในประเทศไทยเราจะพบว่าแมลงวันได้ตลอดปีแต่ที่พบชุกชุมมากได้แก่ ในฤดูร้อน ซึ่งเป็นฤดูที่มีผลไม้ออกสู่ตลาดมาก เช่น ทุเรียน ม่วง เงาะ ลำไย เป็นต้น แต่ในบางท้องที่หรือจังหวัดที่มีฟาร์มปศุสัตว์ เช่น สุกร วัว ควาย จะพบความชุกชุมของแมลงวันมีสูงในต้นฤดูฝนทั้งที่เนื่องจากฟาร์มต่างๆ เหล่านี้มีปริมาณมูลสัตว์มาก  ไม่สามารถทำลายหรือนำไปตากแห้งทำปุ๋ยได้ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีของแมลงวัน

1.2  นิเวศวิทยา

แหล่งเพาะพันธุ์  ที่สำคัญของแมลงวัน ได้แก่

-          มูลสัตว์ พวก วัว ควาย ไก่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญของแมลงวันบ้านตลอดจนมูลสัตว์หรือมนุษย์ที่กองขยะกระจัดกระจายนอกบ้าน มูลสัตว์เหล่านี้จะมีความชื้นและความนุ่มเหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์ของแมลงวัน  บางภูมิภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดที่มีการทำฟาร์มหมู พบว่าแมลงวันมีความชุกชุมมากเพราะมูลของหมูเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีของแมลงวันหลายชนิด

-          กองสิ่งปฏิกูลและของเสียจากโรงงานผลิตอาหาร เศษขยะ สิ่งปฏิกูลและของเสียที่เหลือทิ้งไม่ได้ใช้ ในการผลิตอาหารอุตสาหกรรม เช่น เปลือกผลไม้ เศษพืชผักผลไม้ต่างๆ จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีของแมลงวัน

-          เศษของเน่าเสียซึ่งสารอินทรีย์ ได้แก่ เศษอาหารต่างๆ กองขยะจากตลาด จากอาคารบ้านเรือน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่เหมาะสมของแมลงวันทั้งในเทศบาลและสุขาภิบาลรวมทั้งในเขตชนบทด้วย

แหล่งเกาะพัก

แมลงวันชอบเกาะบนพื้นผิวขรุขระมากกว่าพื้นที่เรียบ ในประเทศฤดูร้อนจะพบว่าแมลงวันเกาะอยู่ทั่วไปนอกอาคารบ้านเรือน เช่น ตลาด ตามสถานประกอบการร้านค้า ร้านอาหารหรืออาคารโรงเรือน ตามหญ้าหรือวัชพืชต่างๆ รอบอาคาร แต่หากนอกอาคารมีความร้อนสูง มันจะเกาะในอาคารที่ร่มเงาที่เย็น ในพื้นที่ที่อากาศเย็นแมลงวันจะอยู่ภายในอาคารเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกและลมแรง ในเขตชนบทแมลงวันจะอยู่กระจัดกระจายตามร่มเงาหรือร่มไม้ ทุ่งหญ้า วัชพืชใกล้อาคารหรือเกาะตามตัวสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย หมู แลตามคอกสัตว์เหล่านี้

ในเวลากลางคืนส่วนใหญ่จะเกาะพักในแหล่งที่ใกล้กับแหล่งที่มันหาอาหารในตอนกลางวัน เช่น เกาะพัก ตามใบไม้ ต้นไม้ หรือตามเส้นเชือกระโยงระไยตามอาคารบ้านเรือน ตลาดหรือโรงเรือนคอกสัตว์ต่างๆ รวมทั้งคอกสัตว์หรือวัตถุขนาดเล็กๆ โดยปกติจะพบเกาะในที่สูงกว่าพื้นที่สูงกว่า 2 เมตร และเป็นที่ที่ไม่ค่อยมีลมมารบกวน มีแมลงวันจำนวนมากเกาะตามเส้นเชือก สายไฟ หรือวัตถุเล็กๆ ที่ห้อยแขวนจากหลังคา หรือผูกเป็นราวต่างๆ ตามอาคาร เราจะสังเกตแหล่งเกาะพักของแมลงวันได้โดยตรวจคราบดำๆ ของสิ่งขับถ่ายของแมลงวันที่ติดตามวัสดุเหล่านั้น แหล่งเกาะพักเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญมากในการกำหนดวิธีการในกาควบคุมแมลงวันตัวเต็มวัย

การแพร่กระจาย

แมลงวันเป็นแมลงที่สามารถบิได้คล่องตัวมาก สามารถบินได้อย่างน้อย  6 - 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถบินสวนทางลมพัดอ่อนๆ ได้ โดยธรรมชาติแล้วแมลงวันจะไม่ค่อยเคลื่อนย้าย และจะไม่ค่อยบินระยะไกล มันจะบินรอบๆแหล่งพันธุ์และแหล่งอาหาร หากมันบินไปพบแหล่งอาหารที่เหมาะสม รวมทั้งแหล่งเพาะพันธุ์และแหล่งเกาะพักมันจะอาศัยอยู่บริเวณนั้น โดยปกติจะอยู่ในรัศมี 100 - 500 เมตร จากแหล่งเพาะพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามในสภาพอากาศที่เหมาะสมแมลงวันอาจมีการเคลื่อนกระจายออกไปในพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะในกรณีที่แมลงวันมีการระบาดและมีความชุกชุมสูงมาก แมลงเหล่านี้จะเคลื่อนกระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงระยะ 1- 5 กิโลเมตร อาจเป็นกลุ่มบ้านหรือหมู่บ้าน หรือฟาร์มปศุสัตว์ใกล้เคียงก็ได้

แมลงวันตอบสนองต่อสีแตกต่างกัน ชอบพื้นผิวค่อนข้างมืด สีดำหรือสีแดงโทนมืด บางชนิดชอบสีฟ้าเข้ม การตอบสนองของแมลงวันต่อหลอดไฟสีต่างๆ พบว่าในสถานที่อุณหภูมิต่ำๆ จะชอบหลอดสีทองหรือสีแดง การตอบสนองต่อสีแตกต่างกันของแมลงวันมีความสำคัญในการสร้างกับดักแมลงวันแต่ละชนิด

1.3        ชนิดแมลงวันสำคัญ

แมลงวันบางชนิดชอบอยู่ใกล้ชิดคนทั้งในและนอกอาคาร ที่อยู่อาศัยหรือตามเขตชุมชน แมลงวันที่พบตามอาคารบ้านเรือนในประเทศไทย มีดังนี้

1.3.1        แมลงวันบ้าน (Housefly) : Musca domestica L.

แมลงวันมีแพร่กระจายทั่วโลก 99 % ของแมลงวันที่อยู่ในเขตชุมชน ตามอาคารบ้านเรือนมักเป็นแมลงชนิดนี้ แมลงวันบ้านเป็นตัวถ่ายทอดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดกับตาและโรคทางเดินอาหาร โรคท้องร่วง เชื้อโรคเป็นจำนวนมากอาจติดมาอยู่กับขาหรือออกมากับน้ำลายที่สำรอกออกมาเพื่อละลายน้ำตาล อาหาร และนอกจากนี้การถ่ายของเสียออกมาทำให้เปื้อนเป็นจุดๆ ตัวที่กินอิ่ม จะถ่ายออกมาทุก 5 นาทีตลอดวัน แมงวันอาจเป็นตัวสำคัญที่สุดของโรคท้องร่วงอย่างรุนแรงในคนและสัตว์ นอกจากนี้ก็พบว่าเป็นที่อาศัยของเชื้อ poliomyelitis ซึ่งเชื้อนี้อาจเป็นตัวทำให้เกิดเป็นอัมพาตได้ ไข่ของพยาธิที่มีขนาดเล็กกว่า 50 ไมครอนก็อาจแพร่กระจายติดไปกับตัวแมลงวันได้

ลักษณะภายนอกที่สำคัญ

ตัวสีเทาดำขนาด 5-6 มิลิเมตร มีแถบตามยาวสีเทาเข้มหรือดำ 4 เส้น ที่ด้านบนของส่วนอก ส่วนปากเป็น Sponging type เส้นปีกที่ 4 โค้งขึ้นไปหาเส้นปีกที่ 3 ชัด ขาทุกคู่มี tarsi 5 ปล้อง ปล้องสุดท้ายมี claw และ pulvilli ซึ่งเต็มไปด้วย glandular hairs ซึ่งทำหน้าที่กลั่นสารอย่างหนึ่งมีผลทำให้ pulvilli เปียกอยู่เสมอ เวลาแมลงวันบินไปเกาะบนสิ่งใดก็ตาม เศษชิ้นเล็กๆ ของสิ่งนั้นก็จะติดขึ้นมาด้วย

วงจรชีวิต

แมลงวันบ้านมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) ชอบวางไข่ตามมูลสัตว์ โดยเฉพาะที่ยังสดใหม่อยู่ จะเป็นทีที่มันชอบวางไข่มากกว่าพวกที่ย่อยสลายไปบ้างแล้ว

ระยะไข่ วางตามรอยหรือตามร่องของอาหารหรือวัสดุที่เป็นอาหาร ตัวเมียอาจวางไข่ครั้งเดียวเป็นจำนวนมาก หรือวางเป็นกลุ่มหลายๆ ครั้งก็ได้ ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 2,000 ฟอง ไข่ยาวประมาณ 0.8-1.0 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายแบบ banana – shaped ทางด้าน dorsal มีแนวตามยาว 2 แนว สีขาวนวล ไข่ฟักภายใน 6-12 ชั่วโมง

ระยะตัวหนอน สีขาวนวล โตเต็มที่ขนาด 10-14 มิลลิเมตร หนอนหัวเรียวและท้ายป้าน มี 12 ปล้อง ทางด้านหัวมีอวัยวะคล้ายตะขอ (Mouth hook) มี posterior spiracle 1 คู่ หนอนมี 3 ระยะ เจริญเต็มที่ในเวลา 5-6 วัน ในอุณหภูมิปกติ 27-30 องศาเซลเซียส) เวลาเข้าดักแด้จะคลานไปที่แห้งกว่า

ระยะดักแด้ ระยะดักแด้ประมาณ 4-5 วันตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ โดยการใช้อวัยวะพิเศษเรียกว่า ptilinum ดันให้ฝาเปิดออก

ระยะตัวเต็มวัย มีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 1 เดือน ตัวเมียแต่ละตัววางไข่ประมาณ 1 เดือน ตัวเมียแต่ละตัววางไข่ประมาณ 120-140 ฟองต่อครั้ง และอาจจะไข่ได้ถึง 5-6 ครั้งตลอดวงจรชีวิต ดังนั้นแมลงพวกนี้จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในเวลาอันสั้น ในเขตร้อนชื้นแมลงวันแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

1.3.2        แมลงวันหัวเขียว (Blowfly) : Chrysomyia megacephala Fabricius

ลักษณะภายนอกที่สำคัญ

แมลงวันหัวเขียวมีลำตัวค่อนข้างใหญ่ ประมาณ  9-15 มิลลิเมตร สีเขียวอมน้ำเงินสะท้อนแสง มีหนวดแบบ arista ที่มีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง

แมลงวันหัวเขียวพบทั่วไปตามบ้านเรือน โดยเฉพาะตามแหล่งที่มีอาหารเน่าเสียซากสัตว์ที่ตายใหม่ๆ หรือตามกองขยะในเคหะชุมชน จะเป็นแหล่งพันธุ์ที่ดีของแมลงวันหัวเขียว ไข่ของแมลงวันหัวเขียวมีขนาดยาว สีขาว เป็นกลุ่ม บนซากสัตว์ที่ตายแล้วหรือบาดแผลของสัตว์หลังจากตัวหนอนฟักออกมาจากไข่กินซากสัตว์ที่แม่ของมันวางไข่ไว้ เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าดักแด้บนซากสัตว์นั้นต่อไป บางครั้งตัวหนอนที่อยู่บนเนื้อสัตว์อาจจะถูกมนุษย์รับประทานโดยบังเอิญ เป็นสาเหตุให้เกิดโรค myiasis ในมนุษย์และในสัตว์เลี้ยงได้ ฉะนั้นในการรับประทานเนื้อสัตว์ควรจะปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง บางครั้งพบว่าแมลงวันหัวเขียวสามารถวางไข่บนจมูก ปาก หูและตาของสัตว์เลี้ยงได้

วงจรชีวิต

อัตราการสืบพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียวจะสูงในช่วงที่มีอาหารสมบูรณ์และอากาศอบอุ่น วงจรชีวิตจากไข่จนกลายเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 11-16 วัน ที่อุณหภูมิ 27-30 องศาเซลเซียส ระยะไข่ใช้เวลา 6-12 ชั่วโมง จึงฟักออกมาเป็นตัวหนอน มีด้วยกันทั้งหมด 3 วัย คือหนอนวัยที่ 1 หนอนวัยที่ 2 และหนอนวัยที่ 3 ตัวหนอนใช้เวลาประมาณ 7 วัน จึงเข้าดักแด้ หลังจากนั้นจะใช้ชีวิตอยู่ได้เฉลี่ย 8-16 วัน ตัวผู้อยู่ได้นานกว่าตัวเมีย ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 4-15 ฟองที่สภาพเหมาะสมตัวเมียวางไข่สูงสุดเกือบ 400 ฟอง

1.3.3        แมลงวันหลังลาย (Fleshfly) : Parasarcophaga ruficornis Fabricius

ลักษณะภายนอกที่สำคัญ

แมลงวันหลังลายมีลำตัวใหญ่สีเทา ขนาด 10-13 มิลลิเมตร ลักษณะเด่นคือ มีแถบกำ 3 เส้น ตามยาวที่ส่วนอก ส่วนท้องด้านบนมีลายรูปสี่เหลี่ยมสีเทาเข้มหรือดำ แมลงวันหลังลายจะหาน้ำหวาจากดอกไม้ น้ำผลไม้ แต่พวกมันจะไวต่อขยะ ซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อย แผลและมูลสัตว์ แมลงวันหลังลายไม่ใคราพบเข้ามาทำความรำคาญในบ้านเรือน ตัวอ่อนของแมลงวันเหล่านี้จะเป็นสาเหตุของโรค intestinal myiasis ในมนุษย์และสัตว์

วงจรชีวิต

จากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 16-27 วัน ภายในอุณหภูมิ 27-30 องศาเซลเซียส ตัวเมียจะวางไข่และเจริญเติบโตใรตุ่มหนอง ผิวหนัง ซากเน่า อุจจาระ ระยะไข่ใช้เวลา 6-12 ชั่วโมง หรือ 1 วัน จึงฟักออกมาเป็นตัวหนอน มีทั้งหมดด้วยกัน 3 วัย ระยะตัวหนอนจะใช้เวลาปราณ 7 วัน จึงเข้าดักแด้ ประมาณ 6 วัน จึงออกจากดักแด้กลายเป็นตัวเต็มวัยพร้อมที่จะสืบพันธุ์ต่อไป ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 20 วัน วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 3-36 ฟองตัวเมียแต่ละตัววางไข่ได้ 4-5 ครั้ง บางครั้งจะออกลูกเป็นตัวหนอนได้ครั้งละ 10-40 ตัวและอาจมากกว่านี้ ถ้ามีสภาพอาหารและอุณหภูมิเหาะสม

  1. 2. วิธีกาควบคุมแมลงวัน

2.1        การควบคุมโดยใช้วิธีชีววิทยา (Biological control)

เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติคือตัวห้ำ (Predators) ตัวเบียน (parasitoids) และจุลินทรีย์ (microorganism) มาช่วยในการกำจัดแมลงวัน เช่น ไรตัวน้ำ แมงมุม จิ้งจก ตุ๊กแก ตั๊กแตนตำข้าว มด แตน ต่อ แมลงหางหนีบ กบ คางคก นก ไก่ เป็นต้น

2.2        การควบคุมโดยฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลง (Chemical control) ในท้องที่ที่ต้องการกำจัดแมลงวันให้หมดไปโดยเร็ว การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงจะช่วยให้ได้ผลยิ่งขึ้น

 

วัตถุอันตรายที่ใช้ในการกำจัดแมลง

(ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

กลุ่ม pyrethroid

กลุ่ม organophosphate

กลุ่ม carbamate

กลุ่มอื่นๆ

cypermethrin

Trichlorfon

propoxur

Azamethiphos

Zeta- cypermethrin

Diazinon

bendiocarb

imidacloprid

Cyfluthrinbeta-cyfluthrin

fenitrothion

 

 

Permethrindeltamethrin

 

 

 

bifenthrin

 

 

 

 

2.3        การควบคุมโดยวิธีกล (Mechanical control)

2.3.1        การใช้วัสดุกาวเหนียว

2.3.2        การใช้กับดักแสงไฟ

2.3.3        การใช้กับดักชนิดเหยื่อล่อ โดยอาศัยกลิ่นที่แมลงวันชอบทำเป็นกล่องหรือกรง

2.4        การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (Physical control)

โดยใช้ไม้ตีแมลงวันหรือไม้แบตช็อตแมลง 

  1. 3. การจัดการแมลงวัน

ในการจัดการเพื่อควบคุมจำนวนแมลงวัน ต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพื่อมิให้มีการระบาด เช่น การรักษาความสะอาด การจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และการใช้เหยื่อล่อเป็นต้นเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ประหยัด ง่ายต่อการปฏิบัติ เป็นการป้องกันแก้ไข ณ จุดต้นตอของปัญหา โดยการขจัดแหล่งอาหาร แหล่งเกาะพักอาศัยและแหล่งเพาะพันธุ์ ปิดกั้นหรือสกัดกั้นไม่ให้แมลงวันเข้าถึงสถานที่ปรุงหรือผลิตอาหาร รวมทั้งการจัดการเรื่องความสะอาดของอาคารสถานที่ เพื่อไม่ให้มีกลิ่นอาหาร หรือเกิดจากการหมักหมมบูดเน่า อันอาจดึงดูดแมลงวันให้เข้ามามนพื้นที่ได้

การพิจารณาการนำวัตถุอันตรายซึ่งเป็นสารเคมีมาใช้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อการใช้มาตรการอื่นๆ ไม่บังเกิดผลแล้ว แม้กระนั้นก็ตามก็ยังต้องตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์การพิจารณาและดำเนินการด้วยความละเอียดรอบคอบ โดยทั่วไปการจัดการแมลงวัน มีขั้นตอนในการปฏิบัติที่สำคัญ คือ

3.1        การสำรวจหรือตรวจสอบ (Inspection)

เนื่องจากแมลงวันมีแหล่งระบาดแตกต่างกันออกไป จึงต้องตรวจสอบแหล่งที่แมลงระบาดให้ชัดเจน การควบคุมกำจัดจึงจะได้ผล

แผงสำรวจแมลงวัน (fly grill count or scudder grill) เป็นวิธีการซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง แผงสำรวจทำด้วยแผ่นไม้ขนาดกว้าง ¾ นิ้ว ประมาณ 16-24 แผ่น โดยทำเป็นแผงที่มีช่องว่างเท่าๆกัน มีพื้นที่ระหว่าง 0.8 ตารางเมตร (ขนาดใหญ่) ถึง 0.2 ตารางเมตร(ขนาดเล็ก) ขนาดใหญ่ใช้บริเวณนอกอาคารบ้านเรือน สำหรับขนาดกลางและขนาดเล็กเหมาะกับการใช้อาคาร ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของอาคารบ้านเรือน

การสำรวจแมลงวันทำโดยเอาแผงสำรวจไปวางที่มีแมลงวันชุกชุมและนับจำนวนแมลงวันที่มาเกาะที่แผงในระยะเวลา 30 วินาที ในการสำรวจแต่ละจุดควรทำ 3-5 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย

วิธีนี้สามามารถสำรวจจำนวนแมลงวันได้อย่างรวดเร็วและง่ายเหมาะกับอาคารที่อยู่อาศัย แต่มีข้อเสียถ้าแมลงวันเกาะกระจัดกระจายจะนับลำบาก และขึ้นกับอุณหภูมิขณะสำรวจ ควรตรวจนับในเวลาเดียวกัน ทั้งก่อนดำเนินการควบคุมและประเมินผล

การสำรวจ ในการวางแผนและการประเมินผลการควบคุมแมลงวัน จำเป็นต้องทราบ

ข้อมูลเกี่ยวกับความชุกชุมของแมลงวันรวมทั้งทราบการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการดำเนินการควบคุม ในการสำรวจเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงความชุกชุมของแมลงวันตัวเต็มวัยมีหลายวิธีการ แต่ทุกวิธีการไม่สามารถบอกจำนวนแท้จริงของแมลงวันท้องที่นั้นๆ ได้ ดังนั้นการสำรวจจึ่งเป็นเพียงการบอกตัวเลขค่าดัชนี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดการควบคุมเท่านั้น 

วิธีการสำรวจ ข้อดีและข้อเสียแต่ละวิธี

 

วิธีการสำรวจ

ข้อดี

ข้อเสีย

1.   แผงสำรวจ ((fly grill / count    or scudder grill)

-      ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว

-      ใช้ได้ในโรงเรือนที่พบแมลงวันระบาด

-      ประเมินความหนาแน่นของแมลงวันได้

-      การนับจำนวนบางครั้งไม่สะดวก

-      ใช้ไม่ได้ในการสำรวจแมลงวันบนตัวสัตว์ ถ้ามีจำนวนน้อยหรือมากไปข้อมูลอาจคลาดเคลื่อน

2.   การใช่เหยื่อ (Count on bait)

-      ใช้สะดวกในที่ที่แมลงระบาดน้อย

-      เหยื่อบางชนิดแมลงวันไม่ชอบข้อมูลอาจผิดได้

3.   นับจำนวนบนพื้นที่ (Count on available surface)

-      ใช้ง่าย และรวดเร็ว

-      ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์

4.   กับดักใช้เหยื่อ

-      ใช้ได้เป็นครั้งคราว เพื่อการจับแมลงวันมาทดลองหรือแยกชนิด

 

-      ขึ้นกับชนิดของเหยื่อ และที่ตั้งบางทีมีแมลงวันมาจากที่อื่น

-      การติดตั้งลำบาก

5.   กับดักแบบกาว (sticky trap)

-      ใช้ได้เป็นครั้งคราวเพื่อเก็บแมลงมาศึกษา

-      ขึ้นกับสถานที่ตั้งค่อนข้างไม่สะดวก ใช้เวลานาน แลดูสกปรก

6.   กับดักแสงไฟ (light trap)

-      ใช้ได้ผลในที่แมลงระบาดจำนวนน้อย

-      ใช้ได้กับแมลงไม่ว่ามากหรือน้อย

-      ได้ผลดีในการนำมาศึกษา

-      แพง สิ้นเปลือง ใช้ได้เฉพาะในอาคาร แต่ใช้ได้ในบางท้องที่ขึ้นกับอุณหภูมิ

 

7.   การจับแมลงวัน (catching fly)

-

-      ข้อมูลไม่ชัดเจน

    

3.2        การควบคุมแหล่งพักอาศัย (Habitat alteration)

การเปลี่ยนแปลงสภาพที่อาศัยของแมลงวันทางด้านต่างๆ เช่น อาหาร ความชื้น การจัดการสภาพแวดล้อม จะมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของแมลงวัน

3.3        การควบคุมด้านสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม  (Sanitation and environmental management)

3.3.1        กำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น

-          จัดเก็บขยะให้มิดชิดและนำออกทิ้งให้บ่อยเท่าที่สามารถทำได้

-          นำมูลสัตว์ไปฝังกลบหรือทำปุ๋ยคอก หากเป็นฟาร์มปศุสัตว์ ควรจัดสถานที่เก็บมูลสัตว์ที่เหมาะสมและถูกสุขาภิบาล

3.3.2        ปิดกั้นหรือสกัดกั้นทางเข้า – ออก เช่น

-          สร้างห้องเก็บขยะเปียกและเศษอาหารต่างหากเพื่อป้องกันกลิ่นที่อาจดึงดูดแมลงวันและเพื่อปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงขยะได้

-          ติดตั้งมุ้งลวดที่ประตู หน้าต่างและช่องระบายอากาศห้องครัวและห้องอาหาร เป็นต้น

-          ตัดตั้งม่านลม (air curtain) หรือแถบริ้วพลาสติก Plastic strip) ณ บริเวณทางเข้า-ออกของอาคารตามความเหมาะสม

3.3.3        ให้ความรู้อาศัยแก่ผู้อาศัยในอาคารบ้านเรือนและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง และดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น

-          ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการแมลงวันแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดอบรมให้กับผู้ที่อยู่ในชุมชนหรือผู้ประกอบการโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

-          จัดทำโปสเตอร์ แผ่นพับและสื่อสุขศึกษาเพื่อเผยแพราความรู้ในการจัดการแมลงวัน

3.4        การควบคุมการโดยวิธีกล

3.4.1        การใช้วัสดุกาวเหนียวเนื่องจากอุปนิสัยแมลงวันชอบเกาะพักตามสิ่งที่ห้อยแขวนหรือกิ่งก้านของต้นไม้เตี้ยๆ ดังนั้นการใช้กาวเหนียวทาลงบนพื้นที่ดังกล่าว จึงสามารถดักจับแมลงวันได้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีสินค้าจำหน่ายหลายชนิดทั้งที่เป็นแถบ เป็นแผ่นและกาวชนิดใช้พับกับก้านไม้ ซึ่งค่อนข้างสะดวกต่อการใช้งานเมื่อแมลงวันมาเกาะเต็มแล้วก็นำปำจัดทิ้ง

3.4.2        การใช้กับดักแสงไฟ เป็นวิธีการใช้คลื่นแสงดึงดูดแมลงวันเข้ามาสู่กับดักแล้วถูกแผงไฟฟ้าช๊อตหรือตอดกับแผ่นกาวเหนียว คลื่นแสงดังกล่าวคือคลื่นแสงที่เรียกว่า black light ซึ่งแมลงวันชอบและมักบินเข้าหา

3.4.3        การใช้กับดักชนิดเหยื่อล่อเป็นวิธีการที่ออกแบบมา เพื่อใช้สอดคล้องกับนิสัยของแมลงวันที่ชอบตามกลิ่น โดยการสร้างกับดักให้แมลงวันหลงเข้ากับดัก โดยอาศัยกลิ่นที่แมลงวันชอบ มักทำเป็นกล่องหรือกรงและมีกรวยด้านบนเหนือเหยื่อเมื่อแมลงวันกินเหยื่อก็จะบินขึ้นในแนวดิ่งเข้าสู่กับดักและไม่สามารุบินกลับออกมาได้ เมื่อขาดน้ำขาดอาหารก็จะตายไปเอง (ซากของแมลงวันอาจนำไปใช้เป็นอาหารปลาได้) วิธีนี้จะได้ผลดีหากใช้ในพื้นที่ปิด

3.5        การควบคุมโดยวิธีกายภาพ

โดยใช้ไม้ตีแมลงวันหรือใช้ไม้แบบช๊อตแมลง นิยมใช้ในบ้านเรือนที่มีแมลงวันไม่ชุกชุมมากนักหรือแมลงที่บินพลัดหลงเข้ามา

3.6        เป็นการควบคุมโดยวิธีชีววิทยา

เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ คือ ตัวห้ำ (predators) ตัวเบียน (parasitoids) และจุลินทรีย์ (microorganisms) มาช่วยในการกำจัดแมลงวันในระยะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ หรือตัวเต็มวัย เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูงด้วยเหตุที่แมลงวันต่างมีศัตรูทางธรรมชาติคอยควบคุมอยู่แล้วขึ้นอยู่กีบตัวควบคุมว่าเป็นชนิดใด เช่น ตัวห้ำ แมงมุม จิ้งจก ตุ๊กแก ตั๊กแตนรำข้าว มด แตน ต่อ แมลงหางหนีบ กบ คางคก นก ไก่ เป็นต้น

3.7        การควบคุมโดยการใช้สารเคมี

ข้อพิจารณาทั่วไปในการเลือกใช้วัตถุอันตราย

  1. 1. เลือกใช้ชนิดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา
  2. 2. มีประสิทธิภาพสูง ใช้ในปริมาณน้อย และแมลงสร้างความต้านทานยาก
  3. 3. มีความอันตรายน้อยต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายและขับถ่ายนอกร่างกายได้เร็ว
  4. 4. ควรมีฤทธิ์คงทนได้ยาวนานในสภาพธรรมชาติและไม่สลายตัวเร็วเกินไป
  5. 5. ไม่ติดไฟง่ายและไม่มีกลิ่นเหม็น
  6. 6. ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดการอุดตันและเปรอะเปื้อนหลังการใช้งาน
  7. 7. สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่สลับซับซ้อน

3.7.1        การใช้สารเคมีกำจัดหนอน (maggot)

การควบคุมแมลงวันระยะนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากในระยะตัวอ่อนการเคลื่อนไหวย่อมช้ากว่าตัวเต็มวันที่มีปีก การควบคุมระยะตัวอ่อนนิยมใช้สารเคมีประเภทหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแมลง (insect growth regulation)

3.7.2        การใช้สารเคมีชุบวัสดุห้อยแขวน

แมลงวันชอบเกาะพักตามบริเวณที่เป็นสิ่งห้อยแขวน ดังนั้นเราอาจมีวิธีควบคุมโดยการใช้เชือกป่านหรือวัสดุที่เหมาะสมยาว 1-2 เมตร ชุบลงในน้ำตาลผสมกาวและสารเคมี เช่น สารไดอะซีนอน (diazinon) หรือ สารเฟนนิโทรทริน (fenitrothrin) 8-10% แล้วทำให้เป็นสีดำหรือนานกว่าขึ้นอยู่กับลักษณะสถานที่และระดับการระบาด

3.7.3        การฉีดพ่นสารเคมีแบบครอบคลุมพื้นทีทั้งหมด

วิธีการนี้ใช้ในกรณีที่พบปัญหาแมลงวันชุกชุม ซึ่งการพ่นจะครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง จึงควรระวังเรื่องการปนเปื้อนและการฟุ้งกระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงให้มากเป็นพิเศษ วิธีการนี้มักควบคุมแมลงวันได้ในระยะสั้นๆ จะเป็นผลดีมากหากเป็นการฉีดพ่นลงบนที่เพาะพันธุ์และแหล่งเกาะพักอาศัยของแมลงวันหลังการออกหากินแล้ว

3.7.4        การใช้เหยื่อพิษ

เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมานานและได้ผลดี         สามารถฆ่าแมลงวันได้อย่างรวดเร็วนิยมใช้ทั้งเหยื่อพิษที่เป็นของแข็งและของเหลว ซึ่งส่วนมากจะประกอบด้วยน้ำตาล สารเคมีและสารดึงดูดแมลงวัน โดยทั่วไปไม่อนุญาตให้นำไปใช้ภายในบริเวณสถานที่ผลิตอาหาร นอกเสียแต่ว่าจะไม่มีการผลิตในขณะนั้น และต้องไม่นำไปวางใกล้กับอาหาร ต้องโรยหรือวางลงในกล่องหรือหรือภาชนะรองรับ ไม่โรยหรือวางลงบนพื้นโดยตรง การใช้เหยื่อพิษจะให้ได้ผลดีต้องทำการกำจัดอาหารหรือเหยื่อชนิดอื่นที่มีในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเพื่อไม่ให้แมลงมีทางเลือก

3.8        วิธีการบริการโดยใช้สารเคมี

3.8.1        การวางแผนการทำบริการ

ควรจัดทำตารางวางแผนการทำบริการ (Treatment plan) โดยกำหนดวิธีการและความถี่ห่างในการทำบริการ (Mean and frequency of treatment) ให้เหมาะสมกับระดับการระบาดและลักษณะที่สถานที่รับบริการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกำหนดนำสารเคมีมาใช้เท่าที่มีความจำเป็นและมีการสลับสับเปลี่ยนสารเคมีและรูปแบบการทำบริการอยู่ในตัวเบ็ดเสร็จ เพื่อป้องกันแมลงที่อาจสร้างความต้านทานสารเคมี รูปแบบของแผนการทำบริการอาจจัดทำตามตัวอย่างใน “เอกสารแนบหมายเลข 1” ก็ได้

3.8.2        การทำบริการ

เพื่อให้ฝ่ายปฏิบัติการหรือฝ่ายบริการทราบถึงรายละเอียด วิธีการทำบริการตลอดจนสารเคมีที่ใช้

เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมหรือข้อตกลงของแต่ละสถานที่รับบริการจึงควรจัดทำรายละเอียดการทำบริการ (Treatment details) แนบติดไว้กับบัตรบริการด้วย ตามตัวอย่างใน “เอกสารแนบหมายเลข 2”

3.8.2.1        การฉีดพ่นสารเคมี (Spraying) อาจเป็นการฉีดพ่นครอบคลุมพื้นที่ซึ่งมีการระบาด เพื่อการำจัดแหล่งเพาะพันธุ์หรทอฉีดพ่นลงที่แหล่งเกาะพักอาศัยหลังการออกหากิน การฉีดพ่นที่แหล่งเพาะพันธุ์ ควรใช้เครื่องพ่นอัดแรงที่สามารถพ่นสารเคมีให้มีขนาดละอองใหญ่พอสมควรเพื่อทำให้พื้นผิวของแหล่งเพาะพันธุ์เปียกลึกได้ระหว่าง 10-15 เซนติเมตร โดยใช้สารเคมีจากกลุ่มออร์กกาโนฟอสเฟตหรือคาร์บาเนต ส่วนผสมที่ใช้ 0.5-1.0 กรัมต่อตารางเมตร หรือการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต เช่น ไดฟลูเบนซูรอน ส่วนผสมที่ใช้ 1.0 กรัมต่อตารางเมตร หรือไซโรมาซีน ส่วนผสมที่ใช้ 0.5 – 1.0 กรัมต่อตารางเมตร ตามความเหมาะสมกับสถานที่รับบริการ

การฉีดพ่นเพื่อกำจัดตัวแมลงวันควรฉีดตอนเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งเวลาดังกล่าวแมลงวันจะเกาะอยู่ตามที่เกาะพักอาศัยรอรับแสงแดดเพื่อบินออกหาอาหารไม่ควรฉีดในเวลาฝนตกหรือเมื่อความเร็วของลมเกินกว่า 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

3.8.2.2        การใช้เหยื่อกำจัดแมลงวัน (bait) ควรนำมาใช้เพื่อเสริม หรือ ประกอบกับโปรแกรมการทำบริการโดยวิธีการพ่นสารเคมี เหยื่อชนิดน้ำต่างๆ เช่น liquid sprinkle และ liquid dispenser bait ควรใช้พรม หรือ หยดลงพื้นผิวที่แมลงวันเกาะพักอาศัยภายนอกอาคาร หรือ บนกองขยะ ในขณะที่เหยื่อชนิดแห้ง (dry scatter bait) อาจใช้โรยบริเวณรอบๆ ถังขยะ ตามขอบหน้าต่าง หรือ ตามบริเวณพื้นทางเดินที่มีแมลงวันระบาด หากต้องนำเหยื่อชนิดแห้งไปใช้ในที่เปียก หรือ ชื้นแฉะ ให้ใช้วิธีโรยบนภาชนะรองรับ เช่น ถาดพลาสติก กระดาษแข็ง หรือ กล่องที่จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษ

3.8.2.3        การพ่นสารเคมีแบบฟุ้งกระจาย (space spraying) วีนี้สามารถทำได้ทั้งภายในและภายนอกอาคารโดยเลือกใช้การพ่นควัน (fogging) หรือการพ่นฝอยละออง (misting) ได้ตามความเหมาะสม พิจารณาจากขนาดและลักษณะของสถานที่รับบริการ

ก่อนทำบริการพื้นที่ภายใน ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่ามีการเก็บเตรียมสถานที่โดยการเก็บหรือปิดคลุมภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ ที่เรียบร้อยแล้ว

การทำบริการพื้นที่ภายนอกอาคาร ให้ดูทิศทางเพื่อที่จะเริ่มทำบริการจากใต้ลมเดินทวนลมขึ้นมาเสมอ ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงด้วย

3.9        การติดตามผล (Follow up )

การติดตามผลโดยการตรวจนับจำนวนแมลงวัน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จะทำให้การควบคุมได้ผลยิ่งขึ้น

3.9.1        การวิเคราะห์ผล

การวิเคราะห์ผลสามารถทำได้โดยการนำผลสำรวจแต่ละจุดมารวมและคำนวณหาความชุกชุมเฉลี่ย โปรดระวังเรื่องชนิดแผงสำรวจ ควรจะต้องเป็นขนาดเดียวกันจึงจะนำมารวมหาค่าเฉลี่ยได้ โดยทฤษฎีแล้วจำนวนแมลงวันที่นับได้แต่ละแผงสำรวจไม่ควรนำมาคำนวณ เปลี่ยนแปลงเพิ่มตามพื้นที่ได้ แต่ในทางปฏิบัติควรคำนวณปรับเปลี่ยนความชุกชุมของแมลงวันจากแผงสำรวจ ให้เป็นจำนวนแมลงวันต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

3.10    ข้อสังเกตในการกำจัดแมลง

3.10.1          แมลงสามารถบินเข้าไปได้ในสถานที่ต่างๆ ตามบ้าน เช่น ห้องเพดาน ห้องเก็บของ ดังนั้นควรคำนึงถึงสถานที่ให้ครบทุกแห่ง

3.10.2          การใช้กับดักเก็บเหยื่อล่อ สามารถกำจัดแมลงวันตัวเต็มวัยได้ และวิธีนี้ยังช่วยในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์อีกด้วย

3.10.3          การใช้กับดักไฟฟ้า สามารถควบคุมแมลงวันตัวเต็มวัยได้ในอัตราที่ต่ำ

3.10.4          อย่าวางกับดักแสงไฟ (backlight) สำหรับดักแมลงวันตามสถานที่ต่างๆ เพราะจะดึงดูดแมลงวันชนิดอื่นๆ มาติดกับดักด้วย และอย่าติดตั้งกับดักแสงไฟใกล้กับแหล่งแสงไฟอื่นๆ เช่น ตามตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ เป็นต้น เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

3.10.5          ไม่ควรใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายชนิดเดียวกันนานเกินไป เพราะแมลงวันจะเกิด    ความต้านทานได้

3.10.6          การสุขาภิบาลและการจัดการสิ่งแวดล้อม จะได้ผลดีที่สุดถ้าทำในระดับชุมชนอย่างทั่ว ถึงและต่อเนื่อง 

เอกสารประกอบการเรียบเรียง

  1. 1. จักรวาล ชมภูศรี ฝ่ายชีวและนิเวศวิทยาฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ชีววิทยาและการควบคุมแมลงทีเป็นปัญหาทางสาธารณสุข. 2544. แมลงวัน. หน้า 46-49
  2. 2. ชิตาภา เกตวัลห์. 2523. กีฏวิทยาทางการแพทย์และสัตวแพทย์.ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร หน้า 231
  3. 3. ณัฐ มาลัยนวล. เอกสารการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมยุง แมลงวัน ยุง และไรฝุ่น. สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง. 26 พ.ค. 47. 5 น.
  4. 4. ณัฐพงษ์ ณัฐพรพจน์. บจก. กรีน ไซแอนดซ์ แมเนจเม้นท์. เอกสารประกอบการจัดทำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001. “แผนการให้บริการ (treatment plan)” SAL-DOC-002: Rev.00 ; Date 01/09/2004
  5. 5. ณัฐพงษ์ ณัฐพรพจน์. บจก. กรีน ไซแอนดซ์ แมเนจเม้นท์. เอกสารประกอบการจัดทำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001.”รายละเอียดการทำบริการ (treatment details)” SAL-DOC-003: Rev.00 ; Date 01/09/2004
  6. 6. Bennett, G.W.Truman’s Scientific Guide to pest Control Operation’Advanstar Communications Project, Daluth, MN 55802, USA.289-291 pp.
  7. 7. Hamm, E.R.1992.Urban Integrated Pest Management. Naval Facilities Engineering Command, Alexandria, Virginia. Chapter 1, module 1& 2.
  8. 8. Kettle, S.D.1995. Medical and Veterinary Entomology. 2nd ed.University Press, Cambridge 725 p.
  9. 9. Sukhapanth, N.; E.S.Upatham and C. Ketavan. 1988. Effects of Food on Media on Egg Production, Growth and Survivorship of Flies (Diptera : Ca lliphoridae, Muscidae and Sarcophagidae). J. Sci. Soc. Thailand 14:41-50.
  10. 10. The Housefly. 1991. Vector Control Series. WHO/90. 987, 62 pp.

ตัวอย่าง

แผนการให้บริการโรงงานสะอาดปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี (TREATMENT PLAN)

พื้นที่/สถานที่บริการ

วิธีและความถี่การบริการ (MEAN AND FREQUENCY OF TREATMENT)

มด

แมลงสาบ

หนู

ยุง

แมลงวัน

1.       ออฟฟิศ

 

 

 

 

-

2.       ห้องประชุม

 

 

 

 

-

3.       ห้องอาหารพนักงาน

 

 

 

 

พ่นควันหรือพ่นฝอยละอองเดือนละ 1 ครั้ง

4.       คลังสินค้า

 

 

 

 

เหมือนลำดับที่ 3

5.       ล็อคเกอร์ชาย/หญิง

 

 

 

 

-

6.       ไลน์ผลิต

 

 

 

 

-

7.       คลังวัตถุดิบ

 

 

 

 

เหมือนลำดับที่ 3

8.       ห้องบอยเลอร์

 

 

 

 

-

9.       ห้องซ่อมบำรุง

 

 

 

 

เหมือนลำดับที่ 3

10.   บริเวณ บ่อบำบัด

 

 

 

 

-

11.   ห้องน้ำชาย/หญิง

 

 

 

 

-

12.   ป้อมยาม

 

 

 

 

-

13.   บริเวณที่ทิ้งขยะ

 

 

 

 

ฉีดเคลือบสารเคมีและพ่นควันเดือนละ 1 ครั้ง

14.  พื้นที่โดยรอบบริเวณอาคาร

 

 

 

 

โรยเหยื่อกำจัดแมลงวันเดือนละ 1 ครั้ง

ในพื้นที่ที่มีการระบาด

 

ตัวอย่าง

รายละเอียดการทำบริการโรงงานสะอาดปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี (TREATMENT DETAILS)

พื้นที่/สถานที่บริการ

วิธีและความถี่การบริการ (MEAN AND FREQUENCY OF TREATMENT)

มด

แมลงสาบ

หนู

ยุง

แมลงวัน

 ภายในพื้นที่โรงงานทั้งหมด

 

 

 

 

1. เจ้าหน้าที่บริษัทฯ จะทำการสำรวจสถานที่ทั้ง    ภายในและภายนอก เพื่อเตรียมความพร้อม    และวางแผนการปฏิบัติงาน

2. โรยเหยื่อกำจัดแมลงวันในพื้นที่ภายนอกอาคาร  ที่พบการระบาด โดยเน้นการโรยบนพื้นที่แห้ง     หรือโรยบนที่รองรับเพื่อนำไปวางบนพื้นที่เปียก    และชื้นแฉะ

3. ทำการพ่นควันหรือพ่นละอองเคมีภายในอาคาร  ที่พบการระบาด โดยเลี่ยงที่จะให้บริการใน  บริเวณที่ผลิตอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน

 4. สารเคมีที่ใช้

4.1    deltamethrin

4.2    imidacloprid

4.3    cyfluthrin

4.4    Imidacloprid ; Fly Bait

 

ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการรับบริการกำจัดแมลงวัน

             ตามที่ทางบริษัทฯ ได้รับสัญญาว่าจ้างให้เข้ามาทำบริการกำจัดแมลงวัน ณ สถานที่ของท่านนั้นบริษัทฯ ใคร่ขอความร่วมมือในการจัดเตรียมสถานที่เพื่อรองรับการทำบริการ ดังนี้

 สถานที่ทั่วไป

  1. 1. นำอาหารออกนอกพื้นที่หรือนำเข้าเก็บในตู้เย็นหรือตู้แช่ให้มิดชิด
  2. 2. หากมีตู้ปลาให้ทำการปิดคลุมให้มิดชิดและปิดเครื่องเติมอากาศในขณะทำบริการ
  3. 3. นำสัตว์เลี้ยงขังกรงกรณีทำบริการในพื้นที่ใกล้เคียง หรือนำออกนอกพื้นที่หากเป็นการทำบริการในพื้นที่ซึ่งมีสัตว์เลี้ยงอยู่ในกรง
  4. 4. เก็บเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้เข้าตู้และปิดคลุมโต๊ะทำงาน โซฟาและเตียงนอนให้เรียบร้อย
  5. 5. ปิดคลุมภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ขนาดใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่บริการที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือนำออกนอกพื้นที่บริการได้

 อื่นๆ

  1. 1. แจ้งให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงอพยพออกนอกพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนทำการบริการ
  2. 2. ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือแพ้กลิ่นสารเคมีไม่ควรอยู่ใกล้พื้นที่บริการ เพื่อป้องกันอันตาบทีอาจเกิดขึ้น
  3. 3. ระบายอากาศโดยการปิดประตู หน้าต่างและไล่อากาศออกเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ภายหลังบริการหรือจนกว่าควันจะจาง
  4. 4. หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดสอบถามได้จากหัวหน้าทีมที่เข้ามาให้บริการหรือติดต่อบริษัทฯ ได้ที่สายด่วนหมายเลข..............................
  5.  อุปกรณ์ เครื่องมือและวิธีการใช้

การเลือกใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะนั้น ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและประโยชน์ด้วย เพราะอุปกรณ์และเครื่องมือแต่ละชนิดมีคุณลักษณะและความเหมาะสมกับงานแตกต่างกัน นอกจากนี้การดูแลรักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพที่ดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะช่วยให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดสัตว์และแมลง แบ่งตามชนิดของงานดังนี้

  1. 1. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้สำหรับกำจัดแมลง

1.1  อุปกรณ์และเครื่องมือทีใช้กับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายชนิดผงหรือฝุ่น (duster)

ลูก ยาง

ลักษณะ ทรงกลมหรือรูปไข่ ทำมาจากยาง ภายในบรรจุวัตถุอันตรายชนิดผงปริมาณประมาณ 100 - 200 กรัม ส่วนปลายของลูกยางประกอบด้วย หลอกหรือท่อโลหะขนาดเล็ก ขณะใช้วัตถุอันตรายจะบ่นออกมาเป็นผงจะกระจายอยู่ในวงจำกัด เหมาะสำหรับนำไปใช้บริเวณรอยแตก รอยร้าวเล็กๆและบริเวณที่เข้าถึงยากหรือบริเวณที่ไม่ต้องการใช้น้ำ เช่น บริเวณที่มีไฟฟ้า เป็นต้น

ข้อบ่งใช้ ใช้ในการกำจัดมดและแมลงสาบ

ข้อควรระวัง

1.1.1   อุปกรณ์ชนิดนี้ขณะใช้อาจฟุ้งกระจายออกนอกพื้นที่เป้าหมายได้

1.1.2  อาจระคายเคืองต่อตา ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ

1.1.3  ไม่ติดทนพื้นผิวที่ใช้งานนาน

การบำรุงรักษา หลังการใช้ต้องทำความสะอาดทันที

1.2   อุปกรณ์และเครื่องมือทีใช้กับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายชนิดน้ำหรือน้ำมัน

1.2.1    ถังฉีดแบบอัดลม (Hand sprayer)

ลักษณะ เป็นทรงกระบอก ความจุประมาณ 1 ลิตร 5 ลิตร และ 10 ลิตร หัวฉีดที่ใช้ทั่วไปมี 3 ชนิด ได้แก่ แบบรูปพัด แบบโคนหรือแบบกรวย ที่สามารถปรับขนาดการฉีดได้ และแบบเจ็ตที่สามารถใช้ฉีดในระยะไกลหรือฉีดเข้าซอกแคบๆ หัวฉีดชนิดนี้จะต้องใช้แรงอัดลมที่เกิดจากการปั๊มกระบอกสูบด้วยมือ

ข้อบ่งใช้ ใช้สำหรับฉีดวัตถุอันตรายกำจัดแมลงที่ต้องการให้มีฤทธิ์ตกค้าง เช่น มด แมลงสาบ ยง แมลงวัน การฉีดจะต้องฉีดรอบๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร วัตถุอันตรายที่จะนำมาใช้จะต้องผสมกับน้ำก่อน นับเป็นเครื่องมือที่ใช้มากในงานกำจัดแมลง

1.2.2  เครื่องยนต์ฉีดแรงอัดต่ำ (Low pressure pump)

ลักษณะและข้อบ่งใช้ เป็นเครื่องมือที่ใช้กับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ต้องผสมน้ำก่อนใช้เครื่องมือชนิดนี้มีแรงอัดสูง ใช้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า มอเตอร์ เครื่องยนต์เบนซิน ใช้ฉีดในงานที่มีพื้นที่กว้างหรืองานที่ต้องใช้แรงอัดสูง เช่น ฉีดให้ต้นไม้ สนามหญ้า ใต้ถน หรือใช้ในการฉีดเพื่อป้องกันและกำจัดปลวก

1.2.3  หัวอัดวัตถุอันตรายลงดิน (Injector rod)

ลักษณะ รูปร่างเป็นท่อโลหะขนาดยาวประมาณ 1 เมตร คล้ายตัว T ขนาดความกว้างของท่อที่ใช้ประมาณ 5/8 นิ้ว หรือ 4/8 นิ้ว หรือ 3/8 นิ้ว ที่สุดที่ใช้ทำท่อส่วนมากเป็นแสตนเลส เพราะไม่เป็นสนิม ส่วนปลายของหัวอัดจะมีรูเล็กๆ จำนวน 2 - 4 รู ตามความต้องการของผู้ใช้เพื่อเป็นทางออกของวัตถุอันตราย ส่วนปลายท่อจะตันค่อนข้างแหลมเพื่อสะดวกเวลากดลงดิน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้การอัดวัตถุอันตรายลงใต้ดิน อุปกรณ์ชนิดนี้ในต่างประเทศจะมีเครื่องมือสำหรับบอกปริมาณการไหลของวัตถุอันตรายติดไว้ที่ด้ามจับหรือบริเวณที่ต่อกับสายยางที่มาจากเครื่องปั้มแรงดันต่ำ

1.2.4 เครื่องพ่นหมอก (Thermal fogger)

ลักษณะ เป็นเครื่องมือที่ใช้กับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายชนิดที่ต้องผสมน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันก๊าดก่อนใช้ มี 2 ชนิด คือ ชนิดไฟฟ้าและใช้เบนซิน

ข้อบ่งใช้ เหมาะสำหรับใช้กำจัดยง แมลงวัน แมลงสาบและแมลงบินอื่นๆ ในการอบควันจะต้องปิดอาคารเพื่อไม่ให้มีอากาศถ่ายเทเป็นเวลา 1 - 2 ชั่วโมง

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องพ่นหมอกควันชนิดใหม่ ที่ออกแบบมาให้มีการเผาผลาญที่สมบูรณ์จึงไม่ก่อมลภาวะ มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพสูง สะดวกต่อการใช้ฉีดพ่นได้ทั้ง 2 ทิศทางคือทั้งซ้ายและขวา ดูแลง่ายและมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงต่างๆ เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ มด ขณะใช้วัตถุอันตรายจะแดกกระจายเป็นละอองเล็กๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับการปรับอัตราการไหลของน้ำยา

1.2.5 เครื่องยูแอลวี (Ultra low volume sprayer)

ลักษณะ เป็นเครื่องมือที่ใช้กับวัตถุอันตรายที่ต้องผสมน้ำหรือน้ำมันก๊าด มี 2 ชนิด คือ ชนิดไฟฟ้าและชนิดเครื่องยนต์ เครื่องมือชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถพ่นวัตถุอันตรายออกมาเป็นละอองเล็กๆ มีความละเอียดและลอยปะปนในอากาศได้เป็นเวลานาน ก่อให้เกิดอากาศบริเวณนั้นมีวัตถุอันตรายสูง เครื่องมือชนิดนี้มีหลายขนาด ทั้งที่ใช้กับงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในการใช้ฉีดพ่นจะต้องทำการปิดอาคารให้มิดชิด

ข้อบ่งใช้ ใช้กำจัดแมลงบินต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น ยุง แมลงวัน แมลงบินอื่นๆ เครื่องมือชนิดนี้มีหลายขนาดทั้งที่ใช้กับงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ในการฉีดพ่นจะต้องปิดอาคารเช่นเดียวกัน

1.3  เครื่องมือดักแมลงไฟฟ้า (Electric insect trapper)

ลักษณะ เครื่องมือชนิดนี้ไม่มีการใช้วัตถุอันตรายเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ใช้กับแสงไฟล่อแมลงให้มาเล่นไฟและติดกับดัก แสงไฟที่ใช้ คือ แสงที่เกิดจากหลอดไฟสีฟ้าม่วง (black-light)

ข้อบ่งใช้ ใช้สำหรับดักแมลงภายในอาคาร เช่น แมลงวัน แมลงเล่นไฟ เป็นหลัก และอาจรวมถึงยุงด้วย

1.4 อุปกรณ์และเครื่องมืออื่นๆ

1.4.1  สว่านเจาะ (Hammer drill) ใช้เจาะพื้นผิวเพื่ออัดวัตถุอันตรายต่างๆ

1.4.2  กล่องใส่เหยื่อกำจัดปลวก (Termite bait station)

ลักษณะและข้อบ่งใช้ มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นชิ้นไม้หรือกระดาษที่ชุบวัตถุอันตรายแล้วนำไปบรรจุในกล่อง กล่องใส่เหยื่อชนิดนี้มี 2 แบบ คือกล่องใส่เหยื่อที่ใช้สำหรับปลวกที่อยู่ใต้ดินและกล่องใส่เหยื่อที่ใช้สำหรับปลวกที่อยู่เหนือดิน และอีกชนิดหนึ่งคือกล่องใส่เหยื่อบรรจุชิ้นไม้หรือกระดาษที่ไม่ได้ชุบวัตถุอันตรายนำไปวางไว้ที่สถานีตรวจปลวกเพื่อล่อปลวกให้มากินเหยื่อ

1.4.3  ปืนหยอดเจล หรือ เหยื่อกำจัดแมลงสาบ (cockroach gel / bait gun)

ลักษณะและข้อบ่งใช้ มีรูปร่างลักษณะคล้ายปืนสำหรับไว้หยอดเจลเพื่อกำจัดแมลงสาบหรือมด บางชนิดสามารถกำหนดให้เจลไหลออกมาเป็นหยดๆ ได้ขนาดเท่าๆ กัน ปืนหยอดเจลจะต้องใช้คู่กับเจอชนิดที่เป็นหลอดและต้องมีขนาดที่พอดีกับปืนนั้นๆ

1.4.4  กาวดักแมลงวันและกาวดักแมลงสาบ (Fly trap and cockroach trap)

ลักษณะ เป็นแผ่นกาวหรือกาวเหนียวใช้เพื่อดักจับแมลง มีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ดังนี้

-  ถ้าใช้ดักจับแมลงบินจะใช้แผ่นกาว มีลักษณะคล้ายริบบิ้นหรือกล่องที่ใส่สารฟีโรโมนแขวนไว้เพื่อล่อให้แมลงมาเกาะ หรืออาจมีลักษณะเป็นกาวบรรจุขวด เมื่อจะใช้ให้ใช้แท่งไม้พันด้วยกาวเหนียว ติดตั้งไว้ที่บริเวณที่มีแมลงชุกชมเมื่อแมลงมาเกาะจะติดกายที่ดักไว้

-  ถ้าใช้ดักจับแมลงคลาน จะใช้กาวชนิดแผ่นวางไว้ในที่มีแมลงคลานชกชม อาจใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้ากำจัดแมลงไต้

1.4.5  เครื่องมือตรวจหาปลวก (Termite detector)

ลักษณะและข้อบ่งใช้ เป็นเครื่องมือช่วยตรวจหาปลวกโดยใช้ระบบฟังเสียงหรือระบบนับการเคลื่อนไหวของปลวกหรือจับหาอุณหภูมิที่แตกต่างหรือระบบอื่นๆ ของปลวกที่อาศัยอยู่ภายในโครงสร้างของอาคาร เช่น ในช่องว่างของผนังปูน ผนังไม้ ในอิฐก่อตู้ประกอบแบบ build – in ด้วยเนื้อไม้ ใต้กระเบื้อง เป็นต้น ข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ

-          บอกทิศทางการติดตามปลวกโดยคลื่น ไม่เป็นการรบกวนหรือทำให้ทำให้ปลวกหนี

-          บอกทางเข้าของปลวกได้

-          บอกตำแหน่งที่เป็นที่ตั้งของปลวก

-          บอกจำนวนประชากรของปลวก

-          สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการปฏิบัติการใช้วัตถุอันตรายให้เหมาะสม 

  1. 2. อุปกรณ์และเครื่องมือทีใช้สำหรับกำจัดหนู เช่น

กล่องใส่วัตถุอันตรายกำจัดหนู 

กรงดักหนู 

ลักษณะและข้อบ่งใช้ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกับวัตถุอันตรายกำจัดหนูชนิดเหยื่อสำเร็จรูป ซึ่งได้ผลดีและปลอดภัยกว่าการใช้วัตถุอันตรายชนิดเบื่อหนูโดยตรง และสามารถป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับคนและสัตว์เลี้ยงได้ ลักษณะของอุปกรณ์ชนิดนี้มีรูปแบบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สภาพของงาน สิ่งแวดล้อมและนิสัยของหนู เช่น กล่องใส่วัตถุอันตรายกำจัดหนู (Rat bait station) กับดักตีตาย (snap trap) กับหรือกรงดักหนู (Rat trap)

 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง